backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สายตาสั้น อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/09/2021

สายตาสั้น อาการ สาเหตุ และการรักษา

สายตาสั้น เกิดจากความผิดปกติของดวงตาที่ไม่สามารถการหักเหแสงได้อย่างถูกต้อง ทำให้การมองเห็นวัตถุ หรือสิ่งรอบตัวในระยะไกลพร่ามัว ไม่ชัดเจนเท่ากับการมองในระยะใกล้ โดยปกติอาจได้รับการแก้ไขด้วยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือผ่าตัดทำเลสิก

คำจำกัดความ

สายตาสั้น คืออะไร

สายตาสั้น คือ ปัญหาทางสายตาที่ทำให้การมองเห็นวัตถุสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่ชัดเจน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • สายตาสั้นธรรมดา เป็นภาวะสายตาสั้นที่ส่งผลไม่รุนแรง สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ตามที่คุณหมอกำหนด
  • สายตาสั้นระดับสูง เป็นภาวะสายตาสั้นที่เสื่อมลงตามช่วงอายุ และอาจก่อให้เกิดโรคตาอื่น ๆ ได้ เช่น จอประสาทตาลอก ต้อกระจก ต้อหิน
  • สายตาสั้นมากผิดปกติ อาจทำให้เกิดปัญหากระทบต่อจอตาเพิ่มเติม เช่น จอประสาทตาเสีย จอประสาทตาลอก จุดโฟกัสมีรอยแผลที่อาจนำไปสู่จุดบอด

อาการ

อาการสายตาสั้น

อาการสายตาสั้น สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังนี้

  • มองเห็นวัตถุรอบตัวไม่ชัดเมื่ออยู่ในระยะไกล โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
  • ปวดตา ตาล้า
  • มีอาการตาเหล่เล็กน้อย
  • กระพริบตาถี่ ขยี้ตาบ่อย
  • อาการปวดหัวที่เกิดจากอาการปวดตา

สาเหตุ

สาเหตุสายตาสั้น

สาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นเกิดจากโครงสร้างของดวงตาภายในผิดปกติ ทำให้กระจกตามีความโค้งสูงจนเกินไป ส่งผลให้แสงที่เข้ามาในดวงตาหักเหผิดปกติ ไม่อาจโฟกัสเป็นภาพได้ชัดเจน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงสายตาสั้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สายตาสั้น มีดังนี้

  • พันธุกรรม ที่อาจส่งต่อจากคนในครอบครัวที่มีประวัติสายตาสั้น
  • พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
  • ภาวะทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

การวินิจฉัย และการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยสายตาสั้น

คุณหมออาจทดสอบด้วยการให้อ่านตัวอักษรตามระยะที่กำหนด เพื่อเช็กความคมชัดของภาพที่ผู้ป่วยมองเห็น และใช้เครื่องมือทดสอบโรคตาที่เรียกว่า Phoropter เพื่อวัดว่าดวงตามีการโฟกัสแสงหรือไม่

การรักษาสายตาสั้น

การรักษาสายตาสั้น อาจเป็นไปตามการประเมินของคุณหมอเบื้องต้น ว่าควรใช้วิธีการรักษาในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม ดังนี้

  • แว่นตา เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความคมชัดของภาพทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการตัดเลนส์ที่พอดีกับค่าสายตา
  • คอนแทคเลนส์ การใส่คอนแทคเลนส์อาจช่วยปรับโฟกัสในเลนส์ตาได้ดี แต่ควรเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอถึงข้อดีและข้อเสียเสียก่อน
  • เลสิก เป็นการผ่าตัดที่พบบ่อยที่สุดในการรักษาสายตาสั้น โดยใช้เลเซอร์เปิดเยื่อบุผิวตา และยิงแสงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตาชั้นใน จากนั้นจึงปิดเยื่อบุผิวตากลับเข้าที่เดิม
  • พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy) เป็นการรักษาสายตาสั้นที่คล้ายกับการทำเลสิกแต่อาจลอกกระจกตาชั้นนอกออกจนหมดโดยไม่มีการปิดเยื่อบุผิวตากลับ และใช้เลเซอร์ปรับความโค้งกระจกตา

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันสายตาสั้น

เนื่องจากสายตาสั้นอาจสืบทอดผ่านทางพันธุกรรม การป้องกันสายตาสั้นจึงอาจเป็นเรื่องจาก อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่อาจช่วยชะลออาการสายตาสั้น ดังนี้

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบด้วยโอเมก้า 3 เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน รวมถึงผักใบเขียว และผลไม้อื่น ๆ
  • ใช้สายตาอย่างเหมาะสม ควรพักสายตาจากหน้าจอทุก ๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาที โดยมองออกไปไกล ๆ ประมาณ 6 เมตร
  • สวมแว่นกันแดด เพื่อปกป้องดวงตาจากแสงแดด
  • ควบคุมอาการของโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระวังไม่ให้มีอาการรุนแรงขึ้น
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพตา
  • ตรวจสุขภาพตา ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/09/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา