ผู้ป่วยที่เกิดภาวะ สมองขาดเลือด หลายรายเปิดเผยว่า พวกเขามีความรู้สึกแปลกๆ ก่อนที่จะเกิดอาการ ความรู้สึกในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า อาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งบางครั้งสัญญาณเตือนล่วงหน้าเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ 2-3 วัน ก่อนเกิดภาวะสมองขาดเลือด มาถึงตรงนี้ คุณอาจมีคำถามว่าอาการเตือนล่วงหน้าสมองขาดเลือด นั้นน่าเชื่อถือจริงหรือ? จริงๆ แล้ว มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หลายประการที่ระบุว่า อาการเตือนล่วงหน้าบางอย่าง อาจนำไปสู่เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ ซึ่งหากเรารู้ทันสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ ก็จะสามารถป้องกันหรือรับมือกับภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างทันทท่วงที และลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ได้น้อยที่สุด
อาการเตือน สมองขาดเลือด เชื่อได้จริงหรือ?
อาการเตือนล่วงหน้า สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึกที่ชัดเจน ว่าบางสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับอาการไม่สบายต่างๆ ในบางกรณี มีสัญญาณที่แสดงอาการเริ่มแรกของโรคที่คุณสามารถสังเกตได้ ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางรายเล่าว่าพวกเขาเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในระยะสั้นๆ
ในระหว่างการพักฟื้นจากภาวะสมองขาดเลือด ผู้ป่วยมักจำจดความรู้สึกหรืออาการเตือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ได้ โดยสามารถบอกได้ว่า ‘ฉันรู้ว่าสิ่งผิดปกติกำลังจะเกิดขึ้น’ หรือ ‘ฉันมีความรู้สึกแปลกๆ’ สัญญาณที่แสดงออกมา มักจะเป็นความรู้สึกเหน็บชา ไม่ได้ยินเสียง มองเห็นภาพผิดปกติเป็นพักๆ วิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ สับสน งุ่มง่าม หรือพูดไม่ชัด
อาการเตือนภาวะสมองขาดเลือดค่อนข้างพบได้บ่อย เห็นได้จากการศึกษาเกี่ยวกับอาการเตือนล่วงหน้าในผู้ป่วย 16 ราย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry ที่ระบุว่า ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 สูญเสียการได้ยินช่วงสั้นๆ และได้ยินเสียงกริ่งในหูนานหลายนาที โดยจะเกิดเป็นบางช่วงใระยะเวลาตั้งแต่ 1-10 วันก่อนที่จะเริ่มเกิดภาวะสมองขาดเลือด
ผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับการรายงานจำนวนมากจากการบอกเล่าของผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือด แต่เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่นาน จึงมักไม่มีใครสนใจ และเลือกที่จะมองข้ามไปจนเกิดอาการในที่สุด
จะลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างไรบ้าง
ถ้าคุณมีอาการเตือนภาวะสมองขาดเลือดล่วงหน้า หรืออาการแปลกๆ และเกิดชั่วคราว ซึ่งอาจชี้ได้ว่าอาจจะเกิดภาวะสมองขาดเลือดในไม่ช้า คุณควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์
การวินิจฉัยในระยะแรกเริ่ม สามารถช่วยลดหรือแม้แต่ป้องกันการเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ โดยส่วนมาก สัญญาณแสดงเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย โดยอาจต้องทำการตรวจเลือดหรือการตรวจบันทึกภาพเพื่อทำการวินิจฉัยโรค หรือเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินอาการ ในบางกรณี แพทย์อาจเริ่มวางแผนสำหรับการจัดการปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองขาดเลือดที่เพิ่งตรวจวินิจฉัยพบใหม่ๆ ด้วย
เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองขาดเลือด คุณควรลองแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้
- รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคหลอดเลือดต่างๆ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดที่ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้
- ควบคุมภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดการเปราะแตกของหลอดเลือด คุณจึงควรรับประทานยารักษาเบาหวาน และเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อรักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ
- เข้ารับการดูแลจากแพทย์เพื่อรักษาโรคหัวใจ ตรวจวัดความดันโลหิต และถ้าความดันสูง ให้พบคุณหมอเพื่อควบคุมความดันให้อยู่ในช่วงปกติ
- เข้ารับการดูแลจากแพทย์เพื่อรักษาโรคหัวใจ การมีหัวใจอ่อนแอหรือการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ อาจลดการส่งเลือดไปเลี้ยงสมองได้
- เลิกสูบบุหรี่หรือใช้ยาเสพติด
- ควรคุมระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดของคุณให้เป็นปกติ การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารถือว่าเพียงพอสำหรับการลดระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอรไรด์ในบางคน ในขณะที่บางคน อาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วย
- ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันภาวะสมองขาดเลือด ด้วยการรับประทานปลา ผักผลไม้สดๆ โปรตีน และเส้นใยอาหารมากขึ้น
- เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- จัดการกับระดับความเครียดของคุณให้ดี
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]