backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

บางครั้งการที่ต้องการอยู่คนเดียว เงียบๆ อาจหมายถึงคุณมีโลกส่วนตัวสูง แต่ในทางกลับกัน หากคุณเกิดความประหม่า หรือวิตกกังวลที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม ก็เป็นได้ หากยังไม่แน่ใจกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลองอ่านบทความของ Hello คุณหไมอ และสังเกตตัวเองกันดีกว่า

โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (social anxiety disorder) คืออะไร?

คนที่มีความวิตกกังวลทางสังคน อาจจะเกิดจากการกลัวความอับอายอย่างมากในสถานการณ์ทางสังคม ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและอาชีพที่ทำอยู่ โดยความวิตกกังวลทางสังคมนั้นมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ซึ่งในช่วงวัยเด็กถือเป็นช่วงหนึ่งของการพัมนาการเข้าสังคม แต่ความวิตกกังวลนี้อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั้งอายุมากขึ้น อาการกังวลต่อการเข้าสังคมและความถี่ของอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

โรคกังวลต่อการเข้าสังคม จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา เนื่องจากอาจมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน เพราะทำให้เกิดความประหม่า ความละอายใจ จนทำให้เกิดอาการเครียดเมื่อต้องอยู่ร่วมกับเพื่อน หรืออยู่ในที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่นๆ

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมมีอะไรบ้าง

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมนั้น อาจมีอาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่องานประจำวัน ชีวิตในโรงเรียน และกิจกรรมอื่นๆ

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่ากำลังเป็นศูนย์กลางหรือจุดสนใจ
  • กลัวการอยู่ในสถานการ์ที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า
  • กลัวเมื่อต้องออกไปนำเสนอวิธีการต่างๆ ต่อผู้อื่น
  • กลัวหรือละอายที่ต้องถูกล้อเลียนหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์
  • กลัวการพบปะผู้คนที่มีอำนาจ
  • วิตกกังวลอย่างรุงแรงจนถึงขั้นเสียขวัญ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว
  • ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่าง หรือผู้คุยกับผู้คน เพราะกลัวการอับอายขายหน้า
  • รู้สึกว่างเปล่าเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
  • รู้สึกกลัวที่จะต้องวิตกกังวล ซึ่งส่งผลทำให้ความวิตกกังวลแย่ลง

อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางร่างกาย

  • ใจสั่น
  • ปวดท้อง
  • หลีกเลี่ยงการสบตา
  • หน้าแดง
  • ร้องไห้
  • โกรธ เกรี้ยวกราด
  • ยึดติดกับพ่อแม่ หรือเกิดความเหงาขึ้นในเด็ก
  • มือเย็นและชื้น
  • สับสน
  • มีเสียงก้องอยู่ในหัว
  • ท้องร่วง
  • พูดคุยได้ยาก
  • เสียงสั่น
  • ปากและลำคอแห้ง
  • เหงื่อออกมากเกินไป
  • ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
  • ความเกลียดชัง
  • ตัวสั่น
  • เสียสมดุลในการเดิน
  • เดินสะดุด

สำหรับผู้ที่เป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคม มักเกิดความวิตกกังวลจนทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ตามมา

  • มีความรู้สึกไวต่อการวิจารณ์มากเกินไป
  • มีความนับถือตนเองต่ำ
  • มีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี
  • ไม่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
  • พูดในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองด้วยความคิดที่ไม่ถูกต้องและเอาชนะตนเอง

เมื่อเป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคมต้องรักษา

อันดับแรกคือการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เมื่เกิดอาการกลัวและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมที่ปกติ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความลำบากใจ กังวล หรือตื่นตระหนก การรักษาด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยาถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จิตบำบัด

เป็นการรักษาทางจิตวิทยาที่ใช้หลากหลายเทคนิค เพื่อช่วยให้มองเห็นตัวเองและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้น รวมถึงหาวิธีการเอาชนะและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตบำบัดมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การบำบัดองค์ความรู้ การบำบัดระหว่างบุคคล การบำบัดทางจิตวิทยาและครอบครัวบำบัด

การรักษาด้วยยา

ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs) เป็นยาที่พบมากที่สุดที่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีความวิตกกังวลทางสังคม ซึ่งถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนั้นยังอาจมีการจ่ายยาต่างๆ เหล่านี้ร่วมด้วย

  • พาร็อกซีทีน (Paroxetine)
  • เซอร์ทราลีน (Sertraline)
  • ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine)
  • ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)
  • แต่ยาเหล่านี้ก็อ่าจมีผลข้างเคียง ได้แก่

    สำหรับการสั่งจ่ายยานั้นแพทย์จะเริ่มจากการสั่งยาในปริมาณที่น้อยก่อน จากนั้นก็อาจจะมีการเพิ่มยาขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าอาการจะดีขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา