backup og meta

งานวิจัยชี้ การแต่งงาน ไม่ได้สร้างความสุขให้ชีวิตเสมอไป

งานวิจัยชี้ การแต่งงาน ไม่ได้สร้างความสุขให้ชีวิตเสมอไป

การแต่งงาน คือหนึ่งในธรรมเนียมทางสังคมที่มีความสำคัญ และดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อชีวิต และความสุขในชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย โดยคนส่วนใหญ่มักถือว่า สถานภาพการสมรส เป็นเครื่องมือจัดระเบียบสัมพันธภาพทางเพศและสร้างพันธสัญญาร่วมกันระหว่างคู่สมรส สำหรับบางคน การแต่งงานถือเป็นจุดหมายปลายทางของเรื่องราวความรักของคนสองคน และอาจถือเป็นเครื่องชี้ความสุข ความพึงพอใจ ในการใช้ชีวิตอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว ผลที่ตามมาจากการแต่งงานนั้นจะเป็นอย่างไร สร้างความสุขให้กับชีวิตเราได้จริงหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

การแต่งงาน สร้างความสุขในชีวิตจริงหรือ

ผลจากงานวิจัยเกี่ยวกับชีวิตคนที่แต่งงานแล้วและชีวิตคนโสด พบว่าผู้ที่แต่งงานแล้วมีความพึงพอใจในชีวิตพอๆ กับการมีรายได้จำนวน 2.5 เท่าของรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย โดยผู้ที่แต่งงานแล้วจำนวน 3 ใน 10 มีความพึงพอใจในชีวิตในระดับเท่าๆ กับความพึงพอใจที่มีงานทำ สำหรับคู่ที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน พบว่ามีความพึงพอใจคล้ายคลึงกันโดยคิดเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนของผู้ที่แต่งงานแล้ว

มีการศึกษาวิจัยด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และระบาดวิทยา ถึงข้อดีของการแต่งงาน โดยนักวิจัยในสาขาดังกล่าวได้ทำการศึกษาโดยการเปรียบเทียบคนที่แต่งงานแล้วกับคนโสด และพบว่าผู้แต่งงานแล้วนั้นมักมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ยังโสด (เช่น ใช้สารเสพติดน้อยกว่า และมีอาการซึมเศร้าน้อยกว่า) และยังมีอายุที่ยืนยาวกว่าอีกด้วย ผลการวิจัยยังระบุด้วยว่า ผู้ที่แต่งงานแล้วมักมีรายได้มากกว่าคนโสด  ซึ่งนั่นอาจเป็นเพียงเพราะว่า เพศชายที่มีรายได้สูงนั้น มีแนวโน้มว่าจะมีคู่ครองและแต่งงานมากกว่านั่นเอง

การแต่งงานทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร

ประการแรก การแต่งงานสามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของคู่สมรส เช่น มีที่ให้หลบพักจากความเครียดจากบางแง่มุมของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องงาน ซึ่งการแต่งงานนั้นมีประโยชน์ในแง่การมีที่พึ่งทางใจ ไม่ต้องแบกรับปัญหาไว้เพียงคนเดียว ประการที่สอง ผู้ที่แต่งงานแล้วมักได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ยืนยาว และได้รับการสนับสนุนจากคนรัก โดยไม่ต้องทรมานกับความเหงา

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลับพบว่าระดับความสุขของคนที่แต่งงานแล้วและคนโสด มีความแตกต่างลดลง กล่าวคือ ช่องว่างของระดับความสุขระหว่างคนทั้งสองกลุ่มลดลง เนื่องจากพบว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงานนั้น มีระดับความสุขเพิ่มขึ้น และผู้ที่แต่งงานแล้วมีระดับความสุขลดลง

ปัญหาใหญ่สำหรับชีวิตแต่งงานคืออะไร

อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า การแต่งงานนั้นทำให้คนมีความสุขหรือว่าคนที่มีความสุขมักจะตัดสินใจแต่งงานมากกว่า ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งสมเหตุสมผลที่จะพบว่า คนที่ไม่เคยพอใจหรือไม่สบอารมณ์ไปเสียทุกเรื่อง ก็มักที่จะหาคู่ได้ยากกว่า คนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีความรักให้ผู้อื่นอยู่เสมอ

มีงานวิจัยหนึ่งที่ทำขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อาจมีคำตอบให้กับคำถามนี้ โดยงานวิจัยระบุว่า กรณีนี้อาจขึ้นอยู่กับคนในบางช่วงอายุ

นักจิตวิทยาบางคนอธิบายเหตุการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนสถานภาพการสมรสทำให้เกิด ความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคลเชิงอัตวิสัย (Subjunctive well-being) ในระยะสั้น ซึ่งนักวิจัยบางคนอาจถือว่า สิ่งนี้เป็นหลักฐานของการปรับตัวในชีวิตคู่ การปรับตัวในบริบทของการแต่งงานหมายถึง การที่คู่สมรสสามารถรับได้กับทั้งสิ่งที่น่าพอใจ และสิ่งที่ไม่น่าพอใจของกันและกัน หลังจากที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในความสัมพันธ์อันใกล้ชิด และผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตมาในระดับหนึ่ง

ขณะเดียวกัน มีงานวิจัยชิ้นอื่นที่ระบุว่า การแต่งงานไม่ได้ทำให้มีความสุข หรือมีความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น ยกเว้นในช่วงเวลาสั้นๆ ของการฮันนีมูนในช่วงแรกของชีวิตคู่เท่านั้นเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่าคนที่แต่งงานแล้วมีแนวโน้ม ที่จะมีความสุขในชีวิตต่ำลง ในแง่ของความพึงพอใจในชีวิตและความพึงพอใจในความสัมพันธ์

เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถระบุแบบชัดเจนได้ว่า คนที่แต่งงานแล้วจะมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่ได้แต่งงาน และไม่ได้หมายความว่า คนที่มีความสุขในชีวิตมักเลือกที่จะแต่งงาน อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าคุณจะแต่งงานหรือไม่ ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักของความสุขในชีวิตคุณ เพราะแท้จริงแล้วความสุขเริ่มต้นที่ตัวคุณเองต่างหาก

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stutzer, Alois, and Bruno S. Frey. ‘Does Marriage Make People Happy, or Do Happy People Get Married?’ SSRN Scholarly Paper. Rochester, NY: Social Science Research Network, 1 October 2005. https://papers.ssrn.com/abstract=375960.

https://www.psychologytoday.com/us/blog/living-single/201303/marriage-and-happiness-18-long-term-studies

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา