ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อเรียกว่า “แคนดิดา” รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อย่างการขาดสารอาหาร ริมฝีปากแห้ง ปัญหาโรคผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลให้ริมฝีปากแห้ง แตก ลอก เกิดสะเก็ดแผลบริเวณมุมปาก อย่างไรก็ตาม โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปากนกกระจอกด้วย
ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบที่ทำให้เกิดแผลที่มุมปาก โดยแผลจะมีลักษณะแตกเป็นร่องบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด ริมฝีปากแห้ง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคันระคายเคืองบริเวณมุมปาก หรือรู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมุมปาก
โรคปากนกกระจอกอาจหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโดยคุณหมอจะรักษาตามประเภทของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว เช่น รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
อาการของปากนกกระจอก จะมีลักษณะเป็นแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 สองด้าน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้
สาเหตุที่พบได้บ่อยของปากนกกระจอกมักเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับเชื้อรากันที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก มีดังนี้
ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นปากนกกระจอกอาจ มีดังต่อไปนี้
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ในเบื้องต้นคุณหมอจะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคปากนกกระจอก เช่น การอักเสบบริเวณมุมปาก รอยแดง บวม แผล สะเก็ด
อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าสาเหตุเกิดจากภาวะอื่น ๆ เช่น โรคเริมที่ริมฝีปาก และโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก (ภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวในช่องปาก)
คุณหมออาจต้องเก็บตัวอย่างของเชื้อจากมุมปากและจมูกของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าอาการป่วยเกิดจากเชื้อชนิดใดบ้าง
สำหรับวิธีการรักษาโรคปากนกกระจอก คุณหมอจะรักษาตามประเภทของการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้แผลบริเวณดังกล่าวกลับมาเป็นซ้ำอีก โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
วิธีลดความเสี่ยงของโรคปากนกกระจอก มีดังต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย