ตาบอดสี (Color Blindness) อาจทำให้เกิดความยากลำบากในการมองเห็น หรือไม่สามารถจำแนกสี ได้ เช่น ไม่สามารถแยกแยะความต่างระหว่างสีแดง และสีเขียวได้ หากคุณมีอาการตาบอดสี ควรปรึกษาแพทย์
[embed-health-tool-bmi]
คำกำจัดความ
ตาบอดสีคืออะไร
โรคตาบอดสีนั้นพบได้ทั่วไป ผู้ที่ตาบอดสีจะมีความยากลำบาก หรือไม่มีความสามารถในการจำแนกสีต่างๆ ได้ และผู้ที่ตาบอดสีส่วนใหญ่ มักไม่สามารถแยกแยะความต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีซึ่งพบได้น้อยมาก ผู้ที่ตาบอดสีนั้นไม่สามารถแยกแยะสีเหลืองและสีฟ้าได้ พบได้ทั้งกรณีที่ไม่รุนแรงมากนักไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก
- กรณีอาการไม่รุนแรง นั้นพบได้ทั่วไป โดยผู้ที่ตาบอดสีนั้นสามารถมองเห็นสีเหลือง สีเทา สีเบจ สีฟ้า ได้ค่อนข้างดีกว่าสีแดง สีเขียว และสีเขียวหัวเป็ด
- กรณีรุนแรงมาก นั้นพบได้ยาก ในกรณีนี้ ผู้ที่ตาบอดสีนั้นแทบจะมองไม่เห็นสีใดๆ เลย (achromatopsia) โดยสามารถมองเห็นได้เพียงสีเทา สีดำ และสีขาวเท่านั้น
อาการตาบอดสีแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ตาบอดสีแต่กำเนิด (Inherited color blindness) พบได้บ่อยมากกว่าในผู้ที่มีอาการตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง (acquired color blindness) สาเหตุเกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยมีอาการตาบอดสีมาก่อนจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะมีอาการตาบอดสี
- ตาบอดสีที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired color blindness) เกิดขึ้นเนื่องจากโรคที่ทำลายเซลล์ประสาทตา หรือเรตินาในดวงตา
โรคตาบอดสี พบได้บ่อยเพียงใด
ตาบอดสีนั้นเป็นพบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากว่าเพศหญิง และพบได้ในผู้ป่วยทุกช่วงวัย คุณอาจสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการตาบอดสีได้ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
อาการ
อาการของตาบอดสี
อาการที่พบโดยทั่วไปของผู้ที่มีอาการตาบอดสีนั้นจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการมองเห็น ทำให้ยากต่อการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสีสันต่างๆ เช่น สีแดงและสีเขียวในสัญญาณไฟจราจร หรือเป็นไปได้ว่า สีที่มองเห็นนั้นอาจสว่างน้อยกว่าที่เคยเห็นมาก่อน คุณควรปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่าตัวคุณหรือบุตรหลานมีอาการตาบอดสี
เนื่องจากแพทย์จะสามารถยืนยันอาการตาบอดสีได้ จากการตรวจวินิจฉัย โดยอาจสามารถระบุปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงด้านอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาจพบอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อใดควรพบหมอ
คุณควรปรึกษาแพทย์หากพบว่า มีสัญญาณหรืออาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ทั้งนี้ร่างกายคนเรานั้นแสดงอาการแตกต่างกันออกไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยและการรักษา ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของอาการตาบอดสี
อาการตาบอดสีเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นอาจเกิดจากเซลล์รูปกรวย (cones) ในเรติน่าถูกทำลาย หรือไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- พันธุกรรม
- โรคหรือการเจ็บป่วย ได้แก่ ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม เบาหวาน เบาหวานขึ้นจอตา พาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- การรับประทานยาบางชนิด ได้แก่ ยากลุ่มจิตเวท ยาคลอโปรมาซีน (Thorazine) ยาไทโอริซาดีน (Mellaril)และ ยารักษาวัณโรค (Myambutol)
- โรคต้อกระจก
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการตาบอดสี
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการตาบอดสีมีหลายประการ ได้แก่
- อายุ
- สารพิษ
การวินิจฉัยและการรักษา
บทความนี้ไม่ได้ให้การวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป
การวินิจฉัยอาการตาบอดสี
ตาบอดสีสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยแผ่นการทดสอบตาบอดสี (pseudo-isochromatic plates) หากคุณมีอาการตาบอดสี คุณอาจมองไม่เห็นตัวเลข หรืออาจเห็นตัวเลขที่แตกต่างออกไป
การรักษาอาการตาบอดสี
ในผู้ป่วยตาบอดสีที่เกิดจากการใช้ยาบางตัว หรือโรคบางชนิดอาจรักษาด้วยวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การหยุดรับประทานยา หรือ รักษาโรคที่เป็นอยู่เพื่อรักษาอาการตาบอดสี ส่วนอาการตาบอดสีที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ นั้นยังไม่มีวิธีการรักษา
อย่างไรก็ดี การสวมใส่เลนส์แว่นตากรองแสง หรือ คอนเทคเลนส์กรองแสงสามารถปรับเปลี่ยนการรับรู้สีของผู้มีอาการตาบอดสีได้
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเองในเบื้องต้นอาจช่วยให้คุณรับมือกับอาการตาบอดสีได้ดีขึ้น
- จดจำสีของสิ่งของต่างๆ
- ติดป้ายกำกับสีของสิ่งของที่คุณต้องการนำมาจับคู่กับสิ่งของอื่นๆ
หากมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจอาการและหาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ