backup og meta

ACHOO Syndrome : มองแสงแล้วจาม ทุกที เกิดจากอะไรกันแน่!

ACHOO Syndrome : มองแสงแล้วจาม ทุกที เกิดจากอะไรกันแน่!

อาการจามถือเป็นเรื่องที่ปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน เพราะจมูกมีความระคายเคือง จึงส่งผลให้จาม แต่จะมีบางคนที่เมื่อ มองแสงแล้วจาม เจอแดดจ้าๆ แล้วจาม แถมจามต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง อาการนี้เรียกว่า ACHOO Syndrome หากใครกำลังสงสัยวันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาให้อ่านกันค่ะ

เมื่อ มองแสงแล้วจาม เกิดขึ้นจากอะไร

การจาม เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยขจัดสิ่งระคายเคืองออกจากจมูก ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่เป็นหวัดธรรมดาหรือเป็นภูมิแพ้ แต่บางคนก็จะจามเมื่อมองแสงจ้าๆ และสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ เมื่อมองแสงสะท้อนแล้วจามเป็นโรคที่เรารู้จักกันในชื่อ Autosomal dominant Compelling Helio-Ophthalmic Outburst (ACHOO) มันเป็นอาการที่เกิดจากการจามอย่างต่อเนื่องเมื่อเจอแสงจ้าๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากการจามปกติ ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการระคายเคือง ซึ่ง ACHOO syndrome จะส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณร้อยละ 11 ถึง 35 แต่ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด จากการศึกษาของปี 1995 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในวารสาร American Optometric Association กล่าวว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการมองแสงแล้วจาม จะเป็นผู้หญิงมากกว่าและชาวคอเคเชี่ยนมีโอกาสเป็นมากกว่า

พันธุ์กรรมเกี่ยวข้องอย่างไรกับการ มองแสงแล้วจาม

ACHOO Syndrome เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สืบทอดและส่งต่อกันมา แต่เนื่องจากการจามถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการจามเพราะการติดเชื้อหรือว่าภูมิแพ้ จึงอาจทำให้หลายๆ คนไม่ทันได้สังเกตว่า การจาม ของตัวเองมีสาเหตุมาจากอะไร นอกจากนี้หากพ่อแม่ของคุณมีภาวะ ACHOO Syndrome นี้ คุณจะมีโอกาสในการเกิดภาวะนี้มากถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อมายังคุณ หากคุณได้รับยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ อาจทำให้ เมื่อคุณมองแสงแล้วจามติดต่อกัน 2-3 ครั้ง แต่ในบางคนมีการจามต่อเนื่องมากกว่า 40 ครั้งเลยทีเดียว สิ่งสำคัญคือ เมื่อสายตเจอกับแสงสว่างสามารถทำให้เกิดโรค ACHOO ได้ ดั้งนั้นการตอบสนองด้วยการจามเมื่อมองแสงไม่ได้เกิดจากแสง แต่เกิดจากความเข้มข้นของแสงที่สายตาต้องเจอ ดังนั้นการอยู่ในบ้านที่มีแสงสว่างที่เพียงพอ อาจไม่ทำให้เกิดอาการจาม แต่หากคุณออกจากบ้านแล้วเจอกับแสงที่มีความเข้มข้นมาก จ้ามากๆ อาจกระตุ้นให้คุณจามได้

มาหาคำตอบกันว่า มองแสงแล้วจาม เกิดจากอะไร

นอกจากเรื่องของพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาแล้ว ยังมีการศึกษาว่าการมองแสงแล้วจาม มีความเกี่ยวข้องกับ ผนังกั้นช่องจมูกคด (deviated nasal septum) แต่อาจจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเกี่ยวกับการมองแสงแล้วจาม แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า การจามเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทตา ซึ่งความเข้มข้นของแสงอาจไปกระตุ้นเส้นประสาทนี้ เหมือนกับการเกิดการระคายเคืองในจมูก ซึ่งความรู้สึกนี้อาจเป็นสาเหตุของการจามก็ได้ หรืออีกทฤษฎีหนึ่งคือ แสงที่สะท้อนเข้าดวงตา อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำตาไหล และทำให้เกิดการระคายเคืองชั่วคราวในจมูกส่งผลให้เกิดการจาม จริงๆ แล้วไม่เพียง แสง เท่านั้นที่กระตุ้นให้จาม แต่ยังมีสิ่งเร้าอื่นๆ อีกมากมายที่กระตุ้นให้ร่างกายจามได้ เช่น อาหาร บางคนมีอาการจามต่อเนื่อง หลังรับประทานอาหาร ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากรับประทานอาหารรสเผ็ดหรืออาหารมื้อใหญ่ อาหารรสเผ็ดอาจทำให้จามเพราะในพริกมี แคปไซซิน ที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองในจมูกได้ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้อาหาร

ความเสี่ยงของการมองแสงแล้วจาม

การมองแสงแล้วจาม ถือเป็นเรื่องปกติเหมือนกับการจามถั่วๆ ไปเพียงแต่เปลี่ยนสิ่งเร้า แต่เมื่อแสงทำให้เราจามต่อเนื่อง อาจเป็นอันตรายได้ในบางสถานการณ์ เช่น ขณะขับรถ หากได้สัมผัสกับแสงสะท้อนเข้าอย่างกะทันหัน แล้วมีการจามต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมยานพาหนะที่ขับขี่อยู่ เนื่องจากการจามจะส่งผลให้เราหลับตาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการจามต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้งขณะขับรถ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ปัญหาการมองแสงแล้วจามยังส่งผลต่อนักบินได้ หากเจอความเข้มข้นของแสงขณะขับเครื่องบิน แต่หากอาการมองแสงแล้วจามส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตควรปรึกษาแพทย์ถึงการแก้ไข

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

  • Why Do I Sneeze in Bright Light (and Other Unusual Stimuli)?

https://www.healthline.com/health/photic-sneeze-reflex

  • Achoo! Sunlight sets off sneeze reflex

https://www.abc.net.au/science/articles/2013/11/26/3896820.htm

  • Why looking at the sun can make you sneeze

https://www.pbs.org/newshour/science/does-the-sun-make-you-sneeze

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

แสงแดด ส่งผลกระทบต่อผิวอย่างไร และการป้องกัน

คุณป่วยได้หรือเปล่าถ้ามีใคร ไอจาม ใส่คุณ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา