backup og meta

ลักษณะอาการปวดศีรษะ แบบไหนที่กำลังเล่นงานคุณอยู่ตอนนี้ เช็กเลย!

ลักษณะอาการปวดศีรษะ แบบไหนที่กำลังเล่นงานคุณอยู่ตอนนี้ เช็กเลย!

หลายคนคงเคยมีอาการปวดศีรษะกันมาแล้ว บางคนก็มีอาการเป็นครั้งคราวและไม่รุนแรงมากนัก ในขณะที่บางคนมีอาการปวดรุนแรงชนิดที่ว่าไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้เลย แล้วคุณเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละครั้งนั้นมีลักษณะแตกต่างกันบ้างไหม และเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ บทความนี้จะนำคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะอาการปวดศีรษะ ประเภทต่างๆ ที่สามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่คุณอาจเผชิญอยู่ได้

อาการปวดศีรษะคืออะไร

อาการปวดศีรษะเป็นคำจำกัดความรวมสำหรับอาการปวดบริเวณศีรษะ ซึ่งสามารถจำแนก ลักษณะอาการปวดศีรษะ ออกไปได้กว่า 150 ชนิด สามารถพบได้ทั่วไปในทุกปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเมาค้าง เมารถ เครียดจัด หรือเป็นเนื้องอกในสมอง ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ทั้งสิ้น อีกทั้งอาการปวดศีรษะยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ ทุกเชื้อชาติ และทุกเพศโดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะกว่าร้อยละ 50 นั้นมักรักษาอาการปวดด้วยตัวเองมากกว่าไปปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพได้ คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ หากอาการปวดศีรษะของคุณก่อให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้

  • สับสนหรือสื่อสารสับสน
  • เป็นลม
  • ไข้สูงกว่า 39-40 องศาเซลเซียส
  • เกิดอาการชา อ่อนเพลีย หรือมีอาการอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ขยับไม่ได้ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • คอแข็ง
  • มีปัญหาการมองเห็น
  • มีปัญหาการพูด
  • มีปัญหาการเดิน
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียน ที่ชี้ชัดว่าไม่ได้เกิดจาก ไข้หวัด หรืออาการเมาค้าง

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์และรายละเอียดของอาการที่ตรวจพบ ก่อนจะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม กับประเภทของการปวดศีรษะให้กับคุณ

ลักษณะอาการปวดศีรษะ มีอะไรบ้าง

อาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่

ปวดศีรษะจากความเครียด

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headaches) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่น โดยสามารถเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อในศีรษะหดตัว (muscle contraction headache) อาการปวดศีรษะรายวัน (chronic daily headaches) อาการปวดศีรษะเรื้อรังแต่ไม่ร้ายแรง (Chronic Non-Progressive Headache)

การปวดศีรษะจากความเครียดนี้ เกิดจากกล้ามเนื้อในศีรษะเกิดการหดตัว ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงปานกลาง โดยคุณอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดเพียงไม่กี่นาทีหรืออาจนานหลายวันก็ได้ และบางครั้งสามารถนำไปสู่ภาวะไวต่อแสง (photophobia) หรือ ภาวะไวต่อเสียง (phonophobia) ได้เช่นกัน

ปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะไมเกรน พบได้น้อยกว่าอาการปวดศีรษะจากความเครียด คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรน หากมีอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นซ้ำเป็นระยะเวลานานกว่า 4-72 ชั่วโมง โดยสาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรนที่พบบ่อยเกิดจากการกระตุ้นโดยการเคลื่อนไหวทางร่างกายในชีวิตประจำวัน

ลักษณะอาการปวดศีรษะไมเกรนส่วนใหญ่ที่พบคือ มีอาการปวดที่บริเวณศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง และบ่อยครั้งจะมีอาการปวดตุบๆ ด้วย โดยอาการปวดที่เกิดขึ้นจะมีระดับรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และส่วนใหญ่มักจะทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ หรือมีปฏิกิริยาไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น และในบางครั้งอาจมีอาการเบื่ออาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน หรือปวดท้องร่วมด้วย

ปวดศีรษะแบบผสม

ปวดศีรษะแบบผสม (Mixed headache syndrome) คืออาการปวดศีรษะที่มีลักษณะการปวดผสมกันระหว่างอาการปวดศีรษะจากความเครียดและปวดศีรษะจากไมเกรน สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ หรือปวดศีรษะแบบชุดๆ (cluster headache) เป็นอาการปวดที่พบได้ไม่บ่อย แต่ว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ลักษณะอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์จะแตกต่างจากไมเกรนและการปวดศีรษะจากความเครียดโดยทั่วไป และอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดขั้นรุนแรงบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือบริเวณศีรษะด้านข้างได้ โดยอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์จะเกิดขึ้นเป็นชุดๆ ประมาณ 1-3 ครั้งต่อวัน และอาจคงอยู่นานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน แล้วเว้นช่วงไปอีกหลายเดือนหรือเป็นปี แล้วจึงเกิดอาการซ้ำอีก

ปวดศีรษะจากไซนัส

อาการปวดศีรษะจากไซนัส (Sinus headaches) เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป มักเกิดอาการปวดแบบลึกๆ และต่อเนื่อง บริเวณกระดูกแก้ม หน้าผาก หรือโพรงจมูก คาดว่าเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก ทำให้เกิดอาการเจ็บอย่างรุนแรง หัวหมุน หน้ามืดวิงเวียน คัดแน่นจมูก น้ำมูกไหล ได้กลิ่นเหม็นคาว หรือจมูกไม่รับกลิ่น เจ็บหรือตึงหน้า มีไข้สูง หรือเกิดอาการหน้าบวม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tension-Type Headaches. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_Tension-Type_Headaches. Accessed March 15, 2019

Managing tension headaches at home. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000421.htm. Accessed March 15, 2019

Tension Headaches. http://www.healthline.com/health/tension-headache. Accessed March 15, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกปวดหัว อาการแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

วิธีแก้ปวดหัว สุดเจ๋ง ดูแลตัวเองได้...ไม่ต้องพึ่งยา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา