การตรวจลานสายตา (Visual field test)
เป็นวิธีทดสอบสายตาในขอบเขตการมองเห็น คือ สามารถมองเห็นด้านหน้าและด้านข้างได้โดยไม่ต้องขยับดวงตา อาจมีวิธีการทดสอบดังนี้
- ปิดตาหนึ่งข้างแล้วมองสิ่งของด้านหน้า โดยคุณหมอจะขยับสิ่งของในระยะขอบเขตที่ตาสามารถมองเห็นได้ จากนั้นให้ผู้ป่วยบอกว่าเห็นหรือไม่เห็นในระยะใดบ้าง
- คุณหมออาจใช้อุปกรณ์เฉพาะที่มีหน้าจอแสดงรูปภาพ ให้ผู้ป่วยมองเข้าไปและบอกว่าเห็นหรือไม่เห็นในระยะใดบ้าง
- วิธีมองหน้าจอที่มีไฟกะพริบเป็นระยะ และให้ผู้ป่วยกดปุ่มเมื่อเห็นสัญญาณไฟ
ทดสอบการมองเห็นสี
ผู้ป่วยหลายคนอาจมีปัญหาตาบอดสี หรือแยกแยะสีได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยคุณหมอจะมีอุปกรณ์ที่เป็นจุดสีเพื่อให้ผู้ป่วยเลือกตัวเลขหรือรูปร่างที่กำหนด หากผู้ป่วยมีความผิดปกติของการมองเห็นสี อาจไม่สามารถแยกแยะสีหรือรูปร่างเหล่านั้นได้ ซึ่งภาวะตาบอดสีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดหรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคต้อหิน หรือโรคเส้นประสาทตา
ทดสอบกล้ามเนื้อตา
เป็นวิธีทดสอบเพื่อดูกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยคุณหมอจะประเมินเมื่อดวงตาจับจ้องวัตถุ และการเคลื่อนไหวไปมาของดวงตา การประสานงานของกล้ามเนื้อ ที่ตอบสนองต่อวัตถุหรือแสง
การตรวจตาด้วย Slit lamp
เป็นวิธีตรวจดวงตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ขยายเพื่อตรวจด้านหน้าของดวงตา เช่น เปลือกตา ขนตา กระจกตา ม่านตา เลนส์ตา และช่องของเหลวระหว่างกระจกตาและม่านตา นอกจากนี้ คุณหมออาจใช้สีย้อม ฟลูออเรสซีน (Fluorescein) เพื่อตรวจความเสียหายของเซลล์ในดวงตาได้ชัดเจนขึ้น
การตรวจจอประสาทตา
เป็นวิธีตรวจเพื่อประเมินด้านหลังตา เรตินา หลอดเลือดเรตินา และใยแก้วนำแสง โดยคุณหมอจะใช้ยาหยอดตาเพื่อทำให้รู้ม่านตาขยายและใช้วิธีฉายแสงเข้าตาเพื่อตรวจ
ตรวจความดันลูกตา (Tonometry)
เป็นวิธีวัดความดันของเหลวภายในดวงตา เพื่อตรวจหาโรคต้อหินที่ทำลายเส้นประสาทตา โดยมีหลายวิธีในการทดสอบ ดังนี้
- ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Applanation tonometer สัมผัสกับกระจกตาเพื่อวัดค่าความดันตา วิธีทดสอบนี้จะไม่สร้างความเจ็บปวดเนื่องจากคุณหมอจะให้ยาหยอดตาที่มียาชา
- ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Noncontact tonometry เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์สัมผัสดวงตาเพื่อวัดความดันตา
ใครควรตรวจสุขภาพตา
ทุกคนควรให้ได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อสุขภาพตาที่ดี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญกับการตรวจตามากขึ้น เพราะภาวะสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลต่อปัญหาสายตาและการมองเห็น ผู้ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้จึงควรตรวจสุขภาพตาบ่อยครั้ง ดังนี้
เด็ก
- ครอบครัวมีโรคเกี่ยวกับสายตา เช่น โรคทางพันธุกรรม ต้อกระจกแต่กำเนิด โรคสายตาสั้น ตามัว ตาเหล่
- คุณแม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์
- เด็กที่ติดเชื้อจากแม่ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน กามโรค โรคเริม ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นโรคติดเชื้อจากปรสิต หรือติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus)
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ และเด็กแรกเกิดที่ต้องใช้ออกซิเจนเสริมเป็นเวลานาน
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาของเยื่อหุ้มสมอง หรือดวงตามีปัญหาเรื่องการหักเหแสง
- เด็กตาเหล่
- เด็กที่อาจมีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท
- อะนิโซเมโทรเปีย (Anisometropia) คือ สายตาทั้งสองข้างสั้นและยาวไม่เท่ากัน
- การมองเห็นส่งผลต่อปัญหาในการเรียน
- เด็กที่ต้องใส่คอนแทคเลนส์
- การมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป
- เคยผ่านการผ่าตัดตา หรือเคยมีอาการบาดเจ็บที่ตา
- การใช้ยาบางชนิด อาหารเสริม หรือสมุนไพร ที่อาจเกิดผลข้างเคียงที่ตา
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย