backup og meta

การผ่าตัดใส่ รากฟันเทียม มีข้อดี และความเสี่ยง อย่างไร

การผ่าตัดใส่ รากฟันเทียม มีข้อดี และความเสี่ยง อย่างไร

หากคุณเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพภายในช่องปาก จนยากเกินกว่าจะรักษาให้หายได้ด้วยเทคนิคเบื้องต้น เช่น ปัญหาฟันผุรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไข คุณก็อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อมาทดแทน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงอยากมานำเสนอความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ การผ่าตัดใส่ รากฟันเทียม ที่อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งในการรักษาฟัน ที่จะช่วยฟื้นฟูให้ฟันคุณกลับแข็งแรง และใช้งานได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง มาฝากทุกกันค่ะ

การผ่าตัดใส่ รากฟันเทียม คืออะไร

การผ่าตัดใส่รากฟันเทียม (Dental Implants) คือ การนำวัสดุที่ทำจากโลหะเป็นเกลียว ใส่แทนที่รากฟันของคุณที่หายไป พร้อมทั้งใส่ฟันเทียมด้วยขนาดที่พอดีปิดท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับฟันจริงมากที่สุด และสามารถใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารจริง เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคที่ทันตแพทย์มักนิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา สำหรับผู้ที่มีปัญหารากฟันซี่สำคัญหายไปทั้งราก ไม่ว่าจะเกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่กระทบในบริเวณช่องปาก หรือการอักเสบจนทำให้ต้องถอนฟันออกทั้งราก

นอกจากนี้ ก่อนการการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์ยังจำเป็นต้องพิจารณาความแข็งแรงของกระดูกในช่องปากร่วมด้วย เนื่องจากกระบวนการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมเป็นการผ่าตัดฝังโลหะลงในกระดูกบริเวณเหงือก หากผู้ป่วยมีกระดูกอ่อนแอ ไม่สามารถทนรับต่อแรงเจาะหรือรากฟันเทียมได้ ก็อาจต้องมีขั้นตอนการปลูกถ่ายกระดูกในส่วนที่เหมาะสมของร่างกายเข้าไปมาเสริม เพื่อให้การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมนั้นผ่านไปได้ด้วยดี และพ้นจากความเสี่ยงที่อาจแทรกซ้อนขึ้นในระยะยาว

ข้อดีของการผ่าตัดใส่ รากฟันเทียม

  • ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพ

รากฟันและฟันที่สูญเสียไปของคุณ อาจส่งผลให้ขาดความมั่นใจที่จะเผยรอยยิ้มออกมายามเจอผู้คนมากมาย ดังนั้นการแก้ไขด้วยการใส่รากฟันเทียม หรือฟันปลอม อาจเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้คุณได้อีกครั้ง โดยไม่ต้องหลบหน้า หรืองดการพูดคุยกับเพื่อนร่วมสังคมอีกต่อไป

  • เสริมสุขภาพในช่องปาก

การใส่รากฟันเทียมแทนที่ช่องโหว่ของฟันที่หายไป อาจช่วยให้ความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารทำได้ดีขึ้น โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องทำการถอนฟันแท้ที่ซี่ใกล้เคียงออกไปเพิ่ม รากฟันเทียมนั้นยังมีความทนทานสูง และมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี หรืออาจคงอยู่ได้ตลอดชีพ หากคุณดูแลได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

  • สร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้

เนื่องจากรากฟันเทียมเป็นฟันปลอมที่ทางทันตแพทย์เสริมเข้าไป ทำให้สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาด ขจัดสิ่งสกปรกโดยรอบที่ตกค้างตามซอกฟัน และยังใส่กลับเข้าที่เดิมได้อย่างง่ายดาย แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรถอดออกมาเพียงแค่ในส่วนของฟันปลอมเท่านั้น  ส่วนรากฟันที่เป็นโลหะเจาะลึกบริเวณเหงือกนั้นไม่ควรถอดออกมา เพราะ การผ่าตัดใส่รากฟันเทียม จะฝังตัวติดแน่นอยู่กับกระดูกกราม การพยายามแกะออกมาอาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การหลังผ่าตัดใส่รากฟันเทียม

แน่นอนว่าทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อนตามมาอยู่เสมอ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจรับการรักษาด้วยเทคนิคนี้ ควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียของการใส่รากฟันเทียมให้ดี เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมขอคำแนะนำเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมที่มีใบประกอบวิชาชีพที่น่าเชื่อถือเสียก่อน ที่สำคัญ อย่าลืมปฏิบัติตามคำนแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหลังจากทำการใส่รากฟันเทียม เพราะหากดูแลได้ไม่ดี อาจส่งผลให้คุณเกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเส้นประสาทโดยรอบเกิดความเสียหายได้หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการใส่รากฟันเทียมนั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dental Implants https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-implants#1 Accessed January 24, 2021

Dental Implants Procedure, Types, Problems, and Cost https://www.medicinenet.com/dental_implants/article.htm Accessed January 24, 2021

Dental Implant Procedure: Everything You Need to Know https://www.verywellhealth.com/what-to-expect-during-a-dental-implant-procedure-1059372 Accessed January 24, 2021

Dental implant surgery https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/dental-implant-surgery/about/pac-20384622 Accessed January 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเลือดออกตามไรฟัน รับมือกับอาการอย่างไรดี

ขูดหินปูน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา