backup og meta

อโวคาโด (Avocado)

สรรพคุณของอโวคาโด

โดยทั่วไปเรารับประทาผลอโวคาโด ในขณะที่น้ำมันใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง จากการศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ว่า อโวคาโดช่วยลดคลอเรสโตรรอล ทำให้ไขมันในเลือดดีขึ้น ลดอาการข้อเสื่อม ตามผลงานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ส่วนของเมล็ดช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง

อโวคาโดออกฤทธิ์ได้อย่างไร

ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอว่าอโวคาโด ออกฤทธิ์ได้อย่างไร สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร อย่างไรก็ตามมีการศึกษาพบว่า

-ผลและน้ำมันอโวคาโดมีกรดโอเลอิกสูง เป็นกรดไขมันที่บำรุงหัวใจ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในน้ำมันมะกอก

-อโวคาโดมีไฟเบอร์สูง ประมาณ 7% ของมวลรวม ซึ่งถือว่าสูงมากหากเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่น ไฟเบอร์มีความสำคัญอย่างมากในการลดน้ำหนักและระบบเผาผลาญในร่างกาย

-จากการศึกษาจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า รับประทานโวคาโดช่วยแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ เช่น ปริมาณไขมันและไขมันไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์

-จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า รับประทานผลและน้ำมันอโวคาโดช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ

-อโวคาโดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ลูทีนและซีแซนทีน สารดังกล่าวมีความสำตัญต่อสุขภาพสายตา และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจก

-จากการศึกษาจำนวนหนึ่งในการแยกเซล แสดงให้เห็นว่าสารอาหารในอโวคาโดอาจมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดของเซลบางประเภท

-จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากอโวคาโดและน้ำมันถั่วเหลือง สามารถลดอาการข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวัง

สิ่งที่ควรทราบก่อนรับประทานอโวคาโด

ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร  ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีต่อไปนี้

-กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้น ควรจะใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น

-ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ ซึ่งรวมถึงยาที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแพทย์

-แพ้ส่วนผสมของอโวคาโด ยา หรือสมุนไพรชนิดอื่น

-เจ็บป่วยด้วยโรคอื่น อาการผิดปรกติ โรคประจำตัว

-มีอาการแพ้แบบอื่น เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

แม้ข้อห้ามในการใช้ยาสมุนไพรเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน แต่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลมากกว่านี้เพื่อวินิจฉัยความปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มรับประทาน ต้องแน่ใจว่าได้ประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่ได้รับ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

อโวคาโดมีผลข้างเคียงหรือไม่

รับประทานเมล็ดและใบจำนวนมากอาจเป็นพิษ อย่างไรก็ตามมีรายงานจำนวนน้อยที่แสดงถึงพิษที่เกิดจากการรับประทานอโวคาโดในรอบ 50 ปี

อโวคาโดมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผู้ที่แพ้ ยาง กล้วย เมลอน และลูกพีช อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้อโวคาโดเช่นดียวกัน ควรระมัดระวังหากรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอโวคาโด

ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว ทั้งนี้อาจมีอาการลักษณะอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากกังวลต่อผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์

อโวคาโดทำให้เกิดปฏิกิริยาอะไรบ้าง

สมุนไพรชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยาต่อยาที่ใช้ในขณะนั้น หรือโรคประจำตัว ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอโวคาโดอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวควรปรึกษาผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพก่อนรับประทานอโวคาโดหรือยาสมุนไพร

ขนาดรับประทาน

ข้อมูลที่นำเสนอไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ ก่อนใช้ยาเสมอ

โดยปรกติแล้วอโวคาโดมีขนาดรับประทานอย่างไร

น้ำมันอโวคาโด/น้ำมันถั่วเหลือง จากการศึกษาเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ใช้ในปริมาณ 300 ถึง 600 มิลลิกรัมต่อวัน

อโวคาโดมีในรูปแบบใดบ้าง

สมุนไพรชนิดนี้มีรูปแบบดังนี้

-อาหารเสริมอโวคาโด (60) แคปซูล

Hello Health Group  ไม่ได้เผยแพร่ซึ่งคำแนะนำทางการแพทย์, ข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ หรือ การรักษา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Avocado. https://www.drugs.com/npp/avocado.html. Accessed March 9, 2017

12 Proven Health Benefits of Avocado. https://authoritynutrition.com/12-proven-benefits-of-avocado/. Accessed March 9, 2017

Avocado dietary supplement (60 capsules). https://www.avogenusa.com/Avogen_Dietary_Supplement_60_Capsules_p/avgn-supp60.htm. Accessed March 9, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา