backup og meta

Levocetirizine ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Levocetirizine ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Levocetirizine (ลีโวเซทิไรซีน) เป็นยาต้านฮีสตามีน ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันที่ดวงตาหรือจมูก จาม ลมพิษ และอาการคัน ยานี้ทำงานโดยการปิดกั้นสารตามธรามชาติ อย่างสารฮีสตามีน (histamine) ที่ร่างกายผลิตขึ้นขณะมีอาการแพ้

[embed-health-tool-bmr]

ข้อบ่งใช้

Levocetirizine ใช้สำหรับ

Levocetirizine เป็นยาต้านฮีสตามีน ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันที่ดวงตาหรือจมูก จาม ลมพิษ และอาการคัน ยานี้ทำงานโดยการปิดกั้นสารตามธรามชาติ อย่างสารฮีสตามีน (histamine) ที่ร่างกายผลิตขึ้นขณะมีอาการแพ้

วิธีการใช้ ยา Levocetirizine

รับประทานยาลีโวเซทิไรซีนพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด ตามปกติคือวันละครั้งในตอนเย็น

หากคุณใช้ยาลีโวเซทิไรซีนในรูปแบบยาน้ำ ควรตวงยาโดยใช้ช้อนหรือเครื่องมือพิเศษสำหรับตวงยาโดยเฉพาะ อย่าใช้ช้อนธรรมดาเพราะอาจได้ขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานยาลีโวเซทิไรซีนบ่อยกว่าที่กำหนด

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาลีโวเซทิไรซีน

ยาลีโวเซทิไรซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาลีโวเซทิไรซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลีโวเซทิไรซีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาลีโวเซทิไรซีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาลีโวเซทิไรซีน ยาเซทิริซีน (cetirizine) อย่างเซอร์เทค (Zyrtec) หรือยาลีโวเซทิไรซีนอื่นๆ
  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณใช้และคาดว่าจะใช้ ทั้งยาลีโวเซทิไรซีนตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับอาการวิตกกังวล อาการป่วยทางจิต หรืออาการชัก ยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) ในเคลทรา (Kaletra) ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาทีโอฟิลลีน (theophylline) อย่างทีโอชรอน (Theochron) หรือทีโอแลร์ (Theolair) และยาคลายเครียด (tranquilizers) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาลีโวเซทิไรซีน หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคไต
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หากคุณตั้งครรภ์ขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน โปรดติดต่อแพทย์ในทันที อย่าให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน
  • คุณควรจะทราบว่ายาลีโวเซทิไรซีนอาจทำให้คุณง่วงซึมได้ อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายาลีโวเซทิไรซีนส่งผลต่อคุณอย่างไร

โปรดสอบถามแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มสุรา ขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน แอลกอฮอล์นั้นสามารถเพิ่มอาการง่วงซึมที่เกิดจากยาลีโวเซทิไรซีนได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาลีโวเซทิไรซีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลีโวเซทิไรซีน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาลีโวเซทิไรซีนและแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • เลือดกำเดาไหล (โดยเฉพาะในเด็ก)
  • รู้สึกปวดหรือแน่นภายในหู มีปัญหากับการได้ยิน
  • ซึมเศร้า กระสับกระส่าย ก้าวร้าว มองเห็นภาพหลอน
  • เหน็บชาที่บริเวณริมฝีปากหรือปาก
  • ดีซ่าน (ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด
  • อุจจาระสีคล้ำ อุจจาระมีกลิ่นเหม็น
  • เป็นไข้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ ง่วงซึม อ่อนแรง เหนื่อยล้า คัดจมูก ปวดไซนัส เจ็บคอ ไอ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ปากแห้ง หรือน้ำหนักขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

Levocetirizine อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

  • ยาแก้ไอหรือยาแก้แพ้ ยาระงับประสาท ยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain medicine) ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยารักษาอาการชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาอาการวิตกกังวลนั้นสามารถเพิ่มอาการง่วงนอนที่เกิดจากยาลีโวเซทิไรซีนได้
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาลีโวเซทิไรซีนทั้งหมดที่คุณใช้ และยาที่คุณเริ่มหรือหยุดใช้ ระหว่างที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน โดยเฉพาะยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) ในเคลทรา (Kaletra) หรือยาทีโอฟิลลีน (theophylline) อย่างอะควาฟิลีน (Aquaphyllin) แอสมาลิกซ์ (Asmalix) อีลิโซฟิลีน (Elixophyllin) ทีโอแลร์ (Theolair) ทีโอซอล (Theosol)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาลีโวเซทิไรซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาลีโวเซทิไรซีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ปัญหาทางการแพทย์บางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ยานี้ได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีปัญหาทางการแพทย์ใดๆ โดยเฉพาะ

  • ภาวะต่อมลูกหมากโต
  • มีแผลที่ไขสันหลังหลัง — ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะปัสสาวะคั่งได้ (urinary retention)
  • โรคไต — ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ผลของยาลีโวเซทิไรซีนอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง
  • โรคไตระดับรุนแรง
  • โรคไตวาย — ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ควรใช้ยานี้
  • ภาวะปัสสาวะคั่ง (มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ) — ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาลและตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมพิษ

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาลและตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาล

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 2 ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมพิษ (Urticaria)

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาล

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 2 ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 5 มก.
  • สารละลายสำหรับรับประทาน 0.5 มก./มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Levocetirizine (Oral Route). http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/levocetirizine-oral-route/description/drg-20071083. Accessed June 26, 2016.

Levocetirizine. https://www.drugs.com/mtm/levocetirizine.html. Accessed June 26, 2016.

Levocetirizine. https://www.drugbank.ca/drugs/DB06282. Accessed 19 August 2019.

Levocetirizine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a607056.html. Accessed 19 August 2019.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/10/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมพิษ มีสาเหตุจากอะไร และรักษาอย่างไร

วิธีปฐมพยาบาลอาการแพ้รุนแรง ที่คุณควรรู้ไว้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา