backup og meta

ข่า (Alpinia)

สรรพคุณของข่า:

ข่า เป็นพืชชนิดหนึ่ง ส่วนลำต้นใต้ของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • แก๊สในลำไส้
  • การติดเชื้อ
  • อาการกล้ามเนื้อชักกระตุก
  • ไข้หวัด
  • อาการบวม อักเสบ
  • ขณะมีเลือดไหล

และยังมีสรรพคุณในการในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือใช้เป็นยากระตุ้น

กลไกการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ของข่ายังมีไม่เพียงพอ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้  

ข้อควรระวัง และคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ข่า

ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หาก:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในข่า หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรจากข่ามีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้ข่า

ข่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อรับประทานในปริมาณทั่วไปที่พบในอาหาร

เป็นไปได้ว่าข่าปลอดภัยเมื่อรับประทานเพื่อเป็นการรักษาโรค และเมื่อนำผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ประกอบด้วยชะเอม ไธม์ ตำแย ต้นองุ่นมาทาผิว

สตรีตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร:

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรชนิดนี้ ในขณะตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ข่า:

อาการแพ้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อนำสมุนไพรชนิดนี้ไปใช้ เช่น อาการปวดข้อ หรือการเกิดผื่น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข่า:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากข่าอาจมีปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้

  • ยาลดกรดหรือแอนตาซิดส์ (Antacids): แอนตาซิดนำมาใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร ในขณะที่ข่าเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้น ข่าอาจลดประสิทธิภาพของยาลง ยาลดกรดบางชนิดมีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนต (เช่น ทุมส์ (Tums) และอื่น ๆ) ไดไฮดรอกซีอะลูมีนัม โซเดียม คาร์บอเนต (Dihydroxyaluminum Sodium Carbonate) (เช่น โรเลดส์ (Rolaids) และอื่นๆ แมกกอลเดรต (Magaldrate) (เช่น ไรโอพาน (Riopan)) แมกนีเซียมซัลเฟต (Magnesium Sulfate) (เช่น ไบลากอก (Bilagog)) อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium Hydroxide) (เช่น แอโฟเจล (Amphojel)) และอื่นๆ
  • ตัวยาที่ลดกรดในกระเพาะอาหาร: ข่าอาจเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เพราะเหตุนี้ ข่าอาจลดประสิทธิภาพของยาที่เรียกว่า เอช2-บลอกเกอร์ส (H2-Blockers) ตัวยาเหล่านี้รวมถึง ไซเมทิดีน (Cimetidine) (เช่น เทกาเมท (Tagamet)) แรนิทิดีน (Ranitidine) (เช่น แซนแทก (Zantac)) นิซาติดีน (Nizatidine) (เช่น แอกซิด (Axid) และฟาโมทิดีน (Famotidine) (เช่น เปปซิด (Pepcid))
  • ตัวยาที่ลดกรดในกระเพาะอาหาร (ยากลุ่ม โปรตอน ปัมพ์ อินฮิบิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors): ข่าอาจเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เพราะเหตุนี้ ข่าอาจลดประสิทธิภาพของยาในกลุ่มโปรตอน ปัมพ์ อินฮิบิเตอร์ รวมถึง โอเมพราโซล (Omeprazole) (เช่น พรีโลเซค (Prilosec)) แลนโซพราโซล (Lansoprazole) (เช่น เพรวาซิด (Prevacid)) ราบีพราโซล (Rabeprazole) (เช่น อาซิเฟกส์ (Aciphex) แพนโทพราโซล (Pantoprazole) (เช่น โปรโตนิกส์ (Protonix) และอีโซเมปราโซล (Esomeprazole) (เช่น เนกเซียม (Nexium))

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามมารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง

ปริมาณการใช้ข่าโดยทั่วไป:

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของข่า:

ข่าอาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • แบบเหลวซึ่งมาจากการสกัด
  • แบบผง
  • แบบทิงเจอร์

***   Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด   ***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alpinia. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-276-alpinia.aspx?activeingredientid=276&activeingredientname=alpinia. Accessed March 10, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา