ตาบอดกลางคืน เป็นภาวะที่ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวช่วงเวลากลางคืน หรือในพื้นที่ที่มีแสงน้อยได้ไม่ดี ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา และปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หากสังเกตว่าตัวเองเริ่มมีการมองเห็นเปลี่ยนแปลงเป็นภาพเบลอไม่คมชัดโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ควรเข้ารับการตรวจสายตาเพื่อหาสาเหตุ และรับการแก้ไข เพื่อปรับให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำจำกัดความ
ตาบอดกลางคืน คืออะไร
ตาบอดกลางคืน คือ ความผิดปกติทางการมองเห็นประเภทหนึ่ง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นแย่ลงโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงมองเห็นไม่ชัดในสถานที่ที่มีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บางคนอาจมีภาวะตาบอดตอนกลางคืนมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา ที่อาจส่งผลให้ตาบอดอย่างสมบูรณ์ หรือยังคงมองเห็นสิ่งรอบตัวในภาพเบลอช่วงเวลากลางคืน
อาการ
อาการตาบอดกลางคืน
อาการตาบอดกลางคืน สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้
- ขยี้ตาบ่อยช่วงเวลากลางคืน
- มองเห็นสิ่งรอบตัวยากลำบากในสถานที่ทีมีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บ้าน
- มองเห็นไม่ชัดขณะขับรถตอนกลางคืน
สาเหตุ
สาเหตุตาบอดกลางคืน
สาเหตุที่ส่งผลให้ตาบอกกลางคืน คือ
- สายตาสั้น
- สายตายาว
- ต้อหิน
- ต้อกระจก
- การขาดวิตามินเอ
- เบาหวานขึ้นตา
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
- ตาบอดกลางคืนแต่กำเนิด
- โรคโรคอาร์พี (Retinitis pigmentosa : RP) หรือโรคจอตามีสารสี
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงตาบอดกลางคืน
นอกจากปัญหาเกี่ยวกับสายตาที่อาจส่งผลให้การมองเห็นช่วงเวลาการคืนแย่ลง ภาวะร่างกายขาดวิตามินเอก็อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงได้ เพราะวิตามินเ เป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และลดความเสี่ยงการเกิดโรคตา อีกทั้งยังอาจช่วยป้องกันภาวะตาแห้ง (Xerophthalmia) และ กระจกตาเป็นแผล (Keratomalacia)ได้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยตาบอดกลางคืน
หากสังเกตว่ามีการมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ควรเขารับการวินิจฉัยหาสาเหตุจากคุณหมอในทันที ซึ่งคุณหมออาจนำการทดสอบ ดังต่อไปนี้ มาร่วมใช้
- ทดสอบการมองเห็นสี
- การสะท้อนแสงของดวงตา
- การหักเหของแสง
- ตรวจจอประสาทตา
- ตรวจการมองเห็นวัตถุด้านข้างตาโดยไม่หันลูกตาตาม
การรักษาตาบอดกลางคืน
การรักษาตาบอดกลางคืนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่คุณหมอวินิจฉัยเจอ หรือตามอาการและโรคตาที่ผู้ป่วยเป็น ยกตัวอย่าง หากมีภาวะสายตาสั้น สายตายาว อาจให้สวมใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับการใช้งาน การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหิน หรือต้อกระจกคุณหมออาจใช้วิธีการผ่าตัดกำจัดความขุ่นมัวของเลนส์ตา และใส่เลนส์เทียมใสใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคตาบอดกลางคืนแต่กำเนิดที่เกิดจากพันธุกรรมอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หนทางที่จะช่วยบรรเทาอาการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นอาจขึ้นอยู่กับผลการทดสอบสายตา