backup og meta

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue)

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue)

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์  สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ เป็นต้น

 

คำจำกัดความ

เมื่อยล้าทางสายตา คืออะไร

อาการ เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) หรือ อาการตาล้า เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์

สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการเมื่อยล้าทางสายตา  สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้สายตาอย่างหนัก เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

อาการ

อาการของการเมื่อยล้าทางสายตา

อาการทั่วไปของการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้

  • ตาเจ็บ ตาระคายเคือง
  • การมองเห็นไม่ชัด
  • ตาแห้ง
  • มองเห็นภาพไม่ชัด ภาพซ้อน
  • ความไวต่อแสง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดบริเวณคอ ไหล่ และหลัง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบหมอเมื่อมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้

  • เคืองตา
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • การมองเห็นเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน

สาเหตุ

สาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา

สาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้

  • อ่านหนังสือ เป็นระยะเวลานานโดยไม่พักสายตา
  • จ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น จ้องโทรศัพท์ โทรทัศน์
  • ขับรถในระยะทางไกลและทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน
  • ใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างหรือแสงจ้าเกินไป
  • ตากระตุก
  • อากาคเครียด หรือเหนื่อยล้า
  • การสัมผัสอากาศแห้งหรือลมจากพัดลม เครื่องทำลมร้อน หรือระบบเครื่องปรับอากาศ
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาดวงตา เช่น ตาแห้ง สายตาผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงของอาการเมื่อยล้าทางสายตา

ปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดอาการ เมื่อยล้าทางสายตามีหลายประการ ดังนี้

  • อ่านหนังสือเป็นเวลานาน
  • เพ่งสายตาเป็นเวลานาน
  • ขับรถยนต์เป็นเวลานาน
  • ทำงานโดยใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการเมื่อยล้าทางสายตา

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย หากอาการเมื่อยล้าทางสายตาเกิดจากการใช้สายตาหนัก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน การอ่านหนังสือ สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หากคุณมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ปวดตาอย่างรุนแรง แพทย์อาจทำการทดสอบวินิจฉัยเพื่อตรวจหาปัญหาอื่น ๆ เช่น ทดสอบการมองเห็น การตรวจโครงสร้างของดวงตา

การรักษาอาการเมื่อยล้าทางสายตา

วิธีการรักษาอาการเมื่อยล้าทางสายตาสามารถบรรเทาให้หายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการตาล้า

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการตาล้า อาจช่วยให้รับมือกับอาการตาล้า ดังนี้

  • พักสายตา เมื่อเรารู้สึกปวดตาลองหลับตาสัก 2-3 นาที เพื่อเป็นการพักสายตา
  • ปรับแสงให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ใช้แสงให้เหมาะสมต่อการทำงาน เช่น ตั้งค่าแสงหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ให้มีแสงสว่างเพียงพอ
  • ปรับขนาดอักษร ปรับขนาดตัวอกษรให้ใหญ่ขึ้นเพื่อสะดวกต่อการมองเห็น
  • ดูแลสุขอนามัย หมั่นทำความสะอาดเช็ดฝุ่นอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เสมอ  ฝุ่นทำให้ความแตกต่างของระดับสีหน้าจอลดลงและทำให้เกิดแสงจ้าและเป็นปัญหาเกี่ยวกับการสะท้อนแสง
  • น้ำตาเทียม ใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดวงตา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดการระคายเคืองและอาการตาแห้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Getting Relief for Asthenopia. https://www.healthline.com/health/asthenopia. Accessed on September 10, 2020.

13 Tips to Prevent Eye Fatigue. http://www.webmd.com/eye-health/eye-fatigue-causes-symptoms-treatment#1. Accessed on September 10, 2020.

Eyestrain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eyestrain/symptoms-causes/syc-20372397. Accessed on September 10, 2020.

An Overview of Eye Strain (Asthenopia). https://www.verywellhealth.com/do-you-suffer-from-asthenopia-or-tired-eyes-3421982. Accessed on September 10, 2020.

.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/09/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่ายที่คุณเองก็ทำตามได้

เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา