backup og meta

โรคแพนิค คือ อะไร รับมืออย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

    โรคแพนิค คือ อะไร รับมืออย่างไร

    โรคแพนิค คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้จากความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียดต่าง ๆ  โดยเฉพาะเมื่ออาการแพนิคกำเริบ จะทำอะไรไม่ถูก เหงื่อออก หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือเจอคนแปลกหน้า หรือสถานที่ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกในทางลบ

     โรคแพนิค คือ อะไร

    โรคแพนิค (Panic) คือ ความรู้สึกตื่นตระหนก ความหวาดกลัวที่มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ แต่อาจจะมีความรุนแรง เมื่อโรคแพนิคกำเริบมักจะทำให้มีอาการ ดังนี้

    • รู้สึกกลัว
    • เหงื่อออก หนาวสั่น
    • หัวใจเต้นแรง
    • ตัวสั่น เวียนหัว
    • หายใจลำบาก
    • รู้สึกปวดหัวและเจ็บที่หน้าอก

    อาการเหล่าที่แสดงออกมาเหล่านี้ เป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อรู้สึกกลัว ซึ่งสร้างความรู้สึกไม่สบายใจและทุกข์ใจเป็นอย่างมาก บางครั้งอาจไม่มีการดูแลอย่างถูกต้อง หรือผู้ที่อาการแพนิคกำเริบที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายหรือเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ได้

    วิธีรับมือ โรคแพนิค คือ 

    เมื่ออาการแพนิคกำเริบมักจะทำให้ผู้ที่อาการกำเริบรู้สึกกระวนกระวายใจ กลัว ตื่นตระหนก จนบางครั้งทำอะไรไม่ถูก สำหรับผู้ที่มีคนใกล้ตัวมีอาการแพนิคกำเริบคุณสามารถช่วยบรรเทาอาการตื่นตระหนกและช่วยทำให้เขาดีขึ้นได้ด้วยวิธีการเหล่านี้

    ช่วยให้เขาใจเย็นลง

    ส่วนใหญ่แล้วอาการแพนิคมักจะกำเริบภายในเวลา 5-10 นาที ในช่วงเวลานั้นพวกเขามักจะรู้สึกหวาดกลัว สิ่งที่คุณทำได้คือพยายามทำให้เขาใจเย็นลง โดยการพูดอย่างใจเย็น และควรใช้น้ำเสียงที่ฟังแล้วช่วยให้เขาสบายใจขึ้น ที่สำคัญต้องพูดให้เขามั่นใจว่าคุณจะยังอยู่ข้าง ๆ ไม่ไปไหนและคอยปลอบว่าเขาจะปลอดภัยดี ไม่ต้องกังวล

    พูดในเชิงบวก

    การพูดคุยกับผู้ที่มีอาการแพนิคกำเริบ ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยจากอาการแพนิคและช่วยให้เขาควบคุมการหายใจได้ดีขึ้น โดยจะต้องพูดคุยในเชิงบวก ทำให้เขาสบายใจ ไม่ตัดสิน พูดให้เขาเข้าใจว่าคุณพูดเพื่อช่วยเหลือและทำให้เขานั้นปลอดภัย

    พาออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่

    บางครั้งอาการแพนิคก็กำเริบจากสถานการณ์แย่ ๆ ที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ สิ่งแรกที่ควรทำคือพาเขาออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเครียดจนอาการกำเริบ และพาไปนั่งในที่ที่ช่วยให้รู้สึกสบายใจ หาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ อาจจะเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าออก หรือให้เขานับเลขง่าย ๆ อย่าง 1-10 เพื่อช่วยให้เขามีสมาธิมากขึ้น

    สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อคนใกล้ตัวมีอาการ โรคแพนิค กำเริบ

    เมื่อพบผู้ที่มีอาการแพนิคกำเริบ ต้องคำนึงว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดและตื่นตระหนก บางครั้งคำพูดที่พูดออกไป อาจยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงได้ เช่น ใจเย็น ๆ ไม่ต้องกังวล และ พยายามผ่อนคลาย แม้จะเป็นวลีที่ฟังดูแล้วไม่ได้แย่ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพนิคกำเริบ คำพูดเหล่านี้อาจยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงได้เช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา