ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อคุณมาถึงโรงพยาบาล แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอาการของคุณเพื่อดูว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนและความพิการให้เหลือน้อยที่สุด โดยปัจจุบัน มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์หลายประเภทที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะมี วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด อย่างไรบ้าง เราจะมาดูรายละเอียดกัน
วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด มีอะไรบ้าง
การซักประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย
แพทย์จะสอบถามคุณ (ถ้าคุณยังรู้สึกตัวดีและตื่นอยู่) หรือสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับอาการของคุณ อาการเริ่มเกิดเมื่อไร และสมาชิกในครอบครัวทำอย่างไรกับอาการเหล่านั้น
แพทย์จะสอบถามว่ามีปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ ประวัติทางการแพทย์และประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือภาวะสมองขาดเลือดของคนในครอบครัว รวมทั้งยาที่คุณกำลังรับประทานอยู่ด้วย
ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจความดันโลหิตของคุณ ความตื่นตัว การทรงตัว และการทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆ แพทย์จะตรวจว่าคุณมีอาการอ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า แขน ขา มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน การพูดหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงหรือไม่
นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจฟังชีพจรที่หลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่เลี้ยงสมองส่วนหน้า (carotid artery) เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่หลอดเลือดใหญ่นี้ด้วย
การตรวจเลือด
สามารถใช้การตรวจเลือดเพื่อดูว่าลิ่มเลือดของคุณแข็งตัวเร็วเพียงใด ตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ (สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป) ความไม่สมดุลของสารเคมีในเลือดระดับวิกฤติ หรือการติดเชื้อ
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดอาการคล้ายภาวะสมองขาดเลือดได้ จำนวนเกล็ดเลือดที่ผิดปกติก็อาจเป็นสัญญาณแสดงการเกิดเลือดออกในสมองหรือความผิดปกติจากหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombotic)
การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน จะแสดงภาพสมองของคุณอย่างละเอียด เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดด้วยการใช้การเอ็กซเรย์หลายครั้ง นอกจากนี้ ซีทีสแกนยังสามารถแสดงให้เห็นเนื้องอก การเกิดเลือดออกในสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย หรือภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการ หรืออาจทำการตรวจซีทีสแกนได้ทันทีหลังจากที่คาดว่าเกิดภาวะสมองขาดเลือด
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging)
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) คือการใช้แม่เหล็กและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพของโครงสร้างต่างๆ ในสมองของคุณอย่างละเอียด สามารถแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มสมองและภาวะสมองขาดเลือด
ภาพที่เครื่องเอ็มอาร์ไอ สร้างขึ้นจะมีความละเอียดและชัดเจนมากกว่าการตรวจซีทีสแกน
การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด (Computed Tomographic Angiography)
ในการตรวจประเภทนี้ จะมีการฉีดสีย้อมแบบพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดแดง และแพทย์จะถ่ายภาพหลอดเลือดของคุณเพื่อตรวจหาความผิดปกติต่างๆ
การตรวจหลอดเลือดโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance angiography)
การตรวจวิธีนี้จะแสดงให้เห็นหลอดเลือดใหญ่ในสมอง และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการอุดตันของเลือดและการไหลของเลือดในสมอง
การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid ultrasound)
การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการตรวจที่ไม่ทำให้เจ็บปวด ด้วยการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของโครงสร้างต่างๆ ภายในหลอดเลือดใหญ่ที่คอที่เลี้ยงสมองส่วนหน้า (carotid arteries) หลอดเลือดเหล่านี้ผ่านบริเวณคอของคุณเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาพนี้จะสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีคราบจุลินทรีย์ (plaque) ก่อตัวหรือไม่ และการไหลของเลือดเกิดการอุดตันหรือไม่
การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiogram)
ในการตรวจวิธีนี้ แพทย์จะสอดท่อแบบบางและยืดหยุ่นเข้าไปในหลอดเลือดใหญ่ที่คอ แล้วจึงขยับท่อขึ้นไปตามหลอดเลือดใหญ่นั้น
แพทย์จะฉีดสารย้อมแบบพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดใหญ่ที่คอและใช้การเอ็กซเรย์เพื่อสร้างภาพของหลอดเลือดในคอและสมองของคุณอย่างละเอียด
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) เรียกอีกชื่อว่าเอคโค เป็นการตรวจแบบไม่เจ็บปวดด้วยการใช้คลื่นเสียงเพื่อแสดงภาพของหัวใจอย่างละเอียด ซึ่งจะสามารถบอกแพทย์ให้ทราบถึงขนาด รูปทรงของหัวใจ และบอกได้ว่าหัวใจทำงานดีเพียงใด สามารถตรวจจับการอุดตันของลิ่มเลือดภายในหัวใจที่อาจเคลื่อนที่ไปยังสมองและเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้
ในการทดสอบนี้ แพทย์จะสอดท่อบางๆ พร้อมมีเครื่องมือพิเศษติดไว้ลงคอและขยับลงไปที่หลอดอาหาร เพราะหลอดอาหารของคุณอยู่บริเวณหลังหัวใจ การตรวจวิธีนี้จึงสามารถแสดงภาพของหัวใจของคุณได้อย่างชัดเจน
ภาวะสมองขาดเลือดสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกาย การตรวจเอ็กซเรย์ การตรวจเลือด เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดประเภทของสภาวะสมองขาดเลือด สาเหตุและส่วนของสมองที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น ให้เข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่แรกเริ่มสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองถูกทำลายได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]