backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไธโอธิซีน (Thiothixene)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

ไธโอธิซีน (Thiothixene)

ข้อบ่งใช้ ไธโอธิซีน

ไธโอธิซีน ใช้สำหรับ

ไธโอธิซีน (Thiothixene) ใช้ในการรักษาความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์ เช่น โรคจิตเภท (schizophrenia) ไธโอธิซีนช่วยควบคุมอาการภายในจิตใจ คลายความรู้สึกกังวลใจ ลดความก้าวร้าวและภาวะการใช้ความรุนแรงต่อตัวเองและผู้อื่น ช่วยลดอาการมองเห็นภาพหลอน (เช่น ได้ยินหรือมองเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่) ไธโอไธซีนยังช่วยฟื้นฟูการทำงาน ปรับความสมดุลของสื่อประสาทในสมอง

วิธีการใช้ ไธโอธิซีน

  • รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร 1-3 ครั้งต่อวัน หรือตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำหนด
  • ปริมาณของยาขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการซึม อาการสั่น แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มต้นโดยรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและค่อยๆ เพิ่มปริมาณของยา ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ไม่ควรหยุดใช้ยาโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงหากหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการสับสนอย่างรุนแรงและมองเห็นภาพหลอน
  • แพทย์ผู้เชียวชาญอาจค่อยๆ ลดปริมาณของยาลง ตามความเหมาะสมอาการของแต่ละบุคคล หากมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้นรีบเข้าพบแแพทย์ทันที

    การเก็บรักษา ไธโอธิซีน

    • ไธโอธิซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
    • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
    • ไม่ควรทิ้งลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

    ไธโอธิซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย

    ข้อควรระวังและคำเตือน

    ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไธโอธิซีน

    แจ้งรายละเอียดให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนี้

    • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือด (เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ และเกล็ดเลือดต่ำ) สภาวะดวงตา อย่างโรคต้อหิน
    • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ) โรคตับ โรคมะเร็งเต้านม
    • ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมอง เนื้องอกในสมอง หรือการบาดเจ็บที่สมอง
    • ปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อยาระงับอาการทางจิต เช่นกลุ่มอาการนิวโรเล็ปติกร้ายแรง
    • ผู้ที่มีปัญหาด้านลำไส้ เช่น โรคท้องผูกเรื้อรัง หรือลำไส้อุดตัน (intestinal blockage) ปัสสาวะติดขัด (เช่น เนื่องจากปัญหาต่อมลูกหมาก)
    • ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่าอาจมีอาการเพิ่มจากข้างต้น ดังนี้

      • อาการวิงเวียน หน้ามืด ง่วงซึม
      • ท้องผูก ปัสสาวะติดขัด
      • อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้

      ไธโอธิซีน อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม หรือมองเห็นไม่ชัด ไม่ควรขับยานพาหนะ หรือทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานเยอะ จนกว่าได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

      ไธโอธิซีนมีปฏิกิริยาที่ไวต่อแสงอาทิตย์ ควรทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่นอกบ้าน หากคุณเกิดอาการแดดเผาหรือมีแผลพุพองหรือรอยแดงที่ผิวหนังแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

      ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

      ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ไธโอธิซีนเมื่อจำเป็นเท่านั้น และต้องผ่านการอนุญาตจากแพทย์ สตรีมีครรภ์จะมีภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็งหรือสั่นเทา ง่วงซึม หายใจลำบาก หรือร้องไห้ตลอดเวลา

      ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

      ไธโอธิซีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

      การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

      • A= ไม่มีความเสี่ยง
      • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
      • C= อาจจะมีความเสี่ยง
      • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
      • X= ห้ามใช้
      • N= ไม่ทราบแน่ชัด

      ผลข้างเคียง

      ผลข้างเคียงของการใช้ ไธโอธิซีน

      ผลข้างเคียงของ ไธโอธิซีน มีดังนี้

      • อาจเกิดอาการซึม วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด
      • ปากแห้ง มองเห็นไม่ชัด
      • ท้องผูก
      • นอนหลับไม่สนิท
      • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุกหรือเป็นตะคริวอย่างรุนแรง (เช่นคอกระตุก หลังโก่ง หรือตาเหลือก)
      • อาการกระสับกระส่ายหรือรู้สึกอย่างเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สั่นเทา เดินช้าหรือเดินลากขา
      • น้ำลายไหลยืดหรือมีปัญหากับการกลืน

      ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วนทันทีหากเกิดอาการที่รุนแรง เหล่านี้

      • หมดสติ
      • ซึมเศร้า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
      • มีอาการลิ้นดันฟัน
      • มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย
      • มีสัญญาณของการติดเชื้อ (เช่น เป็นไข้ เจ็บคอบ่อยครั้ง)
      • ปวดท้องอยางรุนแรง ชัก

      ปฏิกิริยาของยา

      ปฏิกิริยากับยาอื่น

      ไธโอธิซีนอาจมีปฏิกิริยากับร่วมกับยาตัวอื่นๆ ได้แก่ ยาแอนติโคลิเนอร์จิก (anticholinergic) หรือยาคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (antispasmodic drugs) ไดไซโคลมีน (dicyclomine) หรือสโคโปลามีน (scopolamine) ลิเทียม (lithium)

      • ยาที่เพิ่มปปริมาณของสารโดพามีน (dopamine) ภายในร่างกาย อย่างคาเบอร์โกลีน (cabergoline) เลโวโดปา (levodopa) เพอร์โกไลด์ (pergolide) หรือโรพินิโรล (ropinirole)
      • ยาลดระดับความดันโลหิต เช่น กัวเนธิดีน (guanethidine) หรือยาอัลฟ่าบล็อกเกอร์ (alpha blockers) อย่างพราโซซิน (prazosin)

      ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อลดความเสี่ยงนี้และความปลอดภัยของสุขภาพร่างกาย ควรชี้แจงให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบถึงยาที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วย ( ทั้งยาที่อนุญาตจากแพทย์ ยาที่ถูกจำหน่ายจากเภสัชกร และสมุนไพรต่างๆ )

      ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

      ไธโอธิซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ

      ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

      ไธโอธิซีนอาจส่งผลให้โรคประจำตัวที่คุณกำลังเป็นนั้นมีอาการแย่ลง โปรดแจ้งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบถึงประวัติโรคประจำตัวของคุณเพื่อได้รับการรักษาอย่างปลอดภัย

      ขนาดยา

      ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

      ขนาดไธโอธิซีนสำหรับผู้ใหญ่

      ขนาดสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจิตเภท (schizophrenia)

      อาการระดับต้น

      • ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
      • ขนาดยาปกติ : รับประทาน 15 มก. ต่อวัน

      อาการระดับรุนแรง

      • ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
      • ขนาดยาปกติ : รับประทาน 20 ถึง 30 มก. ต่อวัน
      • ขนาดยาสูงสุด : รับประทาน 60 มก. ต่อวัน

      คำแนะนำ

      • ปริมาณของยาปรับให้แตกต่างตามแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
      • โดยทั่วไปแล้ว ควรเริ่มต้นการรักษาที่ให้ปริมาณยาที่ต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณยาในที่ระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย

      การใช้งาน

      เพื่อรักษาโรคจิตเภท

      คำแนะนำอื่นๆ

      ทั่วไป

      • ในกรณีการใช้ยาเกินขนาด ควรได้รับการล้างท้องแต่อย่างเร่งด่วนเพื่อนำสารอันตรายออกจากร่างกาย

      คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

      • งดแอลกอฮอลล์ ขณะที่กำลังใช้ไธโอธิซีน
      • งดการใช้ยานพาหนะ
      • หลีกเลี่ยงการเปิดรับแสงแดดโดยไม่จำเป็น และทาครีมกันแดดเป็นประจำ

      ขนาดไธโอธิซีนสำหรับเด็ก

      ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจิตเภท (schizophrenia)

      อายุ 12 ปีขึ้นไป

      อาการระดับเบา

      • ขนาดยาเริ่มต้น: 2 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
      • ขนาดยาปกติ: รับประทาน 15 มก. ต่อวัน
      • อาการระดับรุนแรง

        • ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
        • ขนาดยาปกติ: รับประทาน 20 ถึง 30 มก. ต่อวัน
        • ขนาดยาสูงสุด: รับประทาน 60 มก. ต่อวัน

        คำแนะนำ

        • ปริมาณของยาปรับให้แตกต่างตามแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
        • โดยทั่วไปแล้ว ควรเริ่มต้นการรักษาที่ให้ปริมาณยาที่ต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณยาในที่ระดับที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย

        การใช้งาน

        เพื่อรักษาโรคจิตเภท

        ข้อควรระวัง

        ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 12 ปี

        รูปแบบของไธโอธิซีน

        ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

        • ยาแคปซูลแบบรับประทาน
        • ยาผงสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

        กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

        หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

        กรณีลืมใช้ยา

        หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

        หมายเหตุ

        Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



        ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

        เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

        ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


        เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

        ad iconโฆษณา

        คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

        ad iconโฆษณา
        ad iconโฆษณา