ปัญหาสุขภาพฟัน

ฟันเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องการดูแลอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องประสบกับ ปัญหาสุขภาพฟัน เช่น ปวดฟัน ฟันผุ ฟันคุด หรือฟันบิ่น เป็นต้น นอกจากปัญหาเหล่านี้ ยังอาจจะมีปัญหาสุขภาพฟันอื่น ๆ ที่คุณยังไม่เคยรู้ ดังนั้น มาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพฟัน ที่นี่ กันเถอะ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพฟัน

หินปูน คืออะไร สาเหตุ และวิธีป้องกัน

หินปูน หรือคราบหินปูน เป็นคราบจุลินทรีย์สะสมที่เกาะอยู่ตามซอกฟัน ซอกเหงือกและขอบฟัน มีลักษณะเป็นสีเหลืองไปจนถึงสีดำ คราบจุลินทรีย์ที่ฟันในระยะแรกจะมีลักษณะนิ่ม ถแปรงออกได้ แต่ถ้าหากปล่อยไว้ หินปูนอาจแข็งและหนาจนแปรงไม่ออก และอาจส่งผลให้มีกลิ่นปาก ฟันผุ และเกิดโรคเหงือกตามมาได้  หินปูน คืออะไร  หินปูน หรือคราบหินปูน คือ คราบพลัคหรือคราบจุลินทรีย์ที่มีลักษณะแข็งเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำมักพบบริเวณซอกเหงือก ซอกฟัน และขอบฟัน หากเป็นหินปูนที่เกิดไม่นาน อาจแปรงออกได้ แต่หากปล่อยให้หินปูนสะสมนาน อาจทำให้หินปูนกลายเป็นก้อนแข็งจนแปรงออกเองไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์เท่านั้น   สาเหตุของการเกิดหินปูน หินปูนอาจเกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เช่น เชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่ทำปฏิกิริยากับโปรตีนหรือเศษอาหารที่ติดค้างตามซอกฟัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตและผลิตกรดมาทำลายผิวเคลือบฟันจนอาจส่งผลให้ฟันผุและก่อให้เกิดหินปูน นอกจากนี้ การแปรงฟันผิดวิธี การสูบบุหรี่ที่มีสารนิโคติน การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหินปูนสะสมได้  วิธีกำจัดหินปูน  สามารถขจัดหินปูนได้ด้วยการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ การสั่นและความเร็วของเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าจะช่วยกระเทาะหินปูนออกจากผิวฟัน โดยไม่ได้สัมผัสกับผิวฟันโดยตรง จึงไม่มีผลต่อเนื้อฟัน ไม่ทำให้ฟันบางหรือสึกลง ในกรณีที่มีหินปูนน้อย ทันตแพทย์จะไม่ฉีดยาชาให้ก่อนขูดหินปูน แต่หากมีคราบหินปูนสะสมมากอาจต้องฉีดยาชาก่อนเนื่องจากอาจมีอาการเจ็บ เสียวฟัน หรือเลือดออกมากขณะขูดหินปูนได้ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหินปูน  การป้องกันการเกิดคราบหินปูนสะสมอาจทำได้ด้วยวิธีดังนี้ แปรงฟันให้ถูกวิธี ควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน โดยถือแปรงสีฟันทำมุม 45 องศากับเหงือก ค่อย ๆ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพฟัน

ปัญหาสุขภาพฟัน

พฤติกรรมเสี่ยงคุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า รู้ไว้ ป้องกันฟันกร่อน ได้

อาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภค ล้วนส่งผลต่อสุขภาพฟันของคุณทั้งนั้น นอกจากอาหารและเครื่องดื่มแล้วพฤติกรรมบางประการก็ยังส่งผลต่อสุขภาพฟันได้เช่นกัน ในแต่ละวันคุณดูแลสุขภาพฟันของตัวเองดีแค่ไหน พฤติกรรมบางอย่าง ที่คุณทำอยู่ส่งผลต่อสุขภาพฟันหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมพฤติกรรมแย่ๆ ที่ทำร้ายฟัน ส่งผลให้ ฟันกร่อน มาฝากกัน ใครอ่านแล้วกำลังมีพฤติกรรมแบบไหนอยู่ อย่าลืมเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ป้องกันฟันกร่อน กันนะคะ ฟันกร่อนคืออะไร ผิวเคลือบฟัน เป็นชั้นบางๆ โปร่งแสง ที่เคลือบอยู่ด้านนอกของฟัน แต่ส่วนประกอบหลักที่มีผลต่อสีของฟันคือ เนื้อฟัน ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีขาวนวล สีเทา หรือสีเหลือง  ซึ่งผิวเคลือบฟันนี้เป็นเปลือกที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ และบางครั้ง ชา กาแฟ น้ำผลไม้ และการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อผิวเคลือบฟัน ซึ่งผิวเคลือบฟันช่วยป้องกันฟันของคุณจากการเคี้ยว กัด และบด แม้ว่า ผิวเคลือบฟันจะเป็นตัวป้องกันฟันที่แข็ง แต่ก็สามารถหักและแตกได้ นอกจากนี้ผิวเคลือบฟันยังป้องกันฟันจากอุณหภูมิและเคมีต่างๆ อีกด้วย เมื่อผิวเคลือบฟันถูกทำลาย ทำให้ผิวเคลือบฟันที่อยู่ด้านนอกหลุดออกไป เมื่อไม่มีชั้นป้องกัน ชั้นฟันก็ถูกลำลาย ก็ส่งผลต่อสุขภาพฟัน และอาจทำให้ฟันกร่อน สึกและเกิดเป็นหลุมได้ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ฟันกร่อน กรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อน เป็นอาการที่กรดในกระหลังออกมาหลังจากกินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหารเข้าไปในปริมาณที่มาก ในบางครั้งกรดไหลย้อน ตีขึ้นมาจนถึงช่องปาก อาจส่งผลให้ฟันกร่อนได้ โดยเฉพาะฟันกรามล่างที่อยู่ใกล้กับลำคออาจมีอาการกร่อนมากกว่าฟันซี่อื่นๆ พฤติกรรมที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้เช่น […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

เสียวฟัน ทำยังไงดี สาเหตุและการป้องกัน

เสียวฟัน เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์สำหรับใครหลายคน ที่อาจทำให้รู้สึกรำคาญ กวนใจ เนื่องจากอาการเสียวฟันอาจทำให้รู้สึกเจ็บแปลบๆ เวลารับประทานของร้อน หรือของเย็น เช่น กาแฟ ชา ไอศกรีม ซึ่งปัจจัยของการเสียวฟันอาจมีหลายสาเหตุ เช่น การแปรงฟันที่ผิดวิธี พฤติกรรมการกิน ทำให้เหงือกร่น เนื้อฟันสึก หรือบางลงแล้วอาจเกิดปัญหาการเสียวฟัน แม้การเสียวฟันอาจมีอาการไม่ร้ายแรง แต่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ซึ่งควรหาสาเหตุและรับการรักษา เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น สาเหตุของการเสียวฟัน  พฤติกรรมการแปรงฟัน บางครั้งอาการเสียวฟันอาจเป็นผลมาจากการแปรงฟันที่ผิดวิธี เช่น แปรงฟันแรงเกินไป รวมถึงการใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง ทำให้เคลือบฟัน และเนื้อฟันอาจเกิดการสึกกร่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้รู้สึกเสียวฟัน  วิธีแก้ปัญหา อาจเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 เดือน เนื่องจากแปรงสีฟันอาจบาน แล้วทำให้การขจัดคราบพลัคลดลง รวมถึงเปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มแทน ซึ่งควรแปรงฟันให้ทั่ว โดยฟันบน ปัดลงล่าง ฟันล่างปัดขึ้นบน ไม่ควรแปรงฟันไปในทางซ้ายขวา เพราะอาจทำให้เหงือกร่น และคอฟันสึก  การใช้ยาสีฟันสูตรไวท์เทนนิ่ง ยาสีฟันที่ช่วยฟอกฟันให้ขาว หรือที่เรียกว่ายาสีฟันไวท์เทนนิ่ง อาจส่งผลต่อสุขภาพฟันได้ เนื่องจากยาสีฟันที่เป็นสูตรไวท์เทนนิ่งมีสารขัดฟันขาวในยาสีฟันปริมาณที่สูง เพื่อทำให้ฟันขาวมากขึ้น แต่สารนี้อาจไปทำลายเคลือบที่ปกป้องฟัน ทำให้เคลือบบางลง หรือเกิดการกัดกร่อนของผิวฟันให้บางลง ซึ่งอาจทำให้เสียวฟันได้ หากใช้เป็นประจำ หรือใช้มาเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ใช้ควรดูยาสีฟันที่เหมาะกับตนเอง และปลอดภัยต่อสุขภาพฟัน  การกินอาหารที่มีกรด  การรับประทานอาหารที่มีกรด เช่น มะนาว […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ

อาการฟันผุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แบคทีเรียในช่องปาก หรือการทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี หลายคนรู้จักอาการฟันผุตั้งแต่เด็กๆ  แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังคงเข้าใจผิดในเรื่องบางเรื่อง เกี่ยวกับอาการฟันผุอยู่ บทความนี้จึงชวนมาเช็คดูว่าคุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาการฟันผุ อยู่หรือเปล่า ความเข้าใจผิดที่ 1 ถ้าไม่ปวดฟัน แสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร ในกรณีที่คุณไม่มีอาการปวดฟัน อาจไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากเมื่อถึงเวลาที่คุณรู้สึกปวดฟัน นั่นหมายความว่าเส้นประสาทบริเวณฟัน ได้รับผลกระทบแล้ว จึงอาจสายเกินไปที่จะรักษาฟัน ดังนั้นการไปตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรรอให้ปวดฟันก่อนแล้วค่อยไปหาทันตแพทย์ เพราะอาการฟันผุอาจไม่ทำให้คุณรู้สึกปวดฟัน จนกระทั่งอาการรุนแรงแล้ว ความเข้าใจผิดที่ 2 กินน้ำตาลมาก คงไม่ถึงขั้นทำให้ฟันผุหรอก ความจริงแล้ว น้ำตาลสามารถเป็นต้นเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ และบางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากน้ำตาลโดยตรง เนื่องจากน้ำตาลในอาหาร เช่น ลูกอม ขนมปัง ถั่ว ผลไม้ มันฝรั่ง และอาหารอื่นๆ จะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปาก ทำให้เกิดกรดที่สามารถทำลายผิวเคลือบฟันได้ ดังนั้นจึงควรลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำ รวมถึงควรใช้ไหมขัดฟันเพื่อดูแลฟันด้วย ความเข้าใจผิดที่ 3 น้ำอัดลม 0 แคลอรี่ไม่ทำให้ฟันผุ ไม่ใช่แค่น้ำตาลเพียงอย่างเดียวที่อาจทำให้ฟันผุ แต่อาหารทุกประเภทที่ทำให้เกิดกรดที่มาจากแบคทีเรียในช่องปาก ต่างก็สามารถเป็นต้นเหตุของอาการฟันผุได้ทั้งสิ้น รวมถึงน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วย ดังนั้นจึงควรบริโภคในปริมาณที่พอดี เพื่อป้องกันอาการฟันผุ ความเข้าใจผิดที่ 4 ฟันผุไม่เป็นไร เพราะรักษาให้ฟันกลับมามีสภาพดังเดิมได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เคลือบฟัน (enamel) บนผิวฟันสามารถกลับคืนมาได้ […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

ฟันคุด กับวิธีรับมือกับปัญหานี้อย่างเหมาะสม

ฟันคุด อาจไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก แต่อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะเป็นผู้ที่บอกได้ว่า ควรผ่าฟันคุดหรือไม่ หากใครที่กำลังมีข้อข้องใจเรื่องฟันคุด สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฟันคุดก่อนพบทันตแพทย์ ได้ดังต่อไปนี้ ฟันคุดคืออะไร ฟันคุด คือ เป็นฟันกรามที่สาม ที่อยู่บริเวณด้านในสุดของปาก ซึ่งไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะโผล่ออกมาหรือพัฒนาอย่างปกติ และฟันคุดยังเป็นฟันซี่สุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในปาก โดยคนส่วนใหญ่จะมีฟันคุด 4 ซี่ คือด้านบน 2 ซี่และด้านล่าง 2 ซี่ ที่บริเวณด้านหลังฟันกรามซี่ในสุด ฟันคุดสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ และอาจสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่น รวมถึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากฟันคุดนั้นยากต่อการทำความสะอาด จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและโรคเหงือกมากกว่าฟันซี่อื่น อย่างไรก็ตามในบางกรณีฟันคุดอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก จำเป็นต้องผ่าฟันคุดหรือไม่ ถ้าฟันคุดไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหา ทันตแพทย์ของคุณอาจแนะนำว่าไม่ต้องผ่าฟันคุด อย่างไรก็ตามยังคงมีการถกเถียงกันในวงการแพทย์ ว่าควรทำอย่างไรกับฟันคุดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดอาการใดๆ ซึ่งทันแพทย์บางคนเสนอว่าควรผ่าฟันคุดออกเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และทันตแพทย์บางคนให้ความเห็นว่าควรปล่อยไว้ ไม่ต้องถอนฟันคุดออก ดังนั้นถ้าคุณและทันตแพทย์ตัดสินใจที่จะไม่ผ่าฟันคุด คุณควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก และควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อไหร่ที่ต้องไปผ่าฟันคุด ฟันคุดมักจะเกิดขึ้น ตอนที่คุณอายุ 17-25 ปี โดยสามารถเห็นฟันคุดได้จากการเอกซเรย์ และคนส่วนใหญ่มักจะกำจัดฟันคุดเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ ฟันคุดขึ้น ฟันคุดขึ้นแบบไม่ปกติอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ฟันคุดสามารถติดอยู่ในกระดูกขากรรไกรหรือเหงือก ซึ่งอาจสร้างเจ็บปวดให้คุณ นอกจากนี้การที่ฟันคุดขึ้นผิดมุม อาจสร้างแรงกดดันต่อฟันซี่อื่น ปากมีขนาดเล็ก สำหรับคนที่มีปากขนาดเล็ก อาจทำให้กรามไม่มีพื้นที่สำหรับฟันคุด ฟันผุหรือโรคเหงือก คุณอาจไม่สามารถทำความสะอาดฟันคุดได้ด้วยแปรงสีฟัน หรือไหมขัดฟัน จึงเป็นเหตุให้ฟันผุและเป็นโรคเหงือก นอกจากนี้หากฟันคุดเกิดการติดเชื้อ หรือสร้างความเสียหายให้ฟันซี่อื่น รวมถึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

สาเหตุของอาการเสียวฟัน กินอะไรก็เสียวฟัน ทำยังไงดีล่ะทีนี้?

อาการเสียวฟัน เป็นสิ่งที่หลายคนอาจเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นอาการเสียวฟันจากเครื่องดื่มหรือการกินของเย็นๆ เช่น ไอศกรีม หรือความรู้สึกปวดแปล๊บที่ฟันขณะดื่มกาแฟ อาการเสียวฟันอาจทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณไม่เป็นสุขเท่าไรนัก มาเรียนรู้กับ สาเหตุของอาการเสียวฟัน พร้อมทั้งวิธีรับมืออย่างถูกต้องกันดีกว่า สาเหตุของอาการเสียวฟัน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้คุณมีอาการเสียวฟัน ประการแรก รากฟันของคุณอาจเปิดออก บริเวณนี้ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าเดนติน (dentin) มักอยู่ข้างใต้เนื้อเยื่อเหงือก และประกอบด้วยหลอดฝอยจำนวนมาก ที่มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หลอดฝอยแต่ละหลอดเชื่อมโยงกับปลายประสาท อาการเกี่ยวกับฟันที่พบได้ทั่วไปสองประการ ได้แก่ เหงือกร่น (gum recession) หรือเคลือบฟันสึก (enamel erosion) อาจเป็นปัญหาเนื่องจากทำให้หลอดฝอยดังกล่าวเปิดออก ในความเป็นจริงแล้ว เดนตินถูกทำให้เสียหายได้ด้วยอาการเหงือกร่น การแปรงฟันแรงเกินไป การกัดฟัน และอาหารที่มีกรด เป็นต้น อาการเสียวฟันที่มักพบเป็นประจำ สำหรับอาการเสียวที่เกิดขึ้นมักจะเป็นๆ หายๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน และอาจมีอาการตั้งแต่ขั้นปกติไปจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งอาการเสียวฟันที่มักพบเป็นประจำ มีดังนี้ ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่เย็น ช่วงที่อากาศเย็น ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่หวาน ขณะทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีกรด เวลาใช้น้ำเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการทำความสะอาดฟันเป็นประจำ ขณะที่แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน เวลาใช้น้ำยาบ้วนปาก เมื่อเคลือบฟันหาย ถึงได้รู้สึกเสียวฟัน ความจริงแล้วอาการเสียวฟันนั้นเกิดขึ้นจาก เคลือบฟันซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการปกป้องฟัน โดยจะอยู่ชั้นนอกสุดของฟัน  เกิดการเสื่อมสภาพ นอกจากนั้นแล้ว เคลือบฟันของแต่ละคน จะมีความหนาบางไม่เท่ากันนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้เคลือนฟันบางก็คือ แปรงฟันแรงเกินไป ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งจนเกินไป การนอนกัดฟันตอนกลางคืน ทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีกรดเป็นประจำ แก้อาการเสียวฟัน ทำอย่างไรดี? บางครั้งอาการเสียวฟัน ก็ทำให้รู้สึกรำคาญใจ และใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวกเท่าที่ควร ดังนั้นวิธีแก้อาการเสียวฟัน มีดังนี้ ลองใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของ ตัวช่วยลดอาการเสียวฟัน […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง

หากคุณมีอาการปวดฟัน คุณควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่บางครั้งคุณอาจไม่สะดวกไปพบทันตแพทย์ทันที และอาจอยากได้ วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์ ซึ่งคุณอาจลองทำตามวิธีเหล่านี้ แต่ควรจำไว้ว่า นี่เป็นเพียงวิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเท่านั้น และคุณจำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ สาเหตุของอาการปวดฟัน อาการปวดฟันอาจมีสาเหตุมาจาก ฟันผุ ฝีหรือโพรงหนองในฟัน ฟันมีรอยแตก เกิดความเสียหายต่อการอุดฟัน การเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง การกัดฟัน เหงือกติดเชื้อ หากเกิดอาการปวดฟัน อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดฟัน โดยอาจมีอาการปวดต่อเนื่อง ปวดจี๊ดขึ้นมา หรือปวดตุบๆ และในบางกรณีจะมีอาการปวดฟันเมื่อมีแรงกดบนฟันเท่านั้น บวมบริเวณฟัน มีไข้ หรือปวดศีรษะ มีของเหลวส่งกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากฟันที่ติดเชื้อ หากคุณมีอาการปวดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ถ้าคุณมีอาการปวดฟันนานกว่า 1-2 วัน อาการปวดรุนแรงขึ้น มีไข้ เจ็บหู หรือเจ็บเวลาอ้าปาก ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ หากยังไม่สะดวกไปพบทันแพทย์ คุณสามารถบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นเองได้ด้วยวิธีเหล่านี้ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ก่อนไปพบทันตแพทย์ คุณอาจบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเองโดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เริ่มจากผสมเกลือ ½ ช้อนโต๊ะกับน้ำเปล่า 8 ออนซ์ (ประมาณ 230 มิลลิลิตร) จากนั้นอมน้ำเกลือที่ได้ไว้ในปากประมาณ 1 นาที จึงค่อยบ้วนน้ำเกลือออก นอกจากนี้คุณอาจใช้ไหมขัดฟันขัดบริเวณรอบๆ ฟันที่มีอาการปวด เพื่อช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดค้างอยู่ กินยาบรรเทาปวด ทันตแพทย์แนะนำว่า การบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้น สำหรับเด็กควรใช้ยาบรรเทาปวด คือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ส่วนผู้ใหญ่สามารถเลือกซื้อยาบรรเทาปวดจากร้านขายยาทั้งยาอะเซตามิโนเฟน และยาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน […]


ปัญหาสุขภาพฟัน

โรคหัวใจ ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงจาก โรคฟันผุ

โรคฟันผุ มาเยือนบ่อยครั้งจนต้องไปพบหมอฟันนับครั้งไม่ถ้วน แต่หลาย ๆ คนก็ยังอาจคิดว่าโรคฟันผุเป็นเพียงปัญหาเล็ก ๆ ของสุขภาพช่องปากที่ไม่ได้รุนแรงแต่อย่างใด และสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จึงเลือกที่จะละเลยปัญหาฟันผุ แต่สิ่งที่เรามองข้ามมักกลายเป็นเรื่องใหญ่เสมอ เพราะอันที่จริง ปัญหาในช่องปากที่ดูไม่น่าไม่อันตรายอย่างโรคฟันผุ กลับกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้!  อันตรายขนาดนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้วค่ะ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความรู้จักและหลีกเลี่ยงฟันผุกัน โรคฟันผุ เป็นอย่างไร โรคฟันผุ เป็นปัญหาในช่องปากประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคือ ฟันถูกทำลายจากกรด ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในส่วนตัวฟันและรากฟันที่โผล่พ้นออกมาจากเหงือก โดยปกติระบบการทำงานในช่องปาก จะมีกระบวนการเปลี่ยนแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในชั้นผิวเคลือบฟันกับน้ำลายตลอดเวลาอย่างสมดุล ทำให้ไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวฟัน แต่ในภาวะที่จุลินทรีย์มีการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จะเปลี่ยนน้ำลายเป็นกรด ทำให้สูญเสียแคลเซียม และฟอสฟอรัสออกจากตัวฟันมากกว่าการได้รับกลับคืน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยก็จะทำให้เกิดฟันผุ สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ การเกิดฟันผุ มาจากปัจจัย 4 ประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ แผ่นคราบจุลินทรีย์ อาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ตัวฟัน เวลา โดยแบคทีเรียที่มีอยู่ตามปกติในช่องปากจะทำปฏิกิริยากับคราบพลัค (Plaque) ที่ติดค้างอยู่ตามซอกฟัน และผิวเคลือบฟัน ซึ่งเราขจัดออกไปได้ไม่หมด เกิดเป็นกรดขึ้น ซึ่งกรดสามารถทำลายผิวเคลือบฟัน ก่อให้เกิดฟันผุขึ้นได้หากค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในปากมีค่าต่ำกว่า 5.5 บ่อย ๆ และเป็นเวลานาน ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงจากโรคฟันผุ อาการปวดฟันจากฟันผุ หากปล่อยให้ลุกลามจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม