- กำลังตั้งครรภ์
- น้ำหนักเกินมาตรฐานมาก
- รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ เช่น ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ไรฟาบูติน (Rifabutin) ยารักษาโรคลมชัก ยาต้านไวรัสรักษาเอชไอวี
- สูบบุหรี่ หรือหยุดสูบบุหรี่น้อยกว่า 1 ปี และมีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ปวดไมเกรนรุนแรง
- มีลิ่มเลือดในเส้นเลือด
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน
- ทุกคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดของคุณมีลิ่มเลือดขณะที่อายุต่ำกว่า 45 ปี
- ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ
- โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
- โรคถุงน้ำดีหรือตับ
- โรคมะเร็งเต้านม
2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestogen-only pills – POP)
เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเพียงฮอร์โมนโปรเจสโตเจน (Progestogen) เท่านั้น มีทั้งหมด 28 เม็ด ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยเพิ่มมูกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้น ทำให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น หากรับประทานยาคุมอย่างถูกต้องจะสามารถคุมกำเนิดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจด้อยกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม เนื่องจากอาจยับยั้งการตกไข่ได้น้อยกว่า อีกทั้งยังอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกกระปริบกระปรอย หรือประจำเดือนขาด และอาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวหนังมีจุดด่าง เจ็บปวดเต้านม อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้ในไม่กี่เดือนเมื่อรับประทานยาคุมอย่างต่อเนื่อง
วิธีกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวสำหรับผู้ที่เริ่มรับประทานครั้งแรก ควรเริ่มรับประทานในวันแรกของประจำเดือน หรือไม่เกิน 5 วัน หากเกิน 5 วันควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรับประทานยาเป็นเวลา 2 วัน
- รับประทานยาคุมกำเนิดตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน หรือไม่เกิน 3 ชั่วโมง ของเวลาเดิมในแต่ละวัน
- เมื่อเริ่มยาแผงใหม่สามารถรับประทานยาอย่างต่อเนื่องได้เลยไม่ต้องหยุดยา
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวเหมาะกับใคร
- สตรีให้นมบุตร เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากฮอร์โมนแบบผสมจะส่งผลต่อปริมานน้ำนมได้
- สตรีที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน
3. ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency contraception pill)
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ประกอบด้วย ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาในกลุ่มโพรเจสติน ช่วยชะลอหรือหยุดการตกไข่ เพิ่มความเหนียวของมูกปากมดลูก ทำให้ผนังมดลูกบางตัวลง และทำให้ท่อนำไข่เคลื่อนไหวผิดปกติ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถุงยางอนามัยแตก หรือลืมกินยาคุมกำเนิด ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง หลังจากมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีไข้ รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง อาจมาเร็วขึ้นหรือคลาดเคลื่อนไป และอาจทำให้ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ควรรับประทานเป็นประจำ
วิธีกินยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินควรรีบรับประทานให้เร็วที่สุด และไม่ควรเกิน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรรับประทานมากกกว่า 2 แผง ภายในรอบเดือนเดียว เพราะยาจะส่งผลต่อระบบสืบพันธ์ุ ทำให้สร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้ 2 วิธี คือ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย