backup og meta

ไธโอริดาซีน (Thioridazine)

ไธโอริดาซีน (Thioridazine)

ข้อบ่งใช้

ไธโอริดาซีน ใช้สำหรับ

ไธโอริดาซีน (Thioridazine) อยู่ในกลุ่มของยาฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine) รักษาโรคทางจิตใจหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) ออกฤทธิ์ช่วยปรับกระบวนการทำงานระบบประสาท โดยลดการตื่นตัวที่ผิดปกติของสมอง อาการวิตกกังวล ลดอาการประสาทหลอน ป้องกันการคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองและผู้อื่น

วิธีการใช้ ไธโอริดาซีน

รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารวันละ 2-4 ครั้งต่อวัน หรือตามที่แพทย์แนะนำ

ปริมาณของยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ แพทย์อาจค่อยๆ ลดปริมาณของยาลงหากอาการของคุณนั้นดีขึ้น ไม่ควรหยุดใช้ยาหรือลดปริมาณยาเองโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ เพราะทำให้อาการของคุณเกิดสภาวะบางอย่างขั้นรุนแรง

ใช้ยานี้เป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อการตอบสนองที่ดีของร่างกายคุณ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อง่ายต่อการจำ แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษา ไธโอริดาซีน

  • ไธโอริดาซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้ง ไธโอริดาซีน ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

ไธโอริดาซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไธโอริดาซีน

แจ้งให้แพทย์ทราบรายละเอียดหากคุณแพ้ ไธโอริดาซีน หรือกลุ่มยาฟีโนไทอาซีนอื่นๆ เช่น คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) ไธโอริดาซีนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ อย่าง QT prolongation สามารถทำให้เกิดอาการที่รุนแรง (อาจถึงแก่ชีวิต) เช่น อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หัวใจเต้นช้า และอาการอื่นๆ เช่น วิงเวียนศรีษะอย่างรุนแรง หมดสติ

ควรได้คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากคุณมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับหัวใจหรือคนในครอบครัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจมาก่อน

ไธโอริดาซีน ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบในร่างกายขั้นรุนแรง ได้แก่

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ภาวะกดประสาทส่วนกลางขั้นรุนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต  เช่น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ (low white blood cell count) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เคยมีอาการชัก
  • เอนไซม์ที่จำเป็นต่อการกำจัดยาออกจากร่างกายต่ำ หรือไฮดรอกซีเลเตอร์ช้า (slow hydroxylator)
  • ระดับของโพแทสเซียมหรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ

ไธโอริดาซีน อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และยาสูบ ส่งผลให้มีอาการข้างเคียงรุนแรงขึ้นได้

ไม่ควรใช้ยานพาหนะระหว่างที่ได้รับการรักษาโดยใช้ไธโอริดาซีน เพราะอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้

สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนใช้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ไธโอริดาซีน จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามี ดังนี้  

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ไธโอริดาซีน

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมักมีอาการ ดังนี้

  • อาจเกิดอาการมึนงง วิงเวียน ง่วงซึม เป็นไข้
  • อาเจียน คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องร่วง
  • ปากแห้ง
  • สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
  • ผดผื่น คันหรือบวมตามอวัยวะในร่างกาย

หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นควรเลิกใช้ยาและควรรีบพบแพทย์ทันที

  • ปัสสาวะลำบาก สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม
  • หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ชัก หมดสติ
  • มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมได้ (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น แขน หรือขา)

อาการอื่นๆนอกเหนือจากข้างต้นสำหรับผู้หญิงและผู้ชายที่ใช้ ไธโอริดาซีน

  • สำหรับผู้หญิง การเพิ่มขึ้นของโพรแลคตินอาจส่งผลให้เกิดน้ำนมที่ไม่จำเป็น ประจำเดือนขาดหรือหยุด หรือตั้งครรภ์ได้ยาก
  • สำหรับผู้ชาย อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง ไม่สามารถผลิตอสุจิได้ หรือมีเต้านมโต หากคุณมีอาการดังกล่าวนี้ ควรแจ้งแพทย์ในทันที

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงในข้างต้นนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรที่จำหน่ายยาอย่างละเอียดก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไธโอริดาซีน อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิค (anticholinergic medications) ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ต้านซึมเศร้าในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอบางชนิด (SSRI antidepressants)

มียาอีกมากนอกจากไธโอริดาซีนที่ส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ (QT prolongation) ยาที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านฮีสตามีน และยาอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายเมื่อใช้ร่วมกันไธโอริดาซีนควรแจ้งรายชื่อของยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วยให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเพื่อลดความเสี่ยงที่ตามมาในภายหลัง โปรดอย่าเริ่มใช้ยาหรือหยุดรวมถึงการเปลี่ยนปริมาณยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไธโอริดาซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไธโอริดาซีนอาจส่งผลให้โรคประจำตัวของคุณมีอาการแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลง โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติโรคประจำตัวของคุณก่อนการใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไธโอริดาซีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia)

ขนาดยาเริ่มต้น : 50 ถึง 100 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ขนาดยาปกติ : 200 ถึง 800 มก./วัน แบ่งรับประทานวันละ 2 ถึง 4 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด : 800 มก./วัน

คำแนะนำ

เมื่ออาการของคุณดีขึ้นควรค่อยๆ ลดปริมาณของยาลง ตามการวินิจฉัยของแพทย์

การใช้งาน

สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาระงับอาการทางจิตอื่นๆ

การปรับขนาดยา

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดระยะคิวทียาว หรือ การเผาผลาญเอนไซม์ซีวายพี 450 2 ดี 6 ได้ต่ำ (CYP450 2D6 poor metabolizers):

-QT interval มากกว่า 450 มิลลิวินาทีตั้งแต่ต้น: ไม่แนะนำ

QT interval มากกว่า 500 มิลลิวินาทีขณะการรักษา: หยุดการใช้ยา

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

  • อ่านข้อมูลผลิตภัณฑ์

ทั่วไป

  • ยังไม่ทราบความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภชที่ดื้อยา
  • ควรจำกัดใช้เฉพาะผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาระงับอาการทางจิตอื่นๆไม่ได้ผลเท่านั้น
  • ควรใช้ยาในขนาดยาต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากความเสี่ยงที่ในการเกิด QT prolongation ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) และอันตรายถึงชีวิตได้

การเฝ้าระวัง

  • จำเป็นต้องมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECGs) โดยเฉพาะก่อนเริ่มการรักษา ขณะปรับขนาดยาเป็นระยะ
  • ระดับของโพแทสเซียม โดยเฉพาะก่อนเริ่มการรักษา
  • ตรวจนับเม็ดเลือดขาวเป็นระยะๆ โดยใช้การทดสอบที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสัญญาณของการติดเชื้อ เจ็บคอ หรือมีประวัติมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • ตรวจดวงตา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รักษาในระยะยาว
  • ตรวจระดับของอิเล็กโตรไลต์ (electrolyte levels) เป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular events) หรือกำลังใช้ยาขับปัสสาวะ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • เตือนผู้ป่วยไม่ให้หยุดใช้ยานี้อย่างฉับพลัน
  • ให้ผู้ป่วยรีบแจ้งสัญญาณและอาการของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ กลุ่มอาการนิวโรเล็ปติกร้ายแรง อาการยึกยือ
  • แนะนำให้ผู้ป่วย คนในครอบครัว และผู้ดูแลให้เฝ้าระวัง แจ้งสัญญาณและอาการของพฤติกรรมที่ผิดปกติให้แพทย์ทราบในทันที เช่น อาการกระวนกระวาย ฉุนเฉียว วิตกกังวล อาการแพนิคกำเริบ (panic attacks) นอนไม่หลับ ก้าวร้าว อาการนั่งไม่ติดที่
  • แนะนำให้ผู้ป่วยรายงานยาที่กำลังใช้อยู่ทั้งยาตามใบจำหน่ายยาทางการแพทย์ ยาที่จำหน่ายโดยเภสัชกร และสมุนไพร
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากตั้งครรถ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
  • แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า ยานี้สามารถทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะ

ขนาดยาไธโอริดาซีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia)

ขนาดยาเริ่มต้น: 0.5 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน

ขนาดยาสูงสุด: 3 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน

คำแนะนำ

ควรค่อยๆ เพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับผลการรักษาตอบสนองที่ดี การเพิ่มหรือลดปริมาณยาต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น

การใช้งาน

สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ด้วยยาระงับอาการทางจิตอื่นๆ

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยารับประทาน
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thioridazine Dosage. https://www.drugs.com/dosage/thioridazine.html. Accessed November 26, 2019.

Thioridazine HCL. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-5434/thioridazine-oral/details. Accessed November 26, 2019.

Thioridazine . https://www.rxlist.com/thioridazine-side-effects-drug-center.htm . Accessed November 26, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิค ลงโทษลูก แต่ละวัยอย่างเข้าใจ และไม่ทำร้ายจิตใจเด็ก

รับมือกับโรคซึมเศร้า ไม่ยากอย่างที่คิด!


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา