backup og meta

ไรโบส (Ribose)

ไรโบส (Ribose)

สรรพคุณของไรโบส

ไรโบส (Ribose) คือ น้ำตาลชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายสมารถผลิตได้เอง และใช้เป็นยา

ไรโบสใช้เพื่อ

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย และสมรรถภาพของร่างกาย
  • ช่วยให้อาการต่อไปนี้ดีขึ้น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคปวดกล้ามเนื้อ และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ช่วยเรื่องอาการต่อไปนี้ เช่น ปวดท้องจากตะคริว ความเจ็บปวดและอาการเมื่อยล้าหลังออกกำลังกายในบุคคลที่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MDP) หรือ AMP
  • เสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายในบุคคลที่เห็นโรคแมคคาร์เดิล (McArdle’s disease)

บางครั้งบุคลลากรทางการแพทย์ฉีดไรโบสผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อกำหนดขอบเขต ความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจในบุคคลที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน นอกจากนี้ไรโบสยังถูกใช้ผ่านหลอดเลือดดำในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อรักษาอาการ เช่น ปวดท้องจากตะคริว เจ็บปวด และเมื่อยล้า

กลไกการออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับไรโบสไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไรโบสอาจป้องกันอาการกล้ามเนี้อล้าในผู้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงานได้เพียงพอ นอกจากนี้ ยังเพิ่มพลังงานให้หัวใจในระหว่างการออกกำลังกายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารไรโบส ยาอื่นๆ หรืออาหารเสริมอื่นๆ
  • มีโรคอื่นๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไรโบสนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัย

ไรโบส ปลอดภัยสำหรับการรับประทานช่วงสั้นๆ หรือเมื่อให้ผ่านหลอดเลือดดำ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ ไรโบสในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย

โรคเบาหวาน : ไรโบสอาจลดน้ำตาลในเลือด เมื่อใช้กับยารักษาโรคเบาหวานซึ่งลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่แล้วอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ไรโบสจะดีกว่า ถ้าเป็นโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ : ไรโบสอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น ถ้าอยู่ในสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาก หลีกเลี่ยงการใช้ไรโบส

การผ่าตัด : เพราะไรโบสอาจจะลดระดับน้ำตาลเลือด ดังนั้นอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ควรหยุดใช้ไรโบสอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากไรบอส

ไรโบสเป็นต้นเหตุของผลข้างเคียงต่อไปนี้ ท้องเสีย ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ ปวดหัว และน้ำตาลในเลือดต่ำ

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ไรบอส

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ไรบอสอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับไรบอส ได้แก่

  • อินซูลิน

ไรโบสอาจลดน้ำตาลในเลือด อินซูลินก็ทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ซึ่งการใช้ไรโบสกับอินซูลินอาจเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ดั้งนั้นควรตรวจสอบระดับน้ำตาลเสมอเพราะขนาดอินซูลินที่ใช้อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแลง

  • ยารักษาโรคเบาหวาน

ไรโบอาจจะลดน้ำตาลในเลือด ยารักษาโรคเบาหวานก็ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน การใช้ไรโบสคู่กับยารักษาโรคเบาหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไป ดังนั้นควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเสมอ เพราะขนาดของยารักษาโรคเบาหวานอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดที่ใช้ ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน เช่น ไกลเมพิไรด์ (glimepiride) ไกบูไรด์ (glyburide) อินซูลิน (insulin) ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone) โลลิกสิตาโซน (rosiglitazone) คลอร์โพนาไมด์ (chlorpropamide)  ไกลพิไซด์ (glipizide) โทลบูตาไมด์ (tolbutamide) และอื่นๆ

แอลกอฮอล์อาจลดระดับน้ำตาลในเลือด ไรโบสอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ดังนั้นการใช้โรโบสกับแอลกอฮอล์อาจจะเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

  • แอสไพริน

ไรโบสอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้แอสไพรินในประมาณมากอาจจลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้นการใช้ไรโบสควบคู่กับแอสไพรินในปริมาณมากอาจเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป แต่ปฎิกริยานี้อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคนจำนวนมากที่ใช้แอสไพริน 81 กรัมต่อวัน

  • ยากลุ่มซาลิไซเลต

ยากลุ่มซาลิไซเลตอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด ไรโบสอาจจะลดน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน ดังนั้นการใช้ไรโบสกับยากลุ่มซาลิไซเลต อาจเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป แต่ยังไม่แน่ชัดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่

  • โพรพราโนลอล

โพรพราโนลอลอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด ไรโบสอาจจะลดน้ำตาลในเลือดด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใชไรโบสควบคู่กับโพรพราโนลอลอาจเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

  • ซาลซาเลต

ซาลซาเลตในปริมาณมากอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นการใช้ไรโบสควบคู่กับซาลซาเลต

อาจเป็นต้นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดการใช้ไรบอสปกติอยู่ที่เท่าไร 

ข้อมูลต่อไปนี้ได้รับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว

ชนิดรับประทาน

เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจด้วยการออกกำลังกาย : ครั้งละ 15 กรัมวันละ 4 ครั้ง ก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง จนกระทั่งออกกำลังกายเสร็จ ขนาด 3 กรัม ทุก 10 นาที ใช้สำหรับลดอาการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อลำบากและตะคริวอันมีสาเหตุจากการออกกำลังกาย

ปริมาณไรโบสที่ใช้อาจแต่กต่างกันไปสำหรับคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเหตุผลอี่นๆ  ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นไม่ปลอดภัยเสมอไปดังนั้นโปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขนาดที่เหมาะสมกับตัวคุณ

ไรบอสมีจำหน่ายในรูปแบบใด

ไรบอสอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้

  • แป้งไรโบส
  • ไรโบสแคปซูล 750 มิลลิกรัม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ribose. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-827-ribose.aspx?activeingredientid=827. Accessed August 11, 2017

All About Ribose. https://www.bodybuilding.com/fun/issa36.htm. Accessed August 11, 2017

Ribose. https://www.emedicinehealth.com/ribose/vitamins-supplements.htm. Accessed January 06, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

กลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ โมโหหิว ได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา