โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ครบถ้วน
แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่เราก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของท่าน โปรดแสดงความคิดเห็นในกล่องข้อความด้านล่าง
เซนต์จอห์น เวิร์ต (John’s Wort) คือ พืชทั่วไปที่คนส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า รวมถึงอาการวิตกกังวล ความเหนื่อยหน่าย การหมดความรู้สึกอยากอาหาร และปัญหาการนอนหลับ
สามารถใช้ในการรักษาหรือโรคอื่นๆ ดังต่อไปนี้
น้ำมันที่ได้จากสมุนไพรเซนต์จอห์น เวิร์ต (John’s Wort) ยังใช้สำหรับช่วยย่อยอาหาร ในบางคนทาน้ำมันนี้ลงบนผิวหนังของพวกเขาเพื่อรักษารอยช้ำและรอยขีดข่วน การปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ ผิวหนังตกสะเก็ดและคัน(โรคสะเก็ดเงิน) บาดแผลไฟไหม้ บาดแผลสด ถอนฟัน แมลงสัตว์กัดต่อย ริดสีดวงทวาร ปวดเส้นประสาท และเพื่อรักษาโรคที่มีอาการผิวหนังจากเม็ดสีผิดปกติ
เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจกำหนดเพื่อใช้ในด้านอื่นๆโปรดสอบถามแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
มีการวิจัยพบว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตอาจช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าระดับอ่อนถึงปานกลางแต่ไม่รุนแรงหรืออาการหลัก ในการศึกษาเหมือนว่า เซนต์จอห์น เวิร์ตออกฤทธิ์เหมือนตัวยากลุ่ม (SSRIs) เป็นกลุ่มยาต้านโรคซึมเศร้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รวมถึง ฟลูโอเซทีน (Fluoxetine) ไซตาโลแพรม (Citalopram) และเซอทราไลน์ (Sertraline) นอกจากนี้ดูเหมือนว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตจะไม่ส่งผลให้หมดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการผลข้างเคียงที่พบมากที่สุดของยากลุ่มต้านโรคซึมเศร้า
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่ยังไม่สามารถระบุข้อมูลที่แน่ชัดได้ อาจมีตัวยาหรือมุนไพรชนิดอื่นที่มีปฏิกิริยาในการรักษาโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามยังคงมีการดำเนินค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง
กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ เซนต์จอห์น เวิร์ต
ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้
ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
บางการศึกษาพบว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถส่งผลต่อบุตรในครรภ์และยังส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์มีการกระสับกระส่าย
การผ่าตัด : หยุดการใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดการผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตมีอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงที่ได้จากการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตคือ:
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ได้หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับเซนต์จอห์น เวิร์ต มีอะไรบ้าง
เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจลดระดับการออกฤทธิ์ของยาเหล่านี้ในร่างกาย
เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง รวมถึง กลุ่มอาการเซเรโทนีน เมื่อรับประทานยา ดังต่อไปนี้
เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยานั้น หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้เสมอ
***ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ***
ปริมาณในการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
ขนาดของการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตดังต่อไปนี้ ได้ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคซึมเศร้าระดับอ่อนและโรคภาวะผิดปกติทางอารมณ์
ขนาดปกติของเซนต์จอห์น เวิร์ต บรรจุในแคปซูล คือ ขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทาน 3 เวลาพร้อมอาหาร และอาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 สัปดาห์ เพื่อรู้สึกถึงผลลัพธ์
สำหรับรักษาแผล
ขี้ผึ้งประกอบด้วยสารสกัด เซนต์จอห์น เวิร์ตอยู่ 5% ทาลงบนผิวหนัง 3 เวลาทุกวัน ทาขี้ผึ้งภายใน 24 ชม. และใช้ต่อเนื่องไป 16 วัน
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ขนาดปกติของเซนต์จอห์น เวิร์ต 300 มิลลิกรัม 3 เวลาทุกวัน และใช้ต่อไปถึง 8 สัปดาห์ ปราศจากข้อเท็จจริงของคุณประโยชน์ที่ได้รับ
สำหรับเด็กที่มีภาวะโรคซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงระดับปานกลาง
รับประทานเซนต์จอห์น เวิร์ต 150-300 มิลลิกรัม 3 เวลาทุกวัน และต่อเนื่องถึง 8 สัปดาห์ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-17 ปี
เซนต์จอห์น เวิร์ต อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
St. John’s wort. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/st-johns-wort. Accessed December 26, 2016.
St. John’s wort. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/st-johns-wort/dosing/hrb-20060053. Accessed December 26, 2016.
St. John’s wort. https://www.drugs.com/cdi/st-john-s-wort.html. Accessed December 26, 2016.