backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

จอประสาทตาลอก หรือ จอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) เป็นภาวะที่อาจเกิดจากเรตินาด้านหลังของดวงตา เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ส่งผลให้มองสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน ตาพร่า หรือเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชถ่ายรูป หากไม่เร่งรักษา หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร

คำจำกัดความ

จอประสาทตาลอก คืออะไร

จอประสาทตาลอก คือ การหลุดลอกของชั้นเนื้อเยื่อ หรือเรียกว่าเรตินาของดวงตา เมื่อเรตินาแยกออกจากตำแหน่งเดิม ก็อาจทำให้เซลล์ หรือเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เพราะเรตินาทำหน้าสำคัญในการประมวลผลเมื่อแสงผ่านเข้าตา เลนส์ตาจะทำการโฟกัสภาพ หลังจากนั้นเรตินาจะแปลงภาพเป็นสัญญาณแล้วส่งข้อมูลไปยังสมองผ่านเส้นประสาทตา เพื่อสร้างการมองเห็น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจ นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้

อาการ

อาการจอประสาทตาลอก

อาการจอประสาทตาลอก อาจไม่ส่งผลให้ปวดตา แต่อาจส่งสัญญาณเตือนเชื่อมโยงกับด้านการมองเห็น ดังนี้

  • เห็นลักษณะไฟสว่าง หรือไฟกระพริบ เหมือนแฟลชถ่ายรูป
  • มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน และประสิทธิภาพการมองเห็นวัตถุด้านข้างลดลง
  • เห็นจุดเล็ก ๆ ลอยไปมาจำนวนมาก
  • สูญเสียการมองเห็น หรือมีเงาดำมาบดบังม่านตาเป็นบางส่วน

สาเหตุ

สาเหตุจอประสาทตาลอก

สาเหตุจอประสาทตาลอก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการลอกของเรตินา ดังนี้

  1. จอประสาทตามีรู หรือรอยฉีกขาด (Rhegmatogenous) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากรูในเรตินามีรู และรอยฉีดขาดที่ทำให้ของเหลวไหลเข้าไปสะสมในเรตินา ทำให้จอประสาทตาลอก
  2. จอประสาทตาลอกที่เกิดจากการดึงรั้ง (Tractional retinal detachment) จอประสาทตาลอกประเภทนี้ อาจเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพังผืดเกิดขึ้นบริเวณเรตินา เมื่อพังผืดหดตัวอาจเกิดแรงดึงทำให้จอประสาทตาลอก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  3. จอประสาทตาลอกแบบไม่มีรู หรือรอยฉีกขาด (Exudative retinal detachment) เป็นประเภทที่จอตาไม่ได้รับความเสียหาย หรือมีรอยฉีกขาด ซึ่งเป็นการหลุดลอกตามการเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น การบาดเจ็บที่ตา เนื้องอก และการอักเสบภายในดวงตา

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงจอประสาทตาลอก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้จอประสาทตาลอก ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น จอประสาทตาลอกอาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี
  • ประวัติของครอบครัวที่เกี่ยวกับจอประสาทตาลอก
  • ภาวะสายตาสั้น
  • มีประวัติการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดต้อกระจก
  • อุบัติเหตุที่กระทบต่อดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคอื่น ๆ เช่น โรคจอประสาทตา ม่านตาอักเสบ เบาหวานขึ้นตา

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยจอประสาทตาลอก

การวินิจฉัยจอประสาทตาลอก มีดังนี้

  • ตรวจจอประสาทตา คุณหมออาจใช้แสงสว่าง และอุปกรณ์ตรวจดูเรตินาบริเวณหลังตา เพื่อเช็กดวงตาภายในอย่างละเอียด
  • อัลตราซาวด์ หากมีเลือดออกในดวงตาคุณหมออาจใช้วิธีอัลตราซาวนด์ เพราะการตรวจด่วยวิธีธรรมดาอาจไม่สามารถมองเห็นภายในเรตินาได้

การรักษาจอประสาทตาลอก

การรักษาจอประสาทตาลอก เพื่อซ่อมแซมเรตินาที่ได้รับความเสียหาย มีดังนี้

  • ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ คุณหมออาจนำแสงเลเซอร์เข้าไปรักษาด้วยบริเวณม่านตาที่ฉีกขาด เพื่อปิดรูรั่ว รอยแยกที่จอประสาทตา
  • ใช้ความเย็นรักษาจอตา (Cryopexy) คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ด้วยความเย็นจี้ปิดรอยฉีกหรือรูในบริเวณจอประสาทตา
  • ฉีดก๊าซเข้าไปในดวงตา เป็นวิธีที่คุณหมอจะใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในส่วนกลางของลูกตา หากฉีดเข้าไปตรงตามตำแหน่งฟองอากาศจะดันเรตินาที่หลุดลอกกลับเข้าสู่ผนังของดวงตา
  • ผ่าตัดน้ำวุ้นภายในลูกตา เป็นการผ่าตัดที่อาจเหมาะสำหรับซ่อมแซมรอยแยกขนาดใหญ่ ซึ่งคุณหมอจะนำน้ำในวุ้นตาออก และแทนที่ด้วยฟองแก๊ส หรือน้ำมัน เข้าไปในช่องน้ำหล่อเลี้ยงให้เรตินาเรียบ
  • การผ่าตัดจอประสาทตา คุณหมออาจใช้วัสดุที่เป็นซิลิโคนมาหนุนบริเวณรอบนอกดวงตา เพื่อดันเรตินาติดกับผนังตา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันจอประสาทตาลอก

การป้องกันจอประสาทตาลอก  มีดังนี้

  • หากมีปัญหาด้านการมองเห็นควรสวมใส่แว่นสายตาให้เหมาะสม เพื่อช่วยให้มองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดขึ้น
  • เปิดไฟให้มีความสว่างระดับพอดี ขณะอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรรักษา หรือมีการควบคุมป้องกันการเกิดสภาวะรุนแรง เพื่อคงความสมดุลของเลือดที่เชื่อมโยงกับจอประสาทตา
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพตาสม่ำเสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา