
ฮอร์โมนเพศชายต่ำ คืออาการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนได้มากเพียงพอ หรือมีความสามารถในการผลิตอสุจิได้ต่ำ หรือทั้งสองอาการ
คำจำกัดความ
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำคืออะไร
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Male Hypogonadism) คืออาการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน (testosterone) ได้มากเพียงพอ ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการเติบโตและพัฒนาของเพศชาย ขณะที่อยู่ในวัยรุ่น หรือมีความสามารถในการผลิตอสุจิได้ต่ำ หรือทั้งสองอาการ
คุณอาจเกิดมาพร้อมกับภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรืออาจมีอาการนี้เกิดขึ้นในภายหลัง มักเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ ผลกระทบและสิ่งที่คุณสามารถทำได้นั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำนั้นเกิดขึ้นในช่วงไหนของชีวิต ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดทดแทนฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำพบได้บ่อยได้แค่ไหน
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกช่วงอายุ แต่อาการฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนต่ำนั้นมักจะพบมากในผู้ชายสูงอายุ มากกว่า 60% ของผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปีนั้น มีปริมาณของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน ต่ำกว่าระดับปกติของผู้ชายที่อายุ 30 ถึง 35 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์
อาการ
อาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำเป็นอย่างไร
การขาดฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนสามารถทำให้เกิดอาการได้มากมาย ขึ้นอยู่กับ
- อายุขณะที่มีอาการ
- ระดับของการขาดฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน
- อาการเกิดขึ้นมานานเท่าไหร่แล้ว
วัยรุ่นและผู้ใหญ่ช่วงต้นที่ยังไม่แตกหนุ่มอย่างเต็มตัว จะดูเด็กกว่าอายุจริง
อาจจะมีองคชาตขนาดเล็ก มีหนวดน้อย เสียงไม่แตกหนุ่ม และสร้างมวลกล้ามเนื้อได้ยาก แม้จะออกกำลังกาย
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำกับผู้ที่เริ่มแตกหนุ่มอาจนำไปสู่
- การพัฒนาทางเพศไม่สมบูรณ์
- ขนาดของอัณฑะลดลง
- หน้าอกใหญ่
อาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำกับผู้เริ่มเป็นผู้ใหญ่มีดังนี้
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- ปริมาณของอสุจิต่ำ
- อารมณ์หดหู่
- ความต้องการทางเพศลดลง
- เซื่องซึม
- การนอนหลับผิดปกติ
- มวลกล้ามเนื้อและพละกำลังลดลง
- ขนร่วง (ที่ลับ รักแร้ และใบหน้า)
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกลดลง
- มีไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น
- รู้สึกไม่สบายที่หน้าอกและหน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
- ร้อนวูบวาบ
- เหงื่อออก
- ไม่มีสมาธิและพลังกายลดลง
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อไร
ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำหมายถึงผลของการตรวจสมรรถหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างหลักนี้ลดลง การผลิตอสุจิ และการผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลมากมาย
สำหรับภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำแบบปฐมภูมิ อัณฑะจะไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นฮอร์โมน อาจเกิดได้จากโรคประจำตัว เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome) หรือเป็นผลมาจากการทำฉายรังสีบำบัด เคมีบำบัด เนื้องอก หรือการบาดเจ็บที่อัณฑะ
สำหรับภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำแบบทุติยภูมิ สภาวะของโรคส่งผลกระทบต่อไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หรือต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ต่อมหลักที่ปล่อยฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นอัณฑะและผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน
สิ่งที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำทุติยภูมิมีดังนี้
- ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
- โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน (Systemic illness)
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงจากยา
- ตับแข็ง
- สารพิษ (แอลกอฮอล์และโลหะหนัก)
- โรคอ้วน
ใบบางครั้งคำว่าผู้ชายวัยทอง (Andropause) อาจใช้เพื่ออธิบายถึงการลดลงของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน ว่าเป็นขั้นปกติของอายุที่เพิ่มขึ้น ระดับของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนในผู้ชาย จะเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 17 ปี หลังจากนั้นในช่วงอายุประมาณ 40 ปี จะเริ่มลดลง 1.2-2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำมีมากมาย เช่น
- กลุ่มอาการคาลล์แมน (Kallmann Syndrome)
- อัณฑะอ่อนแอขณะเป็นทารก
- การติดเชื้อคางทูมที่มีผลต่ออัณฑะ
- การบาดเจ็บที่อัณฑะ
- เนื้องอกที่อัณฑะหรือต่อมใต้สมอง
- เอชไอวี/เอดส์
- กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
- ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis)
- เคยทำเคมีบำบัดหรือฉายรังสีบำบัดมาก่อน
- โรคหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ที่ไม่ได้รับการรักษา
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำนั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคนในครอบครัวมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ โปรดแจ้งแพทย์ในทันที
การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการบันทึกว่า พัฒนาการทางเพศของคุณ เช่น ขนในที่ลับ มวลกล้ามเนื้อ และขนาดของอัณฑะ เหมาะสมกับอายุของคุณหรือไม่ แพทย์อาจต้องตรวจเลือด เพื่อดูระดับของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนว่า คุณมีสัญญาณหรืออาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำหรือไม่
การตรวจพบโรคได้เร็วสำหรับเด็กผู้ชายจะช่วยป้องกันปัญหาจากการแตกหนุ่มช้า การตรวจพบโรคและรักษาโรคได้เร็วสำหรับผู้ชาย จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น
แพทย์จะวินิจฉัยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ โดยขึ้นอยู่กับอาการและผลตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนนั้นมักจะสูงมากในช่วงเช้า การตรวจเลือดจึงมักทำในช่วงเช้า ก่อน 10 โมงเช้า
หากผลตรวจยืนยันว่า คุณมีระดับของฮอร์โมนเพศชายเเทสทอสเทอโรนต่ำ จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อบ่งชี้ว่า เป็นสาเหตุจากอาการผิดปกติของอัณฑะหรือต่อมใต้สมอง โดยมีพื้นฐานที่สัญญาณและอาการของโรค มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อชี้เฉพาะสาเหตุดังนี้
- การตรวจฮอร์โมน
- การวิเคราะห์อสุจิ
- การฉายภาพของต่อมใต้สมอง
- การศึกษากรรมพันธุ์
- การตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างจากอัณฑะเพื่อไปตรวจ
การตรวจฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนนั้น มีบทบาทสำคัญในการจัดการกับภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ เนื่องจากช่วยให้แพทย์สามารถบ่งชี้ขนาดยา และยาที่ถูกต้อง ทั้งในระยะเริ่มต้นและเมื่อเวลาผ่านไป
การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
การบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน (Testosterone replacement therapy) ป็นการรักษาที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
โดยปกติแล้วจะให้เป็นยาเจลใช้เฉพาะที่ แผ่นแปะยาที่ผิวหนัง หรือโดยการฉีดยา ไม่มีการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการท้องไส้ปั่นป่วน
การบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน สามารถช่วยกำจัดสัญญาณและอาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำได้มากมาย หรืออาจจะทั้งหม
ข้อดีมีดังนี้คือ
- มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น
- ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
- เพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก
- เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม
อย่างไรก็ตาม อาจจะมีความเสี่ยงบางประการเกี่ยวข้องกับวิธีการนี้
วิธีการนี้อาจทำให้โรคต่อมลูกหมากโตแย่ลงไปมากกว่าเดิม เร่งความเร็วของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีอยู่ก่อนแล้ว และทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับ และโรคหัวใจวายแย่ลง ไม่ควรเริ่มการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนโดยไม่สนใจอาการเหล่านี้เสียก่อน
ผู้ชายทุกคนที่ทำการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนนั้น จำเป็นต้องมีการประเมินทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจหาการตอบสนองที่เพียงพอต่อการรักษา ได้แก่การตรวจเลือดเป็นประจำ และการตรวจทางทวารหนักเป็นครั้งคราว
ห้ามทำการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรน ในผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (erythrocytosis) อาการที่เกี่ยวข้องกับเปอร์เซ็นต์ของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดสูง
การตอบสนองต่อการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนนั้น แตกต่างกันไป และระดับของฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าใครจะตอบสนองต่อการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนหรือไม่ นอกจากนี้มันยังไม่มีประโยชน์ เพราะกการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสทอสเทอโรนนั้น สามารถบรรเทาอาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำได้ แต่ไม่สามารถฟื้นฟูความเจริญพันธุ์ให้กลับมาดังเดิมได้
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ
ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจจะช่วยรับมืออาการของคุณได้
- ลดน้ำหนัก
- ออกกำลังกาย
- จัดการกับความเครียด
- นอนหลับให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เลิกบุหรี่
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด