backup og meta

ไม่มีเงินแล้วหดหู่ เรื่องเงินๆ ทองๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือเปล่า

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/06/2020

    ไม่มีเงินแล้วหดหู่ เรื่องเงินๆ ทองๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือเปล่า

    เงินทองมีปัญหา ปรึกษาใครได้บ้าง Hello คุณหมอ อาจให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินไม่ได้ แต่ช่วยบอกได้ว่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่มี ปัญหาเรื่องเงิน เนื่องจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ได้ให้ข้อมูลว่า ประมาณ 75% ของชาวอเมริกันทั้งหมด มีความเครียดหรือความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน บทความนี้จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากว่า ความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเราได้อย่างไรบ้าง

    ปัญหาเรื่องเงิน กับสุขภาพจิต

    ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง

    เรื่องเงินสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้ เช่น ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณเคยประสบเหล่านี้

    • คุณจ่ายเงินเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น
    • ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน จนทำให้ต้องหยุดทำงานหรือไม่สามารถทำงานได้ การหยุดงานจะกระทบกับรายได้ของคุณ
    • คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดคุยทางโทรศัพท์ เวลาไปธนาคาร หรือกังวลตอนเปิดอ่านจดหมาย
    • คุณรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะภาระหนี้สิน
    • คุณอาจหมดกำลังใจที่จะจัดการกับเรื่องเงิน
    • คุณกังวลเวลาที่จ่ายเงินเพื่อชำระหนี้สิน ทั้ง ๆ ที่มีเงินมากพอที่จะจ่าย แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจ
    • การจัดการกับเรื่องหนี้สิน ทำให้คุณรู้สึกเครียดและกังวลเกี่ยวกับอนาคต
    • คุณมีเงินไม่พอ ที่จะซื้อของที่จำเป็น หรือปัจจัย 4 เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือยารักษาโรค
    • ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อความสัมพันธ์ เช่น ยืมเงินจนเสียเพื่อน ซึ่งการมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตได้

    งานวิจัยชี้ มีเงินมากขึ้น อาจไม่ทำให้มีความสุขมากขึ้น

    เป็นความจริงที่ว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ และการมีเงินจะทำให้เรามีความสุข รวมถึงเราจะไม่มีความสุขแน่ ๆ เวลาที่ไม่มีเงิน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พบว่าแม้ว่าการมีรายได้ต่ำกว่า 75,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี จะทำให้มีความสุขได้ แต่เมื่อคุณมีรายได้ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 2,350,000 บาทต่อปี) หรือมีรายได้มากกว่านั้น อาจไม่ส่งผลต่อความสุขของคุณ

    แล้วเพราะเหตุใด การมีรายได้มากกว่าประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี หรือเกือบ 2 แสนบาทต่อเดือน จึงไม่ส่งผลต่อการมีความสุข ผู้วิจัยได้อธิบายไว้ว่า การมีรายได้ครอบคลุมความต้องการพื้นฐานแล้ว เช่น อาหารและที่อยู่อาศัย รวมถึงความต้องการอื่น ๆ เมื่อถึงจุดนั้นก็จะไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความสุข

    นอกจากนี้เรามักจะคิดว่า การมีรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้มีเวลามากขึ้น ซึ่งความจริงแล้วอาจตรงกันข้าม เพราะต้องทำงานหนักเพื่อให้มีรายได้มาก จึงทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อย และมีแนวโน้มว่าจะกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมถึงไม่ได้ออกกำลังกาย จนส่งผลเสียต่อสุขภาพในที่สุด จึงเป็นเหตุผลที่บางครั้งการมีเงินมากขึ้น อาจไม่ได้ทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา