อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุและส่วนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์นี้มักกลัวอย่างมากว่าน้ำหนักจะขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคนี้จึงอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาระบาย ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เพื่อลดน้ำหนัก
โรคอะนอเร็กเซียพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มักเริ่มในกลุ่มเด็กก่อนวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพิ่มเติม
อาการของโรคอะนอร์เร็กเซียที่พบบ่อย ได้แก่
โรคอะนอเร็กเซียส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นตัวเอง มักพูดถึงแต่น้ำหนักและอาหารตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น อารมณ์เสียหรือเศร้าง่าย หรือไม่ต้องการเข้าสังคม ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการทางจิตหรือโรคทางร่างกายต่างๆ ดังนี้
และยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ควรปรึกษาแพทย์
หากคุณมีอาการหรือสัญญาณข้างต้นหรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ โรคคลั่งผอม หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เมื่อน้ำหนักของร่างกายอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป ผู้ป่วยโรคนี้มักปฏิเสธการรักษา เนื่องจากคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหา วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้คือ เป็นกำลังใจ และพยายามโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเห็นว่าตัวเองมีปัญหา และต้องการการดูแลรักษาทางการแพทย์
ยังไม่มีต้นเหตุที่แน่ชัดของโรคอะนอเร็กเซีย มีหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น อาการซึมเศร้า หรือโรคทางจิตอื่นๆ กรรมพันธุ์ และฮอร์โมน อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรค สื่อออนไลน์ต่างๆ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านความงาม ที่ต้องเป็นผู้ที่มีรูปร่างผอมเท่านั้น
โรคอะนอเร็กเซียเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ เช่น
ข้อมูลนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้แทนการปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาหมอเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติม
แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักและอาหาร) การทดสอบทางร่างกาย หรือจากผลแล็บป้องกันภาวะอื่น ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่แน่ชัดสำหรับโรคนี้ น้ำหนักที่ลดลงอย่างมากโดยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้หญิง ถือเป็นสัญญาณสำคัญของโรคนี้ แพทย์อาจซักถามดังต่อไปนี้
หากสงสัยว่าเป็นโรคอะนอเร็กเซีย แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาจประกอบด้วย
ความท้าทายที่ใหญ่สุดในการรักษาโรคอะนอเร็กเซีย คือการช่วยผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเองมีอาการป่วย ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธว่าตนเองมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ และเข้ารับการรักษาเมื่อถึงขั้นรุนแรงแล้ว การรักษาโรคนี้ประกอบไปด้วย
พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรักษาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจช่วยจัดการกับ
โรคอะนอเร็กเซีย
หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าใจและได้รับการรักษาที่เหมาะสม
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 869.
Porter, R. S., Kaplan, J. L., Homeier, B. P., & Albert, R. K. (2009). The Merck manual home health handbook. Whitehouse Station, NJ, Merck Research Laboratories. Print edition. Page 876.
Anorexia Nervosa Fact Sheet. Womenshealth.gov. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/anorexia-nervosa.html. Accessed Jul 15 2016.
Anorexia Nervosa: MedlinePlus Medical Encyclopedia. National Library of Medicine – National Institutes of Complementary, alternative, or integrative health: What’s in a name? National Center for Complementary and Alternative Medicine. http://nccam.nih.gov/health/whatiscam. Accessed Jul 15 2016.
Eating Disorders: About More Than Food. NIMH. http://www.nimh.nih.gov/health/publications/eating-disorders-new-trifold/index.shtml. Accessed Jul 15 2016.
Health. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000362.htm. Accessed Jul 15 2016.
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย