backup og meta

ใครกำลังเสียเซลฟ์มาทางนี้! 5 เทคนิคดีๆ พิชิตความ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

ใครกำลังเสียเซลฟ์มาทางนี้! 5 เทคนิคดีๆ พิชิตความ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

ชีวิตคนเรานั้นเต็มไปด้วยความเหงาและความรู้สึกขาดหาย เมื่อเรานั้นไม่รู้สึกเชื่อมันในตัวเอง ความรู้สึก ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง (self-doubt) อย่างรุนแรงนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสดีๆ มากมายในชีวิต เช่น งานในฝัน สัมพันธภาพดีๆ หรือแม้แต่ความสุขของตัวเราเอง มาดูสาเหตุทางจิตวิทยาที่ทำให้คุณขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พร้อมลองเทคนิคสร้างความมั่นใจต่อไปนี้

ภาวะ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง คืออะไร

ลองนึกย้อนดูว่า กี่ครั้งแล้วที่คุณเกิดความคิดที่ยอดเยี่ยมและคุณคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ และไม่แม้แต่จะลองลงมือทำ ผลลัพธ์ก็คือ คุณเห็นคนอื่นทำมันและไประสบความสำเร็จแทนที่จะเป็นตัวคุณ

มีคนเก่งๆ มากมายที่ชีวิตและการงานของพวกเขากลับไม่ราบรื่นเพียงเพราะพวกเขาหรือรู้สึกไม่มั่นใจ หรือกล่าวได้ว่า พวกเขายังรู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง

การขาดความมั่นใจนั้นไม่ใช่คำตรงกันข้ามกับคำว่า ไม่มีความสามารถ หรือ ไม่มีศักยภาพ คนส่วนใหญ่ที่รู้สึกไม่มั่นใจในตนเองมักจะมีลักษณะดังนี้

  • ไม่มองโลกตามความเป็นจริง หรือ ไม่มีเป้าหมาย
  • กลัวความล้มเหลว
  • กลัวผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่คิด
  • ใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่นมากเกินไป
  • ไม่เคยรู้สึกพึงพอใจหรือมั่นใจกับอะไรเลยในชีวิต

เหตุใดคุณถึงรู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัวเองและจะแก้ไขได้อย่างไร

ไม่มองตัวเองตามความเป็นจริง

เพราะคุณไม่มั่นใจในตัวเอง จึงมักจะประเมินค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง รู้สึกด้อยกว่าเมื่อนำตัวเองไปเปรียบเที่ยบกับผู้อื่น จนกลายเป็นคนปิดตัว รู้สึกอ้างว้าง หรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ คุณยังรู้สึกว่าต้องการใครสักคน หรืออะไรสักอย่างเพื่อมาทำให้มีชีวิตชีววา ในยามที่คุณไม่มีใครอยู่เคียงข้าง ก็จะกลายเป็นคนเก็บตัว

คาดหวังจากคนอื่นมากเกินไป

เมื่อคุณคิดว่าคนอื่นรอบตัวคุณจะต้องแสดงพฤติกรรมอย่างที่คุณคิด นั่นแปลว่าคุณกำลังแบกความคาดหวัง ความมั่นใจและความสุขของตัวคุณเองไปทุ่มเทกับความไม่แน่นอน คนเราไม่เหมือนกันและแต่ละคนก็มีความคิดอ่านที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่มีทางที่ใครจะทำทุกอย่างที่เราคาดหวัง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักคุณ เลิกคาดหวังและเลิกวางมาตรฐานกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ จากคนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คุณคาดไว้

ไม่รู้คุณค่าของตนเอง

คนส่วนใหญ่โอดครวญถึงสิ่งที่ตัวเองไม่มีและอยากเปลี่ยนแปลงความเป็นจริง โดยไม่มองถึงสิ่งที่ตนเองมีอยู่ในมือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เมื่อคุณรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ตัวคุณมีและชื่นชมมันทุกวัน นั่นแหละเป็นเวลาที่คุณจะรู้สึกว่าความสุขเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะคุณมีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งนั้น

ไม่รู้วิธีใช้เวลา

หากคุณนั่งลงแล้วคำนวณดู จะพบว่าตัวคุณเองนั้นอาจใช้เวลาสิ้นเปลืองไปกับความคิดลบๆ มากมาย มัวแต่ไปสนใจคนอื่น นั่งดูเว็บไซด์เป็นชั่วโมงอย่างไร้จุดมุ่งหมาย การใช้เวลาไปกับเรื่องไร้สาระนั้นจะทำให้คุณรู้สึกเบื่อและเหนื่อยหน่ายไปตลอดวัน ลองทำตัวเองให้ยุ่งและทำเรื่องดีๆ มีประโยชน์ดูบ้าง แล้วตัวคุณเองก็จะค่อยๆ พัฒนาความเข้มแข็งในตนเองขึ้นมาได้

เห็นแก่ตัวมากเกินไป

การมีชีวิตเพื่อตัวเองกับความเห็นแก่ตัวนั้นเป็นคนละเรื่องกัน แต่คนส่วนใหญ่มักจะสับสนและแยกสองสิ่งนี้จากกันไม่ค่อยออก อันที่จริง ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะทำเพื่อตัวเอง แต่ก็ไม่ควรคิดมากเฉพาะแต่เรื่องตัวเอง หรือ คิดแต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเอง

ความเห็นแก่ตัวนั้นแตกต่างตรงที่ว่า คุณจะรู้สึกว่า ไม่เคยพอตลอดเวลา มักมีคำว่าไม่ดีพอเสมอ เช่น เงินนี้น้อยไปสำหรับฉัน ฉันต้องได้มากกว่านี้ นอกจากนี้ คุณจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นก็ไม่ดีสิ่งนี้ก็ไม่คู่ควร ไม่เคยรู้จักยอมแพ้และคาดหวังว่าจะได้มากอยู่เสมอ

เมื่อคุณเริ่มตระหนักว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นมาจากการให้แล้วล่ะก็ คุณจะไม่ต้องการเป็นผู้รับ หรืออยากได้อะไรจากคนอื่นอีกต่อไป

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Audrey Marlene, Self-Doubt – An Illogical Perspective, http://www.audreymarlene-lifecoach.com/self-doubt.html. Accessed on May 6, 2017.

Gilbert Ross, 7 Powerful Points to Remember When You Feel Self-Doubt, http://www.lifehack.org/406278/7-powerful-points-to-remember-when-you-feel-self-doubt. Accessed on May 6, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา