backup og meta

เบนโซนาเทต (Benzonatate)

ข้อบ่งใช้

ยา เบนโซนาเทต ใช้สำหรับ

ยา เบนโซนาเทต (Benzonatate) ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอ

วิธีการใช้ยา เบนโซนาเทต

ใช้ยาเบนโซนาเทตตามที่แพทย์กำหนด โปรดอ่านฉลากยาเพื่อรับทราบแนวทางการใช้ยาที่ถูกต้อง

รับประทานยาเบนโซนาเทตพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก

กลืนยาเบนโซนาเทตลงไปทั้งเม็ด อย่าหัก บด เคี้ยว ละลาย หรืออมยาเบนโซนาเทตก่อนกลืน

การเก็บรักษายาเบนโซนาเทต

ยาเบนโซนาเทตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเบนโซนาเทตบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเบนโซนาเทตลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเบนโซนาเทต

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาเบนโซนาเทต หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณเป็นโรคหอบหืด

ยาเบนโซนาเทตอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือวิงเวียนได้ ผลเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นหากรับประทานยาร่วมกับการดื่มสุราหรือยาบางชนิด ควรใช้ยาเบนโซนาเทตด้วยความระมัดระวัง

อย่าขับรถหรือทำกิจกรรมที่อาจจะไม่ปลอดภัย จนกว่าคุณจะทราบว่าคุณมีปฏิกิริยาต่อยาอย่างไร

อย่าหัก บด เคี้ยว ละลาย หรืออมยาเบนโซนาเทตก่อนกลืน อาจเกิดอาการเหน็บชาภายในปาก ลิ้น ลำคอ หรือใบหน้าได้ และเคยมีรายงานอาการสำลักและอาการแพ้ที่รุนแรง (เช่น หายใจติดขัด ช็อก หมดสติ) หากเกิดอาการเหน็บชา อย่ารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำจนกว่าอาการจะหายไป หากคุณมีอาการแพ้ที่รุนแรง หรืออาการเหน็บชาไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดรับการรักษาในทันที

อย่ารับประทานยาเบนโซนาเทตมากกว่าขนาดยาที่แนะนำ โดยไม่ปรึกษาแพทย์

ไม่ควรใช้ยาเบนโซนาเทตกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพในเด็กเหล่านี้

สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ที่เผลอรับประทานยาเบนโซนาเทตเข้าไปในร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจนั้น ส่งผลที่รุนแรง และในบางครั้งอาจถึงแก่ชีวิต ทั้งอาการชัก หมดสติ และหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (ภาวะหัวใจหยุดเต้น) หากเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปีเผลอกลืนยาเบนโซนาเทตเข้าไป โปรดนำส่งรับการรักษาพยาบาลในทันที

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเบนโซนาเทตจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเบนโซนาเทต

โปรดติดต่อแพทย์ หากผลข้างเคียงที่ผลได้ทั่วไปดังต่อไปนี้ ไม่หายไปหรือรบกวนคุณ

  • ท้องผูก
  • วิงเวียน
  • ง่วงซึม
  • ปวดหัว
  • คัดจมูก
  • คลื่นไส้
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

รับการรักษาในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ เช่น ผดผื่น หรืออาการบวม (โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้า ลิ้น หรือลำคอ) วิงเวียนอย่างรุนแรง หายใจติดขัด หมดสติ
  • มีพฤติกรรมแปลกประหลาด
  • มองเห็นภาพหลอน

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเบนโซนาเทตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ไทซานิดีน (tizanidine) ซานาเฟลกซ์ (zanaflex) อย่าง

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเบนโซนาเทตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเบนโซนาเทตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ โรคจิตเภท

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเบนโซนาเทตสำหรับผู้ใหญ่

  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มก.-200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เท่าที่จำเป็นสำหรับอาการไอ
  • ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด
  • อย่ารับประทานมากกว่า 200 มก. ภายในคราวเดียว

ขนาดยาเบนโซนาเทตสำหรับเด็ก

  • เด็กอายุมากกว่า 10 ปี
  • ขนาดยาที่แนะนำคือ 100 มก.-200 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง เท่าที่จำเป็นสำหรับอาการไอ
  • ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 100 มก. 200 มก. 150 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Benzonatate. https://www.drugs.com/cdi/benzonatate.html. Accessed July 17, 2017

Benzonatate. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-14257/benzonatate-oral/details#uses. Accessed July 17, 2017

BENZONATATE. https://www.rxlist.com/benzonatate-drug.htm. Accessed November 12, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ส่วนประกอบหลักใน ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ แบบไหนมีประสิทธิภาพสูงสุด

ลักษณะการไอ ของคุณเป็นแบบไหน ลองเช็คอาการไอ 5 รูปแบบต่อไปนี้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา