backup og meta

ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ (Teletherapy) สามารถทำได้จริงหรือ?

ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ (Teletherapy) สามารถทำได้จริงหรือ?

ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในด้านของกาารสื่อสาร ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เรานั้นสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพจิต เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่ประสบกับปัญหานี้คงไม่อยากออกที่จะพบผู้คนจำนวนมาก ให้เกิดเป็นกังวลใจเสียเท่าไหร่นัก วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีทางออกดี ๆ ในการขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ทำได้จริงมาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันค่ะ

ทำความเข้าใจการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์ กันเถอะ

การขอคำปรึกษา หรือพูดคุยกับแพทย์ผ่านทางออนไลน์ (Teletherapy) ถือว่าเป็นการบำบัดที่ค่อนข้างอำนวยความสะดวกอย่างมาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักใช้เวลาไปกับภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวันจนไม่มีเวลาว่างมากพอที่จะเขาเข้าพบกับแพทย์ในโรงพยาบาลโดยตรง

ซึ่งในการเข้าร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัดช่องทางออนไลน์ ส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบการให้คำปรึกษาทางด้านปัญหาต่าง ๆ ของสุขภาพจิต ที่ระบุไว้แยกตามประเภทหัวข้อไว้ในแอพพลิเคชั่นที่ผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีสร้างขึ้นมา อีกทั้งยังสามารถทำให้ผู้ป่วยอาจเลือกแพทย์ รวมไปถึงวัน เวลา ที่ระบุไว้ในแอพพลิเคชั่นได้ด้วยตนเองอีกด้วย

มากไปกว่านั้นบางแอพพลิเคชั่นยังให้คุณเลือกพูดคุยกับคุณหมอทั้งในแบบเสียงธรรมดา หรือแบบวีดิโอคอล เพื่อลดอาการวิตกกังวลในการพบเจอ เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอันก้าวไกลแบบใหม่ที่ตอบสนองแก่การใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างมากเลยทีเดียว

ข้อดี และข้อเสียในการ ปรึกษานักบำบัดออนไลน์

งานวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าการพูดคุย หรือขอคำแนะนำจากนักบำบัดทางออนไลน์นั้น มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการนัดพบตัวต่อตัว เพราะเปรียบเสมือนเป็นการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา ที่นักบำบัดนิยมนำมาใช้ในการสร้างความรับรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต แต่เปลี่ยนจากพูดคุยต่อหน้ามาเป็นการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์แทน ที่สำคัญเทคนิคการรักษาเช่นนี้ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่ผู้ใช้บริการทุกคนล้วนให้ความพึงพอใจเป็นอย่างมาก คือ…

  • ลดค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษา แต่อาจยังมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยที่ต้องชำระตามแต่ละแอพพลิเคชั่น หรือคุณหมอได้ระบุไว้
  • เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ผู้ป่วยในการปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญได้มากขึ้น
  • ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงพอสมควร เพราะเนื่องจากบางคนนั้นไม่สามารถที่จะเดินทาง หรือมีเวลามากพอในการเข้าไปพับปะคุณหมอในโรงพยาบาลได้โดยตรง
  • สุขภาพจิตใจ และสุขภาพกายดีขึ้น อย่างที่ทราบกันดีเนื่องจากขณะนี้มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงทำให้การที่จะออกไปข้างนอกแต่ละทีนั้นค่อนข้างได้รับความเสี่ยง จึงทำให้บางคนหันมาใช้แอพพลิเคชั่นที่สามารถพูดคุยกับคุณหมอได้มากขึ้น แม้จะอยู่ที่บ้าน หรือที่ทำงานก็ตาม

ส่วนในเรื่องของข้อเสีย อาจเป็นในเรื่องของการสื่อสารทางเทคนิคที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพ หรือถูกรบกวนจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จนทำให้นักบำบัด และผู้ป่วยนั้นสื่อสารกันอย่างยากลำบาก และอาจสื่อสารผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิมที่ต้องการจะสื่อหากันได้

ปรึกษานักบำบัดออนไลน์อย่างไร ให้ได้ข้อมูลดั่งใจ

แน่นอนว่าผู้ป่วยหรือผู้ดูแลรอบข้างบุคคลที่ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต ล้วนต้องมีคำถามในใจที่อยากปรึกษา เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นคุณควรจะมีการเตรียมความพร้อมด้วยการลิสต์คำถามที่ต้องการคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า พร้อมกับกระดาษจดคำแนะนำเอาไว้

อีกทั้งก่อนถึงเวลานัดหมายในการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ คุณควรอยู่ในสถานที่ หรือสภาพแวดล้อมที่สงบ ไร้เสียงรบกวนรอบด้าน และโปรดใช้อุปกรณ์เสริมช่วยอย่างหูฟัง พร้อมกับเช็กสัญญาณอินเทอร์เน็ตไว้ล่วงหน้าด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการติดต่อแบบขาด ๆ หาย ๆ ในระหว่างที่แพทย์ และนักบำบัดกำลังให้คำปรึกษาถึงวิธีการแก้ปัญหาแก่สุขภาพจิตใจของคุณ

ถึงแม้ว่าการปรึกษานักบำบัดออนไลน์จะให้ความสะดวกมากเพียงใด แต่หากเกิดกรณีทางสุขภาพจิตที่รุนแรงอย่างมีการทำร้ายร่างกายทั้งตนเอง และบุคคลรอบข้างขึ้น คุณควรเร่งทำการนำพาผู้ป่วยเข้ารักษาในทันที เพื่อป้องกันภัยอันตรายเบื้องต้นที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ในอนาคต และเป็นการป้องกันการสูญเสียที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Teletherapy: How it works https://www.medicalnewstoday.com/articles/teletherapy Accessed September 18, 2020

13 Benefits of Teletherapy for Therapists https://www.psychologytoday.com/us/blog/millennial-media/201901/13-benefits-teletherapy-therapists Accessed September 18, 2020

What to Expect From a Teletherapy Session https://www.verywellhealth.com/teletherapy-4691183 Accessed September 18, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพจิตดีขึ้นได้ เพียงออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา