ฟันแตก เป็นปัญหาสุขภาพฟัน ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารที่แข็งจนเกินไป เคี้ยวน้ำแข็ง หรือมีอาการฟันร้าวอยู่แต่เดิม เป็นต้น ส่งผลให้มีอาการปวดฟัน เกิดอาการเสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร และฟันบางส่วนหลุดออกมากได้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ฟันแตก เป็นปัญหาสุขภาพฟัน ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารที่แข็งจนเกินไป เคี้ยวน้ำแข็ง หรือมีอาการฟันร้าวอยู่แต่เดิม เป็นต้น ส่งผลให้มีอาการปวดฟัน เกิดอาการเสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร และฟันบางส่วนหลุดออกมากได้
ฟันแตก คือ การแตกหักของฟันทั้งหมด หรือฟันบางส่วนแตกและหลุดร่วงออก โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับฟันทุกซี่ เช่น ฟันหน้า ฟันกราม ฟันแท้ ฟันน้ำนม และพบได้บ่อยในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะร่างกายอาจขาดแคลเซียมเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลให้ฟันที่เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกเปราะบาง และแตกหักง่าย
นอกจากนี้ฟันแตกสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามรอยร้าวของฟัน ได้แก่
สาเหตุที่ทำให้ฟันแตก มีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ฟันแตกส่วนใหญ่มาจากการบดเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะแข็งจนเกินไป เช่น น้ำแข็ง ลูกอม รวมถึงมีพฤติกรรมการเคี้ยวของแข็งหลายรอบซ้ำ ๆ จนนำไปสู่อาการฟันร้าว ฟันแตก
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ทันตแพทย์อาจสอบถามอาการปวดฟัน และทำการตรวจสุขภาพฟัน เพื่อตรวจสอบรอยร้าว การบิ่นของฟัน หรืออาจเอกซเรย์ช่องปาก เพื่อตรวจสอบรากฟันอย่างละเอียด
การรักษาฟันแตก อาจรักษาตามรอยร้าวของฟัน อาการ และสาเหตุที่คุณหมอวินิจฉัย โดยคุณหมออาจรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
หากยังไม่สะดวกเดินทางเข้าขอคำปรึกษาคุณหมอ อาจปฐมพยาบาลรักษาฟันแตกเบื้องต้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ในกรณีที่มีฟันหลุดออกมาภายในช่องปาก อาจสามารถเก็บฟัน หรือชิ้นส่วนฟันนั้น ๆ เพื่อเข้ารับขอคำปรึกษาทันตแพทย์เพิ่มเติม ว่าสามารถเชื่อมฟันเดิมกลับเข้าไปได้ใหม่หรือไม่
การปรับพฤติกรรมบางอย่างดังต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการฟันแตก หรือป้องกันไม่ให้ฟันแตกมากขึ้น
หมายเหตุ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย