backup og meta

เมไทมาโซล (Methimazole)

เมไทมาโซล (Methimazole)

ข้อบ่งใช้

ยา เมไทมาโซล ใช้สำหรับ

ยาเมไทมาโซล (Methimazole) หรืออีกชื่อหนึ่งคือไทอะมาโซล (Thiamazole) ใช้เพื่อรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (overactive thyroid gland) และรักษาหรือเตรียมสำหรับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเกิน ยานี้ยังอาจใช้เมื่อแพทย์แนะนำไม่ให้ทำงานผ่าตัดกำจัดต่อมไทรอยด์ ยานี้ยังอาจใช้สำหรับสภาวะอื่นๆ ตามที่แพทย์กำหนด

ยาเมไทมาโซลเป็นยาต้านไทรอยด์ (antithyroid agent) ทำงานโดยการยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และยับยั้งการปล่อยฮอร์โมนออกจากต่อมไทรอยด์และควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย

วิธีการใช้ยาเมไทมาโซล

ใช้ยาเมไทมาโซลตามที่แพทย์กำหนด อ่านฉลากยาเพื่อรักษาวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง

รับประทานยาเมไทมาโซลพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก หากเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วนอาจรับประทานยาพร้อมกับอาหาร เพื่อลดอาการระคายเคืองในกระเพาะ

รับประทานยาเมไทมาโซลเป็นประจำเว้นเสียแต่ว่าแพทย์จะสั่งแบบอื่น

การเก็บรักษายา เมไทมาโซล

ยาเมไทมาโซลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเมไทมาโซลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมไทมาโซลลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเมไทมาโซล

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาเมไทมาโซล หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณแพ้ต่อยา อาหาร หรือสารอื่นๆ
  • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูกหรือตับ
  • หากคุณมีอาการผื่นแพ้ยา (exfoliative dermatitis) ซึ่งมีอาการรอยแดงที่แพร่กระจายและผิวตกสะเก็ด

ยาเมไทมาโซลอาจทำให้เกิดอาการง่วงซีม วิงเวียน หรือหน้ามืดได้ อาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นหากคุณรับประทานยานี้พร้อมกับสุราหรือยาอื่น ควรระมัดระวังการใช้ยาเมไทมาโซล อย่าขับรถหรือทำกิจกรรมที่อาจจะไม่ปลอดภัยจนกว่าคุณจะทราบว่าคุณมีปฏิกิริยาต่อยาอย่างไร

คุณอาจจะต้องทำการตรวจในห้องแล็บยาเมไทมาโซล ทั้งการตรวจสมรรถภาพของต่อมไทรอยด์และตับ ตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจการแข็งตัวของเลือด เช่นการตรวจค่าพีที (PT) การตรวจไอเอ็นอาร์ (INR) ผลการตรวจเหล่านี้อาจใช้เพื่อเฝ้าระวังสภาวะของคุณหรือตรวจหาผลข้างเคียง โปรดไปตามนัดของแพทย์และห้องแล็บทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเมไทมาโซลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเมไทมาโซล

ยาทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่คนจำนวนมากอาจจะไม่มีผลข้างเคียงหรือมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย โปรดติดต่อแพทย์หากผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้ไม่หายไปหรือรบกวนคุณ

  • การรับรสเปลี่ยนแปลง
  • วิงเวียน
  • ง่วงนอน
  • ปวดหัว
  • ปวดข้อ
  • หน้ามืด
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้
  • เหน็บชา
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาเจียน

รับการรักษาในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ที่รุนแรง (ผดผื่น ลมพิษ อาการคัน หายใจติดขัด แน่นหน้าอก อาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น)
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
  • ปัสสาวะสีคล้ำ
  • หมดสติ
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
  • เป็นไข้ หนาวสั่น หรือเจ็บคอไม่หาย
  • ปวดหัว คลื่นไส้ หรืออาเจียนอย่างรุนแรงหรือไม่หายไป
  • ปวดท้อง
  • สั่นเทา
  • มีเลือดออกหรือรอยช้ำผิดปกติ
  • ผมร่วงผิดปกติ
  • เหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงผิดปกติ
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
  • ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเมไทมาโซลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมไทมาโซลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมไทมาโซลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมไทมาโซลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

ขนาดยาเริ่มต้น

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินระดับเบา 5 มก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินระดับรุนแรงปานกลาง 10 มก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง (ไม่เกิน 40 มก. ต่อวัน)

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินระดับรุนแรง 20 มก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาปกติ 5-15 มก. ต่อวัน

ขนาดยาเมไทมาโซลสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี

ขนาดยาเริ่มต้น 0.4 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานในขนาดเท่ากัน 3 ครั้ง ห่างงกันครั้งและ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาปกติ 0.2 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานในขนาดเท่ากัน 3 ครั้ง ห่างงกันครั้งและ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด 30 มก./วัน

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Methimazole. https://www.drugs.com/cdi/methimazole.html. Accessed August 15, 2017

Methimazole. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-7251/methimazole-oral/details. Accessed August 15, 2017

METHIMAZOLE. https://www.rxlist.com/consumer_methimazole_tapazole/drugs-condition.htm. Accessed November 21, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไทรอยด์กับผู้หญิง รู้หรือไม่ ไทรอยด์อาจส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โรคคอพอกตาโปน โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา