สรรพคุณของน้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันถั่วเหลือง คือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลือง
สเตอรอล คือสารที่ได้จากน้ำมันถั่วเหลือง สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยลดคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกาย และใช้รักษาโรคข้ออักเสบ
เมื่อนำน้ำมันถั่วเหลืองทาบริเวณผิวหนังสามารถป้องกันยุงและแมลงต่างๆ
อีกทั้งยังใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
กลไกการออกฤทธิ์
เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันถั่วเหลืองไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี อย่างที่ทราบกันว่า น้ำมันถั่วเหลืองสามารถลดระกดับคอเลสเตอรอลโดยการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยเฉพาะกระบวนเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งของน้ำมันถั่วเหลือง ที่เรียกว่า สารที่สปอนิไฟด์ไม่ได้ อาจเป็นผลดีต่อข้อต่อกระดูก
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้น้ำมันถั่วเหลือง
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
- หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของน้ำมันถั่วเหลืองจากถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
- หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
- หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันถั่วเหลืองนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำมันถั่วเหลืองปลอดภัยหรือไม่
น้ำมันถั่วเหลือง ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในปริมาณที่สามารถพบได้ในอาหารและสามารถทาบริเวณผิวหนังเพื่อป้องกันยุงและแมลงได้ในปริมาณที่แนะนำ น้ำมันถั่วเหลืองมีความปลอดภัยในทางเภสัชกรรมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถให้ทางหลอดเลือดดำได้ กระบวนการแปรรูปน้ำมันถั่วเหลือง (ไม่ระบุปริมาณ) สามารถรับประทานติดต่อกันได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลา 6 เดือน
ข้อควรระวังและคำเตือน
ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: น้ำมันถั่วเหลืองปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในปริมาณปกติของอาหาร ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้น้ำมันถั่วเหลืองในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในปริมาณที่มากเกินในอาหาร
ผลข้างเคียง
อาการแพ้ถั่วหรือถั่วเหลือง: ผู้ที่มีอาการแพ้ถั่ว ถั่วเหลือง หรือพืชในตระกูลถั่วฟาร์เบซิเอะ ( Fabaceae ) หรือ Leguminosea อาจมีอาการแพ้น้ำมันถั่วเหลือง
จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา
น้ำมันถั่วเหลืองอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้
ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้น้ำมันถั่วเหลือง
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้
ขนาดการใช้น้ำมันถั่วเหลืองปกติอยู่ที่เท่าไร
ข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์:
สำหรับรับประทาน:
รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองในรูปแบบเนยเทียมปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 14 กรัมรูปแบบเนยเทียม
สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบ: รับประทานปริมาณ 300 มิลลิกรัมร่วมกับน้ำมันอะโวคาโด ทุกวัน
สำหรับทาบริเวณผิวหนัง:
เพื่อป้องกันยุงและแมลงกัดต่อย: ใช้น้ำมันถั่วเหลืองปริมาณ 2% เพื่อป้องกันยุงและแมลงกัดต่อย แนะนำให้ทาบริเวณผิวหนังทุกๆ 2 ชั่วโมง
ขนาดปกติของการใช้น้ำมันถั่วเหลืองอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม
น้ำมันถั่วเหลืองมีจำหน่ายในรูปแบบใด
น้ำมันถั่วเหลืองอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- แคปซูลน้ำมันถั่วเหลือง 600 มิลลิกรัม
- แคปซูลน้ำมันถั่วเหลืองกับวิตามินอี 400IU
*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***
[embed-health-tool-bmi]