backup og meta

แฟรงกูล่า (Alder Buckthorn)

แฟรงกูล่า (Alder Buckthorn)

แฟรงกูล่า (Alder Buckthorn) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องผูก ทั้งยังมีสารที่สามารถช่วยในการต้านมะเร็งได้

ข้อบ่งใช้

แฟรงกูล่า (Alder Buckthorn) ใช้สำหรับ

แฟรงกูล่า นิยมใช้ในการรักษาสภาวะทางการแพทย์ต่อไปนี้

  • ช่วยในการขับถ่าย
  • แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยต้านมะเร็ง เนื่องจากมีสารต้านมะเร็ง

แฟรงกูล่าอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของแฟรงกูล่า

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับต้นแฟรงกูล่าไม่มากพอ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูล

อย่างไรก็ตามมีผลการศึกษาหนึ่งพบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีสารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินซี รวมถึงสารอื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย และช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ แฟรงกูล่า

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากแฟรงกูล่า หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ โดยเฉพาะ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมแฟรงกูล่า ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แฟรงกูล่าระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อสภาวะอื่น ๆ

สำหรับเด็ก

การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของต้นแฟรงกูล่าอาจไม่ปลอดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้แฟรงกูล่า

แฟรงกูล่าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  • อาการปวดบริเวณช่องท้อง
  • โรคหืด
  • ลำไส้ใหญ่มีอาการผิดปกติ
  • เซลล์เนื้อเยื่อบุผิวตาย (Epithelial cell death)
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เยื่อบุจมูกอักเสบ (Rhinitis)
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับเลือด
  • แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เนื้องอก
  • หัวใจผิดปกติ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ท้องเสีย หรือถ่ายเหลว

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

แฟรงกูล่าอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับสมุนไพรชนิดนี้ ได้แก่

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เดกซาเมทาโซน (dexamethasone) ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone)  เมทิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone)
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretic drugs) เช่น ฟูโรซีไมด์ (furosemide) ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide)
  • ยาระบาย เช่น บิซาโคดิล (bisacodyl) เซนน่า (senna)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของแฟรงกูล่า

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก

  • เปลือกแฟรงกูล่าอบแห้ง : 0.5 – 2.5 กรัม
  • ชาแฟรงกูล่า : แช่ใบชา 2 กรัม ลงในน้ำเดือด 150 มล. ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำไว้ดื่ม

สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

  • สารสกัดแฟรงกูล่า (ส่วนผสม 1:1 ในแอลกอฮอล์ 25%) : ปริมาณที่ใช้ครั้งละ 2 – 5 มล. วันละ 3 ครั้ง

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของแฟรงกูล่า

แฟรงกูล่า อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • เปลือกแฟรงกูล่าอบแห้ง
  • ชาแฟรงกูล่า
  • สารสกัดแฟรงกูล่า

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alder Buckthorn. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-850-alder%20buckthorn.aspx?activeingredientid=850&activeingredientname=alder%20buckthorn. Accessed August 11, 2020.

ALDER BUCKTHORN. https://www.rxlist.com/alder_buckthorn/supplements.htm. Accessed August 11, 2020.

Facts and Uses of Alder buckthorn. https://www.healthbenefitstimes.com/alder-buckthorn/. Accessed August 11, 2020.

ALDER BUCKTHORN (Frangula alnus). http://www.naturalherbs.ro/project/alder-buckthorn-frangula-alnus/. Accessed August 11, 2020.

ALDER BUCKTHORN. https://www.rxlist.com/alder_buckthorn/supplements.htm. Accessed August 11, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/08/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ได้จริงเหรอ

ไซเลี่ยมฮัสค์ (Psyllium Husk) ประโยชน์และข้อควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 17/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา