backup og meta

เตรียมพร้อมรับมือกับ ภาวะสายตายาวตามวัย ในวัยใกล้ 40

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    เตรียมพร้อมรับมือกับ ภาวะสายตายาวตามวัย ในวัยใกล้  40

    หากคุณมีอายุเกิน 40 ปี และต้องเหยียดแขนถือหนังสือ เพื่อที่จะได้มองเห็นตัวหนังสือไกลมากกว่าปกติแล้วล่ะก็ คุณอาจมีโอกาสที่คุณกำลังมี ภาวะสายตายาวตามวัย แล้วล่ะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปอ่านกันว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

    ภาวะสายตายาวตามวัยคืออะไร

    ภาวะสายตายาวตามวัย (Presbyopia) คือภาวะที่เกิดในกลุ่มคนอายุเกิน 40 ปี ซึ่งมีปัญหาทางด้านการมองเห็นในระยะใกล้ คำว่า Presbyopia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกซึ่งแปลว่า ดวงตาที่แก่ตัวลง ซึ่งคนจำนวนมากจะรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสายตาเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

    แม้ชื่อจะฟังแล้วไม่ค่อยเป็นที่ถูกใจสักเท่าไหร่ แต่มันไม่ใช่โรคร้าย เป็นเพียงภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อคนเราอายุมากขึ้นเท่านั้นเอง ตอนที่เราอายุยังน้อย เลนส์ดวงตาเรายังมีควาอ่อนตัวและยืดหยุ่นสูง สามารถรับการมองเห็นรูปภาพและสิ่งของได้ในระยะที่ทั้งใกล้และไกล

    แต่เมื่อมีอายุถึง 40 ปี เลนส์ดวงตาจะแข็งตัวและไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนอย่างเคย ความยืดหยุ่นของดวงตาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตามวัยนี่เองที่ทำให้เกิดภาวะสายตายาวตามวัย โดยเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นภาพชัดในระยะใกล้ๆ แต่การมองเห็นในระยะไกลยังคงเป็นปกติดี

    ภาวะสายตายาวตามวัยกับปัญหาสายตาชนิดอื่นๆ

    ปกติแล้ว มักเกิดความสับสนระหว่างภาวะสายตายาวสูงอายุกับอาการสายตายาวทั่วไป เนื่องจากทั้งสองภาวะนี้มีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือสาเหตุของปัญหา โดยภาวะสายตายาวตามวัย จะเกิดขึ้นเมื่อเลนส์ตาของเรานั้นมีความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น

    ในขณะที่ สายตายาวทั่วไป เกิดจากรูปทรงของดวงตาผิดปกติ ซึ่งทำให้การหักเหของแสงเข้าสู่ดวงตาเพื่อสร้างภาพไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เวลามองภาพที่อยู่ในระยะใกล้ ภาพจะพร่ามัวและไม่ชัดเจน

    ทุกคนสามารถเกิดภาวะสายตายาวตามวัยได้เมื่ออายุมากขึ้น สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียงอยู่แล้ว ก็สามารถเกิดอาการสายตายาวตามวัยร่วมด้วยได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีสายตาสั้นจะพบว่า การมองภาพระยะใกล้มีความพร่ามัว แม้จะใส่คอนแท็คเลนส์หรือแว่นสายตาที่เคยใส่แล้วก็ตาม

    อาการของภาวะสายตายาวตามวัย

    ผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามวัยจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้ เนื่องจากสายตาพร่ามัว จึงจำเป็นต้องถือหนังสือและเหยียดแขนให้สุด จึงจะมองเห็นได้ชัดเจน นี่เป็นเหตุผลที่ภาวะนี้มีชื่อเล่นอีกหนึ่งชื่อว่า “ภาวะสายตาและแขนยาว’ (long-arm sight)

    ส่วนอาการอื่นนั้น อาจมีความรู้สึกปวดหัว อ่อนเพลีย หรือปวดตา ระหว่างที่ต้องใช้สายตาเพ่งมอง รวมถึงจำเป็นต้องใช้แสงสว่างสำหรับอ่านหนังสือมากขึ้น

    การรักษาภาวะสายตายาวตามวัย

    คุณหมอสามารถวินิจฉัยสภาพดวงตาของคนไข้ได้ด้วยการตรวจดวงตาขั้นพื้นฐาน และอาจแนะนำให้คุณ

    สวมใส่แว่นตา

    การสวมใส่แว่นตาคือวิธีแก้ปัญหาภาวะสายตายาวตามวัยที่พบได้ทั่วไป และง่ายที่สุด การใช้แว่นตาเลนส์ 2 ชั้น และแว่นตาเลนส์โปรเกรสซีฟ คือวิธีรักษาภาวะสายตายาวตามวัยที่พบได้ทั่วไป

    ทางเลือกอื่นๆ นอกจากการสวมใส่แว่นตา

    นอกจากนี้ ยังมีวิธีการผ่าตัดแบบ KAMRA Inlay ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (FDA) เรียบร้อยแล้ว โดยวิธีการนี้ใช้ได้ผลสำหรับผู้มีภาวะสายตายาวตามวัยที่ไม่ต้องการสวมใส่แว่นตา และไม่เคยผ่าตัดต้อกระจกมาก่อน

    รวมไปถึงคุณอาจเลือกเข้ารับ การรักษาแบบ Raindrop Inlay ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมใส่แว่นตาเช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา