โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ครบถ้วน
แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่เราก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของท่าน โปรดแสดงความคิดเห็นในกล่องข้อความด้านล่าง
ถั่วแปบ (Hyacinth Bean) เป็นไม้เลื้อยที่ผลิตเมล็ดพันธุ์จำพวกถั่ว ส่วนประกอบต่างๆ ของพืชชนิดนี้ เช่น เมล็ด ฝัก ใบ ดอก และรากของถั่วแปบนั้นสามารถนำรับประทานได้ทุกส่วน เมล็ดของถั่วพันธุ์นี้ใช้สกัดเป็นยารักษาโรค รวมถึงป้องกันอาการท้องร่วง บำรุงม้ามกระเพาะอาหารที่ใช้ในการย่อยอาหาร สลายการแข็งตัวของเลือด และเผาผลาญของเหลวภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี
ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของถั่วแปบ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าถั่วแปบอาจป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการทำลายเยื่อเซลล์ภายในเยื่อบุมดลูก นอกจากนี้ยังเป็นยาต้านเชื้อรา และมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง
ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้
ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
การรับประทานถั่วแปบแบบดิบในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ เพราะถั่วแปบดิบประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่า ไซยาโนจินิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic glycosides) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นพิษ
สำหรับสตรีตั้งครรภ์ และอยู่ในช่วงให้นมบุตร : ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย เพราะถั่วแปบมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อในมดลูกอาจเกิดการแท้งบุตรได้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ถั่วแปบมีอะไรบ้าง
ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของถั่วแปบ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้เสมอ
ถั่วแปบอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วย อาจส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่รุนแรง
ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้
ปริมาณการใช้ถั่วแปบ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับช่วงอายุสุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hyacinth Bean http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1482-hyacinth%20bean.aspx?activeingredientid=1482&activeingredientname=hyacinth%20bean Accessed January 06, 2020
Hyacinth Bean https://www.emedicinehealth.com/hyacinth_bean/vitamins-supplements.htm . Accessed January 06, 2020
Hyacinth beans https://www.meandqi.com/herb-database/hyacinth-beans . Accessed January 06, 2020