backup og meta

เบต้า-ซิโตสเตอรอล (Beta-Sitosterol)

สรรพคุณ

เบต้า-ซิโตสเตอรอล   คือสสารที่พบในพืช โดยทั่วไปถูกใช้เพื่อ:

  • โรคหัวใจและโรคคอลเรสเตอรอลสูง
  • ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
  • โรคมะเร็งลำไส้
  • โรคนิ่วน้ำดี
  • โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (โรคไข้หวัดใหญ่๗
  • โรคเอชไอวี/เอดส์
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรควัณโรค
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคมะเร็งปากมดลูก
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
  • โรคพุ่มพวง,โรคแพ้ภูมิตัวเอง (โรคเอสแอลอี)
  • โรคหอบหืด
  • โรคผมร่วง
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคปวดศรีษะไมเกรน
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

สำหรับผู้ชาย  ใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล รักษาอาการต่อมลูกหมากโต ( โรคต่อมลูกหมากโต หรือ โรคบีพีเอช)

สำหรับผู้หญิง ใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล รักษาอาการหมดประจำเดือน. เบต้า-ซิโตสเตอรอล สามารถใช้รักษาแผลไฟไหม้ เมื่อทาลงบนผิวหนัง

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเบต้า-ซิโตสเตอรอล ที่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาว่าเบต้า-ซิโตสเตอรอล มีส่วนประกอบเหมือนสารคอเรสเตอรอล. เบต้า-ซิโตสเตอรอล สามารถใช้ลดระดับคอเลสเตอรอลโดยการจำกัดปริมาณสารคอเลสเตอรอลที่สามารถเข้ามาในร่างกาย. เบต้า-ซิโตสเตอรอล สามารถผูกรัดไปที่ต่อมลูกหมากเพื่อช่วยลดการบวมอักเสบ

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารเบต้า-ซิโตสเตอรอล ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเบต้า-ซิโตสเตอรอล นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัย

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากเบต้า-ซิโตสเตอรอล

  • คลื่นไส้
  • ระบบอาหารไม่ย่อย
  • เกิดแก๊สในกะเพาะอาหาร
  • อาการท้องร่วง
  • อาการท้องผูก
  • อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อีดี)
  • ลดความรู้สึกทางเพศ

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

เบต้า-ซิโตสเตอรอล อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับเบต้า-ซิโตสเตอรอล ได้แก่:

  • ยาลดไขมัน
  • ยาลดไขมันเลือด

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดการใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล ปกติอยู่ที่เท่าไร:

ขนาดปกติของการใช้เบต้า-ซิโตสเตอรอล อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

 

เบต้า-ซิโตสเตอรอล มีจำหน่ายในรูปแบบใด:

เบต้า-ซิโตสเตอรอล อาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ยาแคบซูล  150 มิลลิกรัม

 

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษา ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Beta-sitosterol. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-939-beta-sitosterol.aspx?activeingredientid=939&activeingredientname=beta-sitosterol. Accessed March 15, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา