backup og meta

Ceftriaxone ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Ceftriaxone ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Ceftriaxone เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายอาการ เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) จัดอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า เซฟฟาโลสปอริน ที่ใช้เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้

Ceftriaxone ใช้สำหรับ

Ceftriaxone เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายอาการ เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) จัดอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะที่เรียกว่า เซฟฟาโลสปอริน ที่ใช้เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาเซโฟซิติน ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จะเพิ่มความเสี่ยงการดื้อยาได้ ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ยาเซฟไตรอะโซนอาจใช้กับผู้ป่วยทันตกรรม ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ (เช่น ผู้ป่วยลิ้นหัวใจเทียม) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ป้องกันการติดเชื้อรุนแรงของหัวใจ เช่น เยื้อบุหัวใจอักเสบ (bacterial endocarditis)

วิธีการใช้ยาเซฟไตรอะโซน

ยาเซฟไตรอะโซนใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นเลือดโดยแพทย์ ขนาดยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาวะ และการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย อาจใช้ยาชนิดนี้ที่บ้านเองได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามเวลาที่กำหนด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันก็ตาม การหยุดใช้ยาก่อน อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโต และส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ ควรรีบพบหมอหากอาการยังคงอยู่หรือแย่ลง

การเก็บรักษายาเซฟไตรอะโซน

ควรเก็บรักษายาเซฟไตรอะโซนในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันยาเสื่อมสภาพ คุณไม่ควรเก็บไว้ในห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาเซฟไตรอะโซนมีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป

สิ่งสำคัญ คือ การอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนบรรจุภัณฑ์หรือถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาเซฟไตรอะโซนลงในชักโครกหรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น สิ่งสำคัญคือ ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องรับประทานอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนการใช้ยาเซฟไตรอะโซน

ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้หากคุณแพ้ยาเซฟไตรอะโซน หรือยาชนิดอื่นในกลุ่มยาเซฟฟาโลสปอริน ได้แก่

  •  ยาเซฟาคลอ (cefaclor) อย่าง รานิคลอ (Raniclor) ยาเซฟาดรอกซิล (cefadroxil) อย่าง ดูริเซฟ (Duricef) ยาเซฟาโซลิน (cefazolin) อย่าง แอนเซฟ (Ancef) ยาเซฟดิเนียร์ (cefdinir) อย่าง ออมนิเซฟ (Omnicef) ยาเซฟดิทอเรน (cefditoren) อย่าง สเปคตราเซฟ (Spectracef) ยาเซฟพอโดซิม (cefpodoxime) อย่าง แวนติน (Vantin) ยาเซฟโพรซิล (cefprozil) อย่าง เซฟซิล (Cefzil) ยาเซฟติบูเตน (ceftibuten) อย่าง ซีแดกซ์ (Cedax) ยาเซฟูโรซิม (cefuroxime) อย่าง เซฟติน (Ceftin) ยาเซฟาเลกซิน (cephalexin) อย่าง เคเฟลกซ์ (Keflex) ยาเซฟราดิน (cephradine) อย่าง เวโลเซฟ (Velosef)

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถใช้ยาเซฟไตรอะโซนได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้

ความปลอดภัยกับการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะระบุความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรที่ใช้ยาเซฟไตรอะโซน ควรปรึกษาแพทย์เป็นประจำ เพื่อพิจารณาระหว่างข้อดีและความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นก่อนรับประทานยา อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยานี้จัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

ต่อไปนี้ คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่เสี่ยง (อ้างอิงจากงานวิจัยบางงาน)
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาเซฟไตรอะโซน

ควรรีบเข้ารับการรักษา หากมีสัญญาณหรืออาการของการแพ้เกิดขึ้น ได้แก่ ผื่นลมพิษ หายใจลำบาก เกิดอาการบวมที่หน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือคอ

ควรรีบพบหมอทันทีหากเกิดอาการข้างเคียง ดังนี้

  • ท้องร่วง ถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นเลือด
  • เป็นไข้ หนาวสั่น ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่น คัน ปวดข้อต่อ หรือมีอาการไข้ทั่วไป
  • ร้อนในหรือแผลในปากหรือริมฝีปาก
  • เลือดออกผิดปกติ (ทางจมูก ปาก ช่องคลอด หรือทวาร) มีจ้ำแดงหรือม่วงบนผิวหนัง
  • ผื่นผิวหนัง ฟกช้ำ ปวด/เจ็บเสียว ชา ปวด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผิวซีดหรือเหลือง อุจจาระสีเข้ม มึนงง หรืออ่อนแรง
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ชัก
  • ปวด บวม หรือระคายเคืองบริเวณที่ฉีดยา
  • อุจจาระสีชอล์ค ปวดท้องทันทีหลังทานอาหาร คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก ท้องอืด และปวดท้องช่วงบนรุนแรงจนถึงหลัง
  • อาการทางผิวหนังรุนแรง เป็นไข้ เจ็บคอ หน้าหรือลิ้นบวม แสบร้อนที่ตา เแสบผิวและมีผื่นแดงหรือม่วงเกิดขึ้น (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและร่างกายท่อนบน) และทำให้เกิดการพองและลอก

อาการข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • เกิดตุ่มนูนบริเวณผิวที่ฉีดยา
  • คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ปวดหัว เวียนหัว การตอบสนองที่ไวเกินไป
  • เจ็บลิ้นหรือลิ้นบวม
  • เหงื่อออก
  • คันช่องคลอดหรือมีสารคัดหลั่งออกมา

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาของยาเซฟไตรอะโซนกับยาชนิดอื่น

ยาเซฟไตรอะโซน อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาตัวอื่น ที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งแพทย์ ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ และสมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนปริมาณยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

แม้ว่าไม่ควรใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน แต่ในบางกรณียา 2 ชนิดอาจใช้ร่วมกันได้ แม้ปฏิกิริยาของยาทั้ง 2 อาจเกิดขึ้น ในกรณีเหล่านี้ แพทย์อาจปรับขนาดยา หรือแนะนำการใช้ยาเพิ่มเติม คุณควรแจ้งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หากคุณใช้ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่ง และยาที่คุณซื้อมารับประทานเอง

ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจไม่รักษาอาการด้วยยาเซฟไตรอะโซน หรืออาจเปลี่ยนยาอื่นๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่

  • แคลเซียม อะซิเตท (Calcium Acetate), แคลเซียม คลอไรด์ (Calcium Chloride), แคลเซียม กลูเซปเตท (Calcium Gluceptate), แคลเซียม กลูโคเนท (Calcium Gluconate), ยาสารละลาย Lactated Ringer, ยาสารละลาย Ringer

การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับยาเซฟไตรอะโซน อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียง แต่อาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากแพทย์สั่งยาเหล่านี้คู่กับยาเซฟไตรอะโซน แพทย์อาจปรับขนาดยา หรือระยะเวลาการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือทั้ง 2 ชนิด

ปฏิกิริยาของยาเซฟไตรอะโซนกับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเซฟไตรอะโซนอาจทำปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อถามถึงปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างอาหารหรือแอลกอฮอล์กับยานี้ ก่อนรับประทานยา

ปฏิกิริยายาเซฟไตรอะโซนกับอาการโรคอื่นๆ

ยาเซฟไตรอะโซนอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกายอาจทำให้สุขภาพของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณมีอาการดังนี้

  • โรคโลหิตจาง
  • ท้องร่วง
  • โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • โรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบ) มีประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะหรือลำไส้ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง
  • ค่าบิลิรูบินในเลือดสูง ไม่ควรใช้ยากับทารกแรกเกิด (อายุต่ำกว่า 28 วัน) และทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะดังกล่าว
  • โรคไต
  • โรคตับ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ผลข้างเคียงอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากยาถูกขับออกจากร่างกายได้ช้าลง
  • โรคตับขั้นรุนแรง
  • ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะอาจรุนแรงขึ้นเนื่องจากยาเซฟไตรอะโซน และอาจต้องทานวิตามินเคเสริม

ขนาดยา

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา

ขนาดยาเซฟไตรอะโซนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ ขนาด 1 ถึง 2 กรัมต่อวัน จำนวน 1 ครั้งหรือแบ่งเป็น 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อ
  • สำหรับการติดเชื้อจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส Staphylococcus aureus (methicillin-susceptible, MSSA) ใช้ยาขนาด 2-4 กรัมต่อวัน เพื่อให้สามารถคุมอาการได้มากกว่าร้อยละ 90
  • ไม่ควรใช้เกิน 4 กรัมต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ในกระแสเลือด

  • ฉีดยาขนาด 2 กรัม ทุกๆ 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 14 วัน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นแผลริมอ่อน

  • ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อขนาด 250 มิลลิกรัม 1 ครั้ง
  • เชื้อโรคที่ทำให้เกิดแผลริมอ่อน คือ แบคทีเรียชนิด เฮโมฟิลัส ดูเครอี (Haemophilus ducreyi)
  • ผู้ป่วยเอชไอวีอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องยาวนานกว่า สามารถใช้ยาเซฟไตรอะโซนแก่ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงติดตามอาการ
  • ผู้ป่วยไม่ควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิสหรือเอชไอวีซ้ำ ภายในเวลา 3 เดือน หากการตรวจครั้งแรกให้ผลเป็นลบ คู่นอนของผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาเช่นกัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับเยื่อบุตาอักเสบ

  • เยื่อบุตาอักเสบจากหนองใน ใช้ขนาด 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ใช้ยาด็อกซีไซคลีน (Doxycyclin) เป็นเวลา 7 วัน (หากไม่ตั้งครรภ์) หรือใช้ยาอะซิโธรไมซีน (Azithromycin) ในการรักษาอาการติดเชื้อคลามายเดีย (chlamydial infection) ร่วมด้วย
  • คู่นอนของผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาเช่นกัน

สำหรับผู้ป่วยอาการอัณฑะอักเสบจากโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • อัณฑะอักเสบจากโรคหนองใน ใช้ยาขนาด 250 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ใช้ยาด็อกซีไซคลีน (Doxycyclin) ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อคลามายเดีย (chlamydial infection) ร่วมด้วย
  • คู่นอนของผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาเช่นกัน

สำหรับผู้ป่วยอาการฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน

  • ใช้ยาขนาด 2 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดทุก ๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อ

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ

  • ใช้ยาขนาด 2 กรัมฉีดเข้าเส้นเลือด ทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ใช้ยาเป็นระยะเวลา 7-10 วันในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

ขนาดยาเซฟไตรอะโซนสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไปที่ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อจากแบคทีเรีย

อายุน้อยกว่า 1 สัปดาห์

  • ใช้ยาขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาใช้ยา 1-4 สัปดาห์ ใช้ยาขนาด 2,000 กรัมหรือน้อยกว่าต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาใช้ยา 1-4 สัปดาห์ ใช้ยาขนาดมากกว่า 2,000 กรัม 50-70 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ไม่ควรใช้ยาเซฟไตรอะโซนในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

อายุ 1 เดือนขึ้นไป

  • อาการรุนแรง ใช้ยาขนาด 50-75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่ง ฉีดเข้าเส้นเลือดทุก ๆ 12-24 ชั่วโมง (ขนาดสูงสุด 2 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง)
  • อาการรุนแรงถึงชีวิต 80-100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่ง ฉีดเข้าเส้นเลือด (ขนาดสูงสุด 4 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง)

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อายุ 0-4 สัปดาห์

  • ใช้ยาขนาด 50-75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกๆ 24 ชั่วโมง
  • ไม่ควรใช้ยาเซฟไตรอะโซนในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

อายุ 1 เดือนขึ้นไป

  • ใช้ยาขนาดเริ่มต้น 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมฉีดเข้าเส้นเลือด (ขนาดสูงสุด 4 กรัม)
  • สำหรับการควบคุมอาการ ใช้ยาขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ฉีดเข้าเส้นเลือดวันละครั้งหรือแบ่งฉีดทุกๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 7-14 วัน (ขนาดสูงสุด 4 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง)

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อหนองใน

  • น้ำหนัก 45 กิโลกรัมหรือน้อยกว่า ใช้ยาขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งฉีดเข้าเส้นเลือดทุกๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 10-14 วัน (ขนาดสูงสุด 2 กรัมต่อวัน)
  • น้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัม ใช้ยาขนาด 1 ถึง 2 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10-14 วัน

สำหรับภาวะ Meningoccal Meningitis Prophylaxis

  • อายุน้อยกว่า 15 ปี ใช้ขนาด 125 มิลลกรัมต่อครั้ง
  • อายุ 15 ปีขึ้นไป ใช้ขนาด 250 มิลลิกรัมต่อครั้ง

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อโรคหนองใน

  • น้ำหนัก 45 กิโลกรัมหรือน้อยกว่า ใช้ยาขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 28 วัน (ขนาดสูงสุด 2 กรัมต่อวัน)
  • น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ใช้ยาขนาด ใช้ยาขนาด 1 ถึง 2 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 28 วัน

สำหรับการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากแบคทีเรียในเด็ก

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยที่อาจแพ้ยาเพนินซิลินหรือไม่แพ้ และไม่สามารถทานยาได้ (การแพ้ชนิดไม่รุนแรง) ใช้ยา 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ขนาดสูงสุด 1 กรัม) ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง 30-60 นาทีก่อนการรักษา

สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหูชั้นกลางอักเสบ

  • ภาวะหูชั้นกลางอักเสบรุนแรง ใช้ยาขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งครั้ง (ขนาดสูงสุด 1 กรัม)
  • ภาวะหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังหรือกลับมาเป็น ใช้ยาขนาด 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน (ขนาดสูงสุด 1 กรัม)
  • ไม่ควรใช้ยาเซฟไตรอะโซนในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

รูปแบบยาเซฟไตรอะโซน

ยาเซฟไตรอะโซนอยู่ในรูปแบบและขนาด ดังนี้

  • สารละลาย ให้ทางหลอดเลือดดำ ขนาด 20 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร, 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • สารละลาย โดยการฉีด 250 มิลลิกรัม, 500 มิลลกรัม, 1กรัม, 2 กรัม

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาเซฟไตรอะโซน ควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ceftriaxone (injection) https://www.drugs.com/mtm/ceftriaxone-injection.html. Accessed July 8, 2016.

Ceftriaxone Injection http://www.webmd.com/drugs/2/drug-7013/ceftriaxone-injection/details. Accessed July 8, 2016.

Ceftriaxone Injection https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a685032.html. Accessed July 8, 2016.

Ceftriaxone (Injection Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/ceftriaxone-injection-route/description/drg-20073123#:~:text=Ceftriaxone%20belongs%20to%20the%20class,only%20with%20your%20doctor%27s%20prescription.. Accessed October 12, 2023.

Ceftriaxone Injection. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a685032.html. Accessed October 12, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2024

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ

ซาลโมเนลลา เชื้อแบคทีเรียในไข่ไก่ เราควรต้องกลัวหรือเปล่า


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 3 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา