backup og meta

สมุนไพรลดไขมันในเลือด ประโยชน์จากการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพรลดไขมันในเลือด ประโยชน์จากการแพทย์ทางเลือก

สมุนไพรลดไขมันในเลือด ได้รับความนิยมมานานในการแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันในเลือดมารับประทานเป็นยา เช่น ขิง มะขามป้อม เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับรายชื่อสมุนไพรลดไขมันในเลือด ดังนั้น ก่อนเลือกใช้สมุนไพรชนิดใดก็ตามควร  ควรศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียให้ละเอียด รวมทั้งปรึกษาคุณหมอเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

หัวใจสำคัญของการใช้สมุนไพรลดไขมันในเลือด

สมุนไพรและเครื่องเทศหลายชนิดมีสรรพคุณในทางยาซึ่งใช้กันมาแต่สมัยโบราณ บ้างก็ใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรค บ้างก็อาจช่วยเสริมการรักษาแผนปัจจุบัน การใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายโดยไม่ต้องรอใบสั่งยาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคอาจไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป

ปัจจุบันนี้ การรักษาด้วยสมุนไพรยังไม่มีการศึกษาวิจัยหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับสรรพคุณและวิธีการใช้สมุนไพรลดไขมันในเลือด

นอกจากนั้น สมุนไพรบางอย่างอาจมีผลข้างเคียง หรือส่งผลกระทบต่อการรักษาแผนปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และปรึกษากับคุณหมอทุกครั้งก่อนตัดสินใจใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรค

สมุนไพรลดไขมันในเลือด

สมุนไพรที่อาจมีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันในเลือดนั้นมักมีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • ขิง

ขิงอาจมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์  รวมทั้งสรรพคุณในการช่วยดระดับไขมันที่ไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันส่วนดีเข้ามาทดแทน (HDL)

  • มะขามป้อม 

เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมวิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิกชั้นดี ที่นอกจากจะนำมาใช้ในอายุรเวทเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ แล้ว  มะขามป้อมยังสามารถป้องกันหลอดเลือด และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ได้อีกด้วย อีกทั้งยังบรรเทาความเสียหายจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น ด้วยการรับประทาน 1-2 ผลต่อวันเท่านั้น

  • กระเทียม

กระเทียมได้ชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน ทั้งอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลของคนเราได้ในปริมาณหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงช่วงระยะเวลาเดียว ฉะนั้น การกินอาหารเสริมกระเทียมอาจไม่ได้ช่วยสุขภาพได้มากนัก และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มีงานวิจัยบางชิ้นที่ชี้ว่า การใช้กระเทียมอาจทำให้เกิดปัญหาในบางคนที่มีภาวะสุขภาพบางอย่างก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น กระเทียมมีคุณสมบัติช่วยละลายและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้น ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด หรือผู้ที่กินยาละลายลิ่มเลือดอย่างเช่น Coumadin อยู่แล้ว จึงไม่ควรกินอาหารเสริมกระเทียมอีก

  • อึ่งคี้หรือปักคี้

การแพทย์แผนจีนใช้อึ่งคี้ ปักคี้ หรือหวงฉี (astragalus) เพื่อช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง และเชื่อกันว่าอึ่งคี้มีประสิทธิภาพในการต้านอาการอักเสบและต้านแบคทีเรีย คนเรามักใช้อึ่งคี้เพื่อช่วยในการปรับสมดุลร่างกายตามธรรมชาติ และสามารถปกป้องร่างกายจากความเครียด การศึกษาวิจัยบางชิ้นชี้ว่าอึ่งคี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ยังมีจำกัด และยังต้องมีการศึกษาในมนุษย์มากกว่านี้ จึงต้องมีการศึกษาวิจัยอีกมากกว่าที่เราจะสามารถสรุปได้ถึงผลกระทบของอึ่งคี้ต่อระดับคอเลสเตอรอลและสุขภาพหัวใจของเรา

หากมีข้อสังสัยถึง สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดไขมันในเลือดเพิ่มเติม ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญ ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และปรึกษากับคุณหมอก่อนใช้สมุนไพรทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alternative Treatments for High Cholesterol. http://www.webmd.com/cholesterol-management/guide/high_cholesterol_alternative-therapies#1. Accessed October 27, 2021.

Long-term moderately elevated LDL-cholesterol and blood pressure and risk of coronary heart disease. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0200017. Accessed October 27, 2021.

Garlic. https://www.nccih.nih.gov/health/garlic. Accessed October 27, 2021.

Investigation of the effect of ginger on the lipid levels. A double blind controlled clinical trial. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18813412/. Accessed October 27, 2021.

6 Most Effective Home Remedies For Cholesterol. https://food.ndtv.com/health/6-most-effective-home-remedies-for-cholesterol-1670512. Accessed October 27, 2021.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2021

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำมันสะเดา กับคุณประโยชน์มากมาย แห่งการบำรุงผิวพรรณ

อาหารลดคอเลสเตอรอล อะไรที่ควรต้องกิน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา