- อาการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของขากรรไกร
- ข้อต่อขากรรไกรได้รับบาดเจ็บ
- ข้อต่อขากรรไกรขยับมากเกินไป
- หมอนรองกระดูกขากรรไกรเคลื่อนที่
ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจมาจากการนอนกัดฟัน การขบกรามเวลาโมโห เครียด หรือตื่นเต้น การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกรจากการเล่นกีฬา เป็นต้น
โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches) หรือโรคปวดศีรษะแบบชุด ๆ มักทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังตาและเบ้าตา ซึ่งบางครั้ง อาการปวดอาจลามมาที่บริเวณกรามหรือขากรรไกรได้เช่นกัน
อาการปวดฟัน
บางครั้ง อาการติดเชื้อที่ฟันอย่างรุนแรง ที่เรียกว่าฝีหนองที่รากฟัน ก็อาจทำให้มีอาการปวดลามไปถึงบริเวณขากรรไกรได้เช่นกัน
โรคไซนัสอักเสบ
ไซนัส (Sinus) คือช่องว่างหรือโพรงอากาศที่อยู่ในกะโหลกศีรษะใกล้ข้อต่อขากรรไกร หากไซนัสติดเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย จนเกิดการอักเสบ ก็อาจทำให้มีน้ำมูกมากขึ้นจนไปเพิ่มแรงกดทับที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร และทำให้ปวดกราม หรือปวดขากรรไกรได้
ภาวะหัวใจวาย
ภาวะหัวใจวายอาจทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอื่นนอกเหนือจากทรวงอกได้ เช่น ที่หลัง ที่แขน ที่คอ รวมถึงที่ขากรรไกรด้วย ภาวะหัวใจวายถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ทันทีที่เกิดอาการ ฉะนั้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเรียกรถฉุกเฉินโดยด่วน
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดกราม
ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดกราม อาจมีดังนี้
- การเคี้ยวของแข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว อาจทำให้ฟันแตก และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในช่องปากได้
- การไม่ดูแลรักษาสุขภาพฟัน เช่น ไม่ยอมแปรงฟัน ไม่ใช้ไหมขัดฟัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กราม ทำให้เกิดอาการปวดกราม
- การมีน้ำหนักเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดกรามได้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย