เมื่อพบอาการข้างต้น ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะถ้าปล่อยไว้นาน อาการของโรคจะแย่ลง หรืออาจมีอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
- กลัวที่จะขับรถหรือออกจากบ้าน หรือกลัวสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจทำให้อาการของโรคแพนิคกำเริบ
- ไม่อยากเข้าสังคม
- เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
- อยากฆ่าตัวตาย
- ติดสุราหรือใช้สารเสพติดเกินขนาด
- ไม่สามารถใช้ชีวิตในสถานศึกษาหรือที่ทำงานได้ตามปกติ
โรคแพนิครักษาได้อย่างไร
ปกติแล้ว คุณหมอจะรักษาผู้ป่วยโรคแพนิค ด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมหรือการพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม หรือความรู้สึกต่ออาการของโรคแพนิค เพื่อลดความถี่ที่อาการอาจกำเริบได้ หรือเพื่อทำให้ผู้ป่วยตอบสนองต่ออาการในรูปแบบที่ดีขึ้นจากเดิม
ทั้งนี้ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมมักพุ่งเป้าไปที่การเผชิญหน้ากับความเชื่อหรือความกลัวที่สัมพันธ์กับโรคแพนิค
นอกจากนี้ ในการรักษาโรคแพนิค คุณหมออาจจ่ายยาต่อไปนี้ให้
- ยาคลายกังวล เช่น ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งมีฤทธิ์รักษาและป้องกันอาการของโรคแพนิค
- ยาต้านเศร้า เช่น ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ซึ่งมีคุณสมบัติลดความรุนแรงของโรคแพนิค หรือความถี่ที่อาการของโรคจะกำเริบ
- เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers) เป็นยาสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะจ่ายให้ผู้ป่วยโรคแพนิคในบางครั้งเนื่องจากมีคุณสมบัติบรรเทาอาการหัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่น และเหงื่อออกมาก
โรคแพนิค ป้องกันได้อย่างไร
ปัจจุบัน ยังไม่พบวิธีการป้องกันโรคแพนิค อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพตามคำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคแพนิคได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย