backup og meta

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ

อาการฟันผุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แบคทีเรียในช่องปาก หรือการทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี หลายคนรู้จักอาการฟันผุตั้งแต่เด็กๆ  แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังคงเข้าใจผิดในเรื่องบางเรื่อง เกี่ยวกับอาการฟันผุอยู่ บทความนี้จึงชวนมาเช็คดูว่าคุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ อยู่หรือเปล่า

ความเข้าใจผิดที่ 1

ถ้าไม่ปวดฟัน แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร

ในกรณีที่คุณไม่มีอาการปวดฟัน อาจไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากเมื่อถึงเวลาที่คุณรู้สึกปวดฟัน นั่นหมายความว่าเส้นประสาทบริเวณฟัน ได้รับผลกระทบแล้ว จึงอาจสายเกินไปที่จะรักษาฟัน ดังนั้นการไปตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรรอให้ปวดฟันก่อนแล้วค่อยไปหาทันตแพทย์ เพราะอาการฟันผุอาจไม่ทำให้คุณรู้สึกปวดฟัน จนกระทั่งอาการรุนแรงแล้ว

ความเข้าใจผิดที่ 2

กินน้ำตาลมาก คงไม่ถึงขั้นทำให้ฟันผุหรอก

ความจริงแล้ว น้ำตาลสามารถเป็นต้นเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ และบางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากน้ำตาลโดยตรง เนื่องจากน้ำตาลในอาหาร เช่น ลูกอม ขนมปัง ถั่ว ผลไม้ มันฝรั่ง และอาหารอื่นๆ จะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปาก ทำให้เกิดกรดที่สามารถทำลายผิวเคลือบฟันได้ ดังนั้นจึงควรลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำ รวมถึงควรใช้ไหมขัดฟันเพื่อดูแลฟันด้วย

ความเข้าใจผิดที่ 3

น้ำอัดลม 0 แคลอรี่ไม่ทำให้ฟันผุ

ไม่ใช่แค่น้ำตาลเพียงอย่างเดียวที่อาจทำให้ฟันผุ แต่อาหารทุกประเภทที่ทำให้เกิดกรดที่มาจากแบคทีเรียในช่องปาก ต่างก็สามารถเป็นต้นเหตุของอาการฟันผุได้ทั้งสิ้น รวมถึงน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วย ดังนั้นจึงควรบริโภคในปริมาณที่พอดี เพื่อป้องกันอาการฟันผุ

ความเข้าใจผิดที่ 4

ฟันผุไม่เป็นไร เพราะรักษาให้ฟันกลับมามีสภาพดังเดิมได้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เคลือบฟัน (enamel) บนผิวฟันสามารถกลับคืนมาได้ ด้วยการกลับคืนแร่ธาตุบางส่วน ซึ่งสามารถช่วยชะลอหรือป้องกันฟันผุ แต่ถ้าผิวเคลือบฟันถูกทำลายแล้ว อาการฟันผุก็จะไม่หายไป และจะไม่สามารถรักษาให้ฟันกลับมามีสภาพดังเดิมได้ การป้องกันฟันผุจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ความเข้าใจผิดที่ 5

อุดฟันแล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะฟันผุอีกแล้ว

หลังจากที่อุดฟัน คุณสามารถฟันผุได้อีก และไม่เพียงแค่บริเวณที่อุดฟันจะสลายไป แต่ฟันบริเวณรอบๆ ก็สามารถเกิดอาการฟันผุได้เช่นกัน เนื่องจากไม่มีอะไรถาวร จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีเพื่อป้องกันอาการฟันผุ และไม่ควรละเลยสุขภาพช่องปากหลังจากการอุดฟัน

ความเข้าใจผิดที่ 6

ฟันผุเป็นอาการที่เกิดขึ้นในเด็กเท่านั้น

ตอนเด็กๆ หลายคนฟันผุ เพราะกินลูกอมและของหวานมาก และหลายคนเข้าใจว่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่คงเสี่ยงที่จะฟันผุน้อยกว่าเด็กๆ เพราะผู้ใหญ่ดูแลสุขภาพช่องปากมากกว่า แต่ความจริงแล้วไม่เสมอไป เนื่องจากผู้ใหญ่ก็สามารถฟันผุได้เช่นกัน

โดยสาเหตุที่ทำให้ฟันผุ อาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน การไม่ดูแลสุขภาพช่องปาก หรือการกินยาที่ทำให้เกิดอาการปากแห้ง ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดของช่องปาก และพบทันตแพทย์เป็นประจำ

ความเข้าใจผิดที่ 7

ยาแก้ปวดช่วยรักษา อาการฟันผุ ได้

หลายคนเชื่อว่ายาบรรเทาอาการปวดสามารถรักษาอาการฟันผุได้ ความจริงแล้วถ้าคุณมีอาการปวดฟันเนื่องจากฟันผุ ควรไปพบทันตแพทย์ เพราะการกินยาบรรเทาปวด เพียงแค่ทำให้หายปวดแค่ชั่วคราว แม้ว่าจะหายปวดฟันแต่ต้นตอของปัญหายังไม่หายไป จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Myths and Facts About Cavities. https://www.webmd.com/oral-health/features/cavities-myths#1. Accessed on April 9 2019.

Cavities/tooth decay. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cavities/symptoms-causes/syc-20352892. Accessed on April 9 2019.

4 Myths About Oral Health and Aging. https://medlineplus.gov/magazine/issues/summer16/articles/summer16pg15-16.html. Accessed on April 9 2019.

6 Myths About Tooth Cavities. https://www.healthgrades.com/conditions/6-myths-about-tooth-cavities. Accessed on April 9 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/06/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เสียวฟัน ทำยังไงดี สาเหตุและการป้องกัน

โรคหัวใจ ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงจาก โรคฟันผุ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 16/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา