backup og meta

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ
โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ

โทรศัพท์กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทุกคนต้องมี และเนื่องจากทุกอย่างสามารถทำได้ในโทรศัพท์ จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดอาการติดโทรศัพท์ บางคนถึงขั้นหงุดหงิด หรือวิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัทพ์ไป มากกว่านั้นอาจกลายเป็นโรคโนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) คืออะไร?

สำหรับคำว่าโนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำศัพท์เต็มๆ ที่ว่า “no mobile phone phobia” ซึ่งเป็นคนที่ใช้อธิบายอาการของผู้ที่มีอาการทุกข์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัวที่จะต้องไม่มีโทรศัพท์มือถือ สัญญาณโทรศัพท์ รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน งาน รวมถึงความสันพันธ์ต่างๆ ได้

ผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ว่าโรคโนโมโฟเบียนี้กำลังแพร่หลายมากขึ้น จากข้อมูลการวิจัยที่เชื่อถือได้ของปี 2019 พบว่าเกือบร้อยละ 53 ของคนอังกฤษที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ตั้งแต่ปี 2008 จะใความรู้สึกกังวลเมื่อโทรศัพท์ของพวกเขาแบตเตอรี่หมด หรือไม่มีสัญญาณโทรศัพท์

ผู้ที่เป็นโนโมโฟเบีย อาจจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ที่ไม่ดี เหตุผลก็เพราะ เขากลัวที่จะถูกตัดจากการเชื่อมต่อ หรือบางคนอาจจะพลาดการเดินทางไปยังสถานที่บางแห่ง เพราะสถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ที่ไม่มีที่ให้ชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์ นอกจากนั้นแล้วบางคนยังอาจจะชอบตื่นมากลางดึกหลายๆ ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขายังมีการเชื่อมต่ออยู่หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการอัพเดตบนโซเชียลของตนเอง จนทำให้เกิดการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลร้ายตามมาก็เป็นได้

อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโนโมโฟเบีย

หลังจากทำความรู้จักกับโนโมโฟเบียกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโนโมโฟเบียอยู่หรือไม่ โดยอาการนั้นแบ่งเป็นอาการทางอารมณ์ และอาการทางกายภาพ ดังนี้

อาการทางอารมณ์

  • กังวลหรือตื่นตระหนก เมื่อคิดว่าจะไม่มีโทรศัพท์ใช้ หรือโทรศัพท์อาจใช้งานไม่ได้
  • กังวลหรือรู้สึกปั่นป่วน หากต้องวางโทรศัพท์ลง หรือรู้ว่าจะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ในชั่วขณะหนึ่ง
  • วิตกกังวลหรือตื่นตระหนก หากหาโทรศัพท์ไม่พบ
  • เกิดความเครียด หรือวิตกกังวล เมื่อไม่สามารถตรวจสอบโทรศัพท์ได้

อาการทางกายภาย

  • แน่นหน้าอก
  • การหายใจผิดปกติ
  • ตัวสั่น
  • เหงื่อออกมากขึ้น
  • รู้สึกหน้ามืด ตาลาย หรืองุนงง
  • การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น

เมื่อเป็นโนโมโฟเบียควรรักษาอย่างไร

สำหรับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดเมื่อเป็นโนโมโฟเบียก็คือ การเอาชนะความกลัวที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมากของผู้ที่เป็นโนโมโฟเบีย การพัฒนาหรือฝึกฝนการเผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตัวเองก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากนั้นแล้วการเล่นโยคะ การสร้างภาพเชิงบวก การทำสมาธิ ฟังเพลง หรือการเข้าร่วมการบำบัดกับกลุ่มบำบัด ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากช่วยบรรเทาความกลัวจากการไม่มีโทรศัพท์ได้ แต่หากมีอาการวิตกกังวลอย่างหนักร่วมด้วย อาจจะต้องมีการเข้าปรึกษากับผู้เชียวชาญ รวมถึงอาจจะต้องมีการใช้ยาคลายความวิตกกังวลร่วมด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

NOMOPHOBIA: NO MObile PHone PhoBIA. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6510111/. Accessed September 29, 2021.

Fear of Being Without a Mobile Phone Phobia – Nomophobia. https://www.fearof.net/fear-of-being-without-a-mobile-phone-phobia-nomophobia/. Accessed September 29, 2021.

What is nomophobia, and how can it be coped with?. https://ehorus.com/nomophobia/. Accessed September 29, 2021.

 

Nomophobia and lifestyle: Smartphone use and its relationship to psychopathologies.

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2451958820300257. Accessed September 29, 2021.

 

Danger of Nomophobia is growing, says expert.

https://www.aa.com.tr/en/life/danger-of-nomophobia-is-growing-says-expert/1612092. Accessed September 29, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ก้มจิ้มมือถือทั้งวันระวัง โรคเท็กซ์เน็ค ไหล่ห่อคอตก

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา