backup og meta

ช่องปากแห้ง สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่คุณควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ช่องปากแห้ง สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่คุณควรรู้

    ช่องปากแห้ง หรือภาวะน้ำลายน้อย อาจส่งผลต่อความสะอาดและการย่อยอาหารในช่องปากได้ เนื่องจากน้ำลายมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก ฉะนั้น ถ้าใครรู้สึกว่าปากแห้ง มีน้ำลายน้อย Hello คุณหมอ มีข้อควรรู้ในเรื่องนี้มาฝากค่ะ

    สาเหตุของอาการ ช่องปากแห้ง

    อาการปากแห้ง หรือช่องปากแห้ง จะเกิดขึ้นเวลาที่ต่อมน้ำลายในปากผลิตน้ำลายออกมาไม่เพียงพอต่อการทำให้ภายในช่องปากเปียกหรือแฉะอยู่เสมอ ซึ่งการที่ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติอาจเป็นผลมาจาก…

    • การใช้ยา

    มียาอยู่มากมายหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปากแห้ง ซึ่งยาที่มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหานี้ ได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง และโรควิตกกังวล รวมทั้งยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวด

    • อายุมากขึ้น

    ผู้สูงวัยมักจะมีอาการปากแห้งเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการใช้ยาบางชนิด ความสามารถในการดูดซึมยาลดลง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นเวลานาน

    ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ธรรมชาติของน้ำลายเปลี่ยนไป รวมทั้งทำให้การผลิตน้ำลายลดลงด้วย อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราว ซึ่งเมื่อใช้ยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว น้ำลายก็จะกลับมาตามปกติ นอกจากนี้ การฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอ ก็อาจทำให้ต่อมน้ำลายเกิดความเสียหาย จนร่างกายผลิตน้ำลายได้น้อยลง อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีและบริเวณที่มีการฉายรังสี

  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
  • เกิดจากอุบัติเหตุหรือศัลยกรรมที่ทำให้เส้นประสาทบริเวณศีรษะและคอเกิดความเสียหาย และส่งผลให้เกิดอาการปากแห้งได้

    • มีปัญหาทางด้านสุขภาพ

    อาการปากแห้งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก การติดเชื้อราในช่องปาก โรคอัลไซเมอร์ โรคที่เป็นผลมาจากการแพ้ภูมิตัวเอง (เช่น โรคในกลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s syndrome) โรคเอดส์ ) นอกจากนี้ การนอนกรนและการหายใจทางปาก ก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ด้วย

    การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการเคี้ยวยาเส้น อาจทำให้มีอาการปากแห้งเพิ่มขึ้นได้

    • การใช้สารเสพติด

    ยาบ้าหรือยาเมทแอมฟีตะมีน (Methamphetamine) อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งขั้นรุนแรงได้ ทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายกับฟัน และทำให้ผู้เสพมีกลิ่นปากแบบคนเสพยา’ ด้วย นอกจากนี้ การสูบกัญชาก็ทำให้เกิดอาการปากแห้งได้เหมือนกัน

    อาการปากแห้ง

    อาการสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกว่ามีอาการปากแห้งหรือภาวะน้ำลายน้อย ได้แก่

    • มีความรู้สึกปากเหนียวและแห้ง
    • หิวน้ำบ่อย
    • มีความรู้สึกเจ็บภายในปาก เจ็บบริเวณมุมปาก รวมถึงมุมปากและริมฝีปากมีอาการแห้งแตก
    • มีความรู้สึกคอแห้ง
    • มีความรู้สึกแสบร้อนภายในปาก โดยเฉพาะบริเวณลิ้น
    • ลิ้นมีอาการแห้งและแดง
    • มีปัญหาในการพูด รวมทั้งมีปัญหาในการรับรส การเคี้ยว และการกลืนอาหาร
    • มีอาการแสบคอ เจ็บคอ และจมูกแห้ง
    • มีกลิ่นปาก

    โรคแทรกซ้อนจากอาการปากแห้ง

    ถ้าใครมีปริมาณน้ำลายไม่พอเพียงและมีอาการปากแห้ง อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่อไปนี้ได้

    • มีปัญหาคราบฟัน ฟันผุ และโรคเหงือกเพิ่มขึ้น
    • มีอาการเจ็บในช่องปาก
    • ติดเชื้อราในช่องปาก
    • เจ็บบริเวณมุมปากรวมทั้งมีอาการแห้งแตก หรือมีอาการริมฝีปากแห้ง
    • ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากมีปัญหาในการเคี้ยวและกลืนอาหาร
    • อาการปากแห้งอาจทำให้การใส่ฟันปลอมเป็นไปอย่างยากลำบาก

    วิธีการรักษาอาการปากแห้ง

    ถ้าคุณคิดว่าอาการปากแห้งนั้นเกิดจากการใช้ยาบางชนิด ควรปรึกษาคุณหมอ คุณหมออาจจะปรับขนาดการรับประทานยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาที่ไม่ก่อให้เกิดอาการปากแห้งแทน นอกจากนี้ คุณหมออาจเขียนใบสั่งน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยฟื้นฟูความชุ่มชื้นในช่องปาก ซึ่งถ้าน้ำยาบ้วนปากชนิดนั้นไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น คุณหมอก็อาจให้คุณกินยาซาลาเจน (Salagen) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำลายออกมา

    และคุณสามารถกระตุ้นให้มีน้ำลายไหลออกมามากขึ้นได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

    • อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาล
    • ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยให้ปากคงความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
    • แปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ และไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
    • หายใจทางจมูก และหลีกเลี่ยงการหายใจทางปากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    • ติดตั้งเครื่องทำไอน้ำไว้ในห้อง เพื่อช่วยเติมความชุ่มชื้นให้กับอากาศภายในห้องนอน
    • ใช้น้ำลายเทียมที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา