backup og meta

แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่ประสบกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่ นอกเหนือจากจะต้องเผชิญกับอาการต่าง ๆ ของโรคแล้ว ผู้ป่วยยังอาจจะต้องประสบกับความเครียด และความกดดันของตนเองเพิ่มเติม ดังนั้น ผู้ที่อยู่รอบข้างจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเป็นเสาหลักที่มีสภาพจิตใจเข้มแข็งกว่าผู้ป่วย เพื่อเป็นการสร้างพลังด้านบวกให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีกำลังใจมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันตัว ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ก็อาจมีสภาวะจิตใจที่แย่ลงตาม เนื่องจากต้องรับมือกับพฤติกรรมหลากหลาย ที่ไม่อาจคาดเดาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำวิธีดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เบื้องต้นมาฝากทุกคนกันค่ะ

ความเครียดของ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่อาจพบเจอ

มีการวิจัยหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยที่ประสบกับโรคเรื้อรัง ซึ่งผลสรุปออกมาว่า ผู้ดูแลเพศหญิงนั้นอาจมีแนวโน้มในวันที่ร่างกายไม่พร้อมต่อการดูแลถึง 12.7% โดยอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพ แต่ในขณะที่ผู้ดูแลเพศชายมีความไม่พร้อมทางร่างกายเพียง 11.1 % ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งสภาพความไม่พร้อมด้านจิตใจผู้ดูแลเพศหญิงมีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 16.1 % เมื่อเทียบกับเพศชายที่มีแค่เพียง 11.9 %

แต่..ไม่ว่าจะผู้ดูแลจะอยู่เพศสภาพใด ก็ล้วนจะต้องเผชิญกับความเครียดในการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วทั้งสิ้น เพราะการดูแลผู้ป่วยนั้นต้องใช้ความรับผิดชอบอย่างมาก เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าวันไหนอาการผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร ซึ่งทำให้ผู้ดูแลนั้นจำเป็นอย่างมากที่ต้องรับมือผู้ป่วยแต่ละวันได้อย่างเท่าทัน เพราะทุกครั้ง หรือทุกนาทีที่ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น กะทันหัน คือนาทีชีวิตสำคัญของผู้ป่วยเลยทีเดียว

โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ เพราะผู้ดูแลนั้นต้องมีการเข้าตรวจสุขภาพ อย่างตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ต่อเนื่อง เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยที่อาจกำเริบ พร้อมทั้งเตือนผู้ป่วยให้ทานยาตรงต่อเวลา ซึ่งตัวยาที่จะนำมาให้ผู้ป่วยแต่ละบุคคลก็มักแตกต่างกันออกไป บางรายก็อาจต้องมีการทานยาหลายชนิดด้วยกัน จึงทำให้ ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ต้องมีความรับผิดชอบ และความละเอียดอยู่สูงในการดูแล จึงนำไปสู่ความเชื่อมโยงที่อาจทำให้ผู้ดูแลประสบกับความเครียดได้

ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรดูแลสภาพจิตใจตนเองอย่างไร

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน นั้นมีสุขภาพจิตแย่ลง คุณสามารถนำวิธีดังต่อไปนี้ ไปปฏิบัติตามได้ในการจัดการตนเองเบื้องต้น

  • ทำความเข้าใจวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผลกระทบอย่างหนึ่งของโรคเบาหวานที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ดูแลนั่นก็คือการขาดความมั่นใจในตนเองในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพราะเนื่องจากการดูแลภาวะต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานประสบนั้น ค่อนข้างมีความซับซ้อน และจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทำให้แต่ละปัญหาที่ผู้ดูแลต้องเผชิญมักมาไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน

ดังนั้น ถ้าหากคุณมีการทำความเข้าใจให้มากขึ้น หรือจัดระเบียบความคิดได้มากขึ้น ก็อาจทำให้คุณค้นพบในการดูแลพวกเขาได้ในทันที โดยที่ไม่ตื่นตระหนกกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้า และพร้อมแก้ปัญหาได้อย่างทันควัน เพื่อรักษาสุขภาพของพวกเขาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยได้อีกด้วย

  • ดูแลสุขภาพของตนเองสม่ำเสมอ

ในขณะที่คุณทำหน้าที่เป็น ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือการดูแลสุขภาพตนเองร่วม เพื่อให้คุณนั้นมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ต่อไปในการทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย โดยอาจเริ่มจากการนอนหลับให้เพียงพอ

เมื่อถึงนอกเวลาปฏิบัติหน้าที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ส่งเสริมการสร้างพลังงาน และที่สำคัญควรดื่มน้ำให้มาก ๆ ในแต่ละวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายคุณเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งการปฏิบัติตามตารางแบบแผนที่คุณวางไว้อย่างเป็นประจำเช่นนี้ อาจสามารถทำให้คุณมีความเครียดที่ลดลงได้

  • มุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คุณสามารถทำได้

ผู้ดูแลมักจะรู้สึกผิดทุกครั้งที่ตนเองนั้นไม่สามารถทำทุกอย่างได้ตามที่ต้องการให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานของตนได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวถึงแม้คุณจะเป็นผู้ดูแล แต่คุณก็อาจไม่จำเป็นที่ต้องทำเองไปทั้งหมดเสียทุกอย่าง เพราะคนเราทุกคนมักมีทั้งด้านที่ถนัด และไม่ถนัดอยู่เสมอ

ดังนั้นเพื่อเป็นการลดระดับความเครียดลงอีกขั้น คุณควรจัดเป้าหมายของตนเองให้อยู่กรอบที่พอดีเท่าที่ตนเองจะสามารถช่วยเหลือผุ้ป่วยได้ อีกทั้งควรจัดลำดับความสำคัญให้ดีโดยคุณควรปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญที่สุดให้เสร็จเสียก่อน เพราะถึงแม้คุณจะอาจทำหน้าที่ได้ไม่หมดตรงตามเป้าหมาย แต่อย่างน้อยคุณก็ได้ทำในสิ่งที่ควรกระทำ และสำคัญจนเสร็จสิ้นและลุล่วงได้

  • จัดเวลาพักตนเองชั่วคราว

คุณสามารถลดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจิตจากการทำหน้าที่เป็น ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้โดยการให้เวลาตนเองหยุดพักร่างกาย และสมองเพียงชั่วคราวประมาณ 30 นาที เพราะการหยุดพักบ้างสักเล็กน้อยกรณีที่มีเวลา อาจทำให้คุณนั้นรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นพร้อมที่จะดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อได้ หรืออาจเป็นการหากิจกรรมอื่น ๆ ทำระหว่างพัก เพื่อให้ความรู้สึกเหนื่อยล้าเหล่านั้นที่คุณเก็บสะสมได้บรรเทาลง

  • คอยสังเกตอาการตนเองยามที่รู้สึกเหนื่อย

เมื่อรู้สึกตนเองนั้นเริ่มมีอาการเหนื่อยล้า หากเป็นไปได้ให้หาเวลาพัก หรือจัดการกับตนเองให้รู้สึกดีขึ้นเสียก่อน อย่าฝืนร่างกายของตนเองให้เผชิญกับความเหนื่อยล้าอยู่ซ้ำ ๆ เพราะมิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบให้คุณมีความเครียด และมีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ลงได้ อีกทั้งยังอาจทำให้คุณมีอารมณ์ที่ผิดปกติ อารมณ์เสียง่ายจนไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต เบื่ออาหาร มีปัญหาการนอนหลับ จนในที่สุดก็อาจกลายเป็นคนเก็บตัวไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่หากต้องสูญเสียบุคลากรที่ช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตามไปอีกคน

  • จัดลำดับความสำคัญในการดูแลตนเอง

เมื่อคุณมีเวลาพักที่มากพอสมควร คุณควรจัดลำดับความสำคัญในการช่วยเพิ่มพลังกาย และพลังใจก่อนที่จะกลับไปทำหน้าที่ผู้ดูแลอีกครั้ง โดยอาจทำกิจกรรมในสิ่งที่คุณชื่นชอบ หรือฝึกสมาธิเพื่อจัดการกับอารมณ์ฟื้นฟูจิตใจให้มีความสงบมากขึ้น

ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ควรขอความช่วยเหลือเมื่อใด

เนื่องจาก ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  อาจไม่สามารถทำบางอย่างเพื่อผู้ป่วยเบาหวานได้ไปเสียหมด บางครั้งจึงอาจจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ดูแลคนอื่น ๆ ร่วม เมื่อผู้ป่วยเกิดปัญหา หรือมีอาการต่าง ๆ ที่คุณอาจไม่สามารถจะดำเนินการแก้ไขได้หากอาการดังกล่าวเผยขึ้น

ดังนั้น คุณควรที่จะให้บุคคลที่เชี่ยวชาญในปัญหาต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อเร่งทำการดูแลรักษาให้ผู้ป่วยกลับมาเข้าสู่สภาวะปกติดังเดิม จะเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัย และลดความกังวลในตัวคุณไม่ให้เครียดไปกว่าเดิมได้มากที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Physical and Mental Health Effects of Family Caregiving
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2791523/
Accessed October 28, 2020

When You Care for Someone with Diabetes, You Need Care too.
https://www.endocrineweb.com/conditions/diabetes/when-you-care-someone-diabetes-you-need-care-too
Accessed October 28, 2020

Caring for the Caregiver
https://spectrum.diabetesjournals.org/content/17/1/37
Accessed October 28, 2020

4 things you can do to alleviate caregiver stress
https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/4-things-you-can-do-to-alleviate-caregiver-stress
Accessed October 28, 2020

Caregiver stress: Tips for taking care of yourself
https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/caregiver-stress/art-20044784#:~:text=Caregiving%20is%20rewarding%20but%20stressful&text=It%20is%20natural%20to%20feel,changes%20in%20their%20own%20health.
Accessed October 28, 2020

Caregiver Burnout: Prevention
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9225-caregiver-burnout/prevention
Accessed October 28, 2020

5 Self Care Tips for Caregivers
https://www.performancehealth.com/articles/5-self-care-tips-for-caregivers
Accessed October 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ อะไร

ชาสำหรับคนเป็นเบาหวาน กินแล้วดีอย่างไร แล้วชาชนิดไหนถึงจะเหมาะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา