backup og meta

ศาสตร์การ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ช่วยบำบัดโรคได้จริงหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    ศาสตร์การ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ช่วยบำบัดโรคได้จริงหรือไม่

    การนวด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย  นอกจากจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายแล้วยังช่วยบรรเทาความเครียดได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ นำศาสตร์การนวดด้วยเท้ามาฝากกันค่ะ นั่นคือ การนวดกดจุดฝ่าเท้า หรือเรียกอีกอย่างว่า “นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า” โดยมีความเชื่อว่าการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้านั้นช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและยังมีส่วนช่วยในการบำบัดโรค แต่จะสามารถบำบัดโรคได้จริงหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ

    นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (Foot Reflexology) คืออะไร

    การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (Foot Reflexology) ถือเป็นการรักษาอีกรูปแบบหนึ่งที่ถือกำเนิดมาจากประเทศอียิปต์และจีน และได้มีการเผยแพร่นี้จนมาถึงประเทศไทย  วิธีการนวดคือการใช้นิ้วมือกดจุดบนฝ่าเท้าแล้วส่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) ไปยังอวัยวะนั้นๆ เพื่อบรรเทาอาการของแต่ละปัญหาการเจ็บป่วยด้วย

    นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าช่วยบำบัดโรคได้จริงหรือไม่

    ปัจจุบันการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าจัดอยู่ใน แพทย์ทางเลือก ปลอดภัยและสามารถรักษาได้จริงโดยการนวดเพียงใช้มืออย่างเดียวโดยอาศัยตำแหน่งการสะท้อนนั้นเป็นการวินิจฉัยการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย เพื่อทำการรักษาและป้องกันในเวลาต่อมา โดยการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้านั้นมีประโยชน์ดังนี้

    • ปรับสมดุลในร่างกาย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
    • ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
    • ปรับฮอร์โมนในร่างกาย
    • บรรเทาอาการปวดเมื่อยในร่างกาย
    • ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด
    • บรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
    • กระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้รู้สึกนอนหลับสบายยิ่งขึ้น

    วิธีการ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

    • ใช้นิ้วกดลงบนจุดสะท้อนที่เท้า ที่เรียกว่าปลายประสาท โดยจุดสะท้อนเท้านั้นมีทั้งหมด 62 จุด แต่ละจุดเป็นปลายประสาทที่เชื่อมโยงไปยังอวัยวะที่สำคัญทั้งหมดในร่างกาย 62 อย่าง และมีความรู้สึกรับรู้ทั้งหมด 62 แบบ
    • เมื่อเราทำการกระตุ้นจุดที่เท้าจะส่งผลสะท้อนไปยังอวัยวะที่สัมพันธ์กับจุดนั้นโดยตรง  เป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ระบบร่างกายต่อเนื่อง ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ปรับสมดุล ทำให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง

    ข้อควรระวัง

    • ห้ามนวดในผู้ที่มีแผลเปิดตรงบริเวณที่จะทำการนวด เพราะแผลอาจติดเชื้อได้
    • ไม่ทำการนวดในกรณีผู้ป่วยกินข้าวอิ่มใหม่ๆ เพราะอาจมีผลให้ผู้ป่วยผะอืดผะอม อึดอัด ไม่สบายท้อง บางรายอาจอาเจียนได้ ดังนั้น จึงควรนวดหลังกินข้าวอิ่มอย่างน้อย 15-20 นาที
    • ไม่นวดในสตรีตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เพราะจะทำให้เกิดการแท้งได้
    • ห้ามนวดในคนที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดวิ่งไปอุดที่เส้นเลือดหัวใจ
    • ห้ามนวดในผู้ที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เช่น ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา