ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงจอประสาทตาลอก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้จอประสาทตาลอก ได้แก่
- อายุที่มากขึ้น จอประสาทตาลอกอาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี
- ประวัติของครอบครัวที่เกี่ยวกับจอประสาทตาลอก
- ภาวะสายตาสั้น
- มีประวัติการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดต้อกระจก
- อุบัติเหตุที่กระทบต่อดวงตาอย่างรุนแรง
- โรคอื่น ๆ เช่น โรคจอประสาทตา ม่านตาอักเสบ เบาหวานขึ้นตา
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยจอประสาทตาลอก
การวินิจฉัยจอประสาทตาลอก มีดังนี้
- ตรวจจอประสาทตา คุณหมออาจใช้แสงสว่าง และอุปกรณ์ตรวจดูเรตินาบริเวณหลังตา เพื่อเช็กดวงตาภายในอย่างละเอียด
- อัลตราซาวด์ หากมีเลือดออกในดวงตาคุณหมออาจใช้วิธีอัลตราซาวนด์ เพราะการตรวจด่วยวิธีธรรมดาอาจไม่สามารถมองเห็นภายในเรตินาได้
การรักษาจอประสาทตาลอก
การรักษาจอประสาทตาลอก เพื่อซ่อมแซมเรตินาที่ได้รับความเสียหาย มีดังนี้
- ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ คุณหมออาจนำแสงเลเซอร์เข้าไปรักษาด้วยบริเวณม่านตาที่ฉีกขาด เพื่อปิดรูรั่ว รอยแยกที่จอประสาทตา
- ใช้ความเย็นรักษาจอตา (Cryopexy) คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ด้วยความเย็นจี้ปิดรอยฉีกหรือรูในบริเวณจอประสาทตา
- ฉีดก๊าซเข้าไปในดวงตา เป็นวิธีที่คุณหมอจะใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในส่วนกลางของลูกตา หากฉีดเข้าไปตรงตามตำแหน่งฟองอากาศจะดันเรตินาที่หลุดลอกกลับเข้าสู่ผนังของดวงตา
- ผ่าตัดน้ำวุ้นภายในลูกตา เป็นการผ่าตัดที่อาจเหมาะสำหรับซ่อมแซมรอยแยกขนาดใหญ่ ซึ่งคุณหมอจะนำน้ำในวุ้นตาออก และแทนที่ด้วยฟองแก๊ส หรือน้ำมัน เข้าไปในช่องน้ำหล่อเลี้ยงให้เรตินาเรียบ
- การผ่าตัดจอประสาทตา คุณหมออาจใช้วัสดุที่เป็นซิลิโคนมาหนุนบริเวณรอบนอกดวงตา เพื่อดันเรตินาติดกับผนังตา
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันจอประสาทตาลอก
การป้องกันจอประสาทตาลอก มีดังนี้
- หากมีปัญหาด้านการมองเห็นควรสวมใส่แว่นสายตาให้เหมาะสม เพื่อช่วยให้มองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดขึ้น
- เปิดไฟให้มีความสว่างระดับพอดี ขณะอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ
- หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรรักษา หรือมีการควบคุมป้องกันการเกิดสภาวะรุนแรง เพื่อคงความสมดุลของเลือดที่เชื่อมโยงกับจอประสาทตา
- เข้ารับการตรวจสุขภาพตาสม่ำเสมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย