backup og meta

พุทราจีน (Zizyphus)

สรรพคุณของพุทราจีน:

พุทราจีนเป็นไม้พุ่มหรือต้นไม้ขนาดเล็ก ผลของพุทราจีนนำมาใช้ทำยา

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและน้ำหนัก
  • ป้องกันโรคตับ และภาวะเครียดของร่างกายที่ทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารบาดเจ็บ
  • ใช้เป็นยากล่อมประสาท
  • อาการทางผิวหนัง ได้แก่ ผิวแห้ง คัน จ้ำเขียว บาดแผล และแผลเปื่อย
  • ปัญหาระบบย่อยอาหาร ได้แก่ การเบื่ออาหาร ท้องเสีย
  • ปัญหาการไหลเวียนเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง
  • ความเหนื่อยล้า
  • โรคฮิสทีเรีย
  • ไข้หวัดใหญ่
  • อาการอักเสบ
  • โรคหืด
  • โรคตาต่างๆ

พุทราจีนนำมาใช้ทำอาหารได้หลายประเภท ในอุตสาหกรรม สารสกัดจากพุทราจีนใช้ทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวต่างๆ เพื่อลดอาการแดง บวมของผิวหนัง ลดรอยเหี่ยวย่นและผิวแห้ง และยังใช้บรรเทาการไหม้แดด

กลไกการออกฤทธิ์:

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ยังมีไม่เพียงพอ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับหมอสมุนไพร หรือ แพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าพุทราจีนอาจช่วยป้องกันความเสียหายของตับและเพิ่มน้ำหนักตัว

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือ หมอสมุนไพร หาก:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในพุทราจีน หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้พุทราจีน:

ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานยังมีเพียงพอ

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สตรีตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: ข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการใช้พุทราจีนระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างการให้นมบุตรยังไม่เพียงพอ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

โรคเบาหวาน: พุทราจีนอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด สังเกตสัญญาณระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานและใช้พุทราจีนในปริมาณมากกว่าที่พบได้ในอาหาร

ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด: พุทราจีนอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด และแทรกแซงควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างและภายหลังการผ่าตัด พุทราจีนอาจทำให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานช้าลง ยาชาและยาอื่นๆที่ใช้ระหว่าการผ่าตัดมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางเช่นกัน ฤทธิ์ของทั้งสองอาจเป็นอันตราย ควรหลุดใช้พุทราจีนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง:

ข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงของพุทราจีนไม่เพียงพอ หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ปริมาณการใช้:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ปริมาณทั่วไปในการใช้พุทราจีน:

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของพุทราจีน:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้พบได้ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดจากพุทราจีนแบบแคปซูล
  • สารสกัดจากพุทราจีนแบบน้ำ
  • ทิงเจอร์จากผงพุทราจีนแห้ง

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Zizyphus http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-62-zizyphus.aspx?activeingredientid=62&activeingredientname=zizyphus Accessed August 11, 2017

Ziziphus jujuba https://examine.com/supplements/ziziphus-jujuba/ Accessed August 11, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะขามป้อม สมุนไพรที่ช่วยลดหุ่น แถมยังทำให้สุขภาพดี

พุทรา ผลไม้พื้นบ้าน กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่คุณควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา