backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ข้อบ่งใช้

ยา โปรเจสเตอโรน ใช้สำหรับ

ยาโปรเจสเตอโรน (Progesterone) คือฮอร์โมนเพศหญิง ที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการตกไข่ และการมีประจำเดือน

ยาโปรเจสเตอโรนใช้เพื่อทำให้เกิดการมีประจำเดือน ในผู้หญิงที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) แต่ไม่มีประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนภายในร่างกาย ยานี้ยังใช้เพื่อป้องกันเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับผู้หญิงที่รับการรักษาทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen hormone replacement therapy)

ยาโปรเจสเตอโรนยังอาจใช้สำหรับจุดประสงค์อื่น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแนวทางการใช้ยาได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา โปรเจสเตอโรน

ยาโปรเจสเตอโรนนั้นบางครั้งจะใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 6-12 วัน ในช่วงขณะรอบการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง ควรรับประทานยาตามตาราง เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพ พยายามอย่าข้ามมื้อยาใดๆ

ยานี้มาพร้อมกับผู้มือแนะนำวิธีการใช้สำหรับผู้ป่วย เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ

รับประทานยาโปรเจสเตอโรนพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว

ทายาโปรเจสเตอโรนแบบครีมลงบนผิวตามที่แพทย์สั่ง

ยาโปรเจสเตอโรนแบบฉีดเป็นช็อต (shot) เข้าในกล้ามเนื้อ แพทย์ พยาบาล หรือผู้ดุแลสุขภาพจะเป็นผู้ฉีดยาให้ คุณอาจต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาที่บ้าน อย่าใช้ยานี้เองที่บ้าน หากคุณยังไม่เข้าใจวิธีการฉีดยาและการกำจัดอุปกรณ์ฉีดยาอย่างเหมาะสม

ยานี้สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับผลการทดสอบทางการแพทย์บางชนิดได้ แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาโปรเจสเตอโรน

แพทย์อาจจำเป็นต้องนัดตรวจคุณเป็นประจำ ขณะที่กำลังใช้ยานี้ ควรไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง

การเก็บรักษายา โปรเจสเตอโรน

ยาโปรเจสเตอโรนควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโปรเจสเตอโรนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโปรเจสเตอโรนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโปรเจสเตอโรน

ระหว่างที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของการใช้ยาต่อประโยชน์ของยาเสียก่อน สำหรับยานี้ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

โรคภูมิแพ้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการที่ผิดปกติ หรืออาการแพ้ต่อยานี้ นอกจากนี้ยังควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ ที่คุณเป็น เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อเอง ควรอ่านฉลากยา หรือส่วนประกอบของยาอย่างละเอียด

เด็ก

ไม่มีการบ่งชี้การใช้ยาโปรเจสเตอโรนในผู้ป่วยเด็ก ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

ผู้สูงอายุ

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีงานวิจัย ที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุต่อประสิทธิภาพของการใช้ยาโปรเจสเตอโรนในผู้สูงอายุ ยังไม่มีการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ แต่ผู้ป่วยสูงอายุมักจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการใช้ยาโปรเจสเตอโรน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาโปรเจสเตอโรนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

การให้นมบุตร

งานวิจัยในผู้หญิงนั้นแสดงให้เห็นว่า ยานี้มีความเสี่ยงในระดับน้อยที่สุดต่อเด็กทารก เมื่อใช้ยาขณะให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโปรเจสเตอโรน

รับการรักษาในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ดังนี้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาและแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงฉับพลัน โดยเฉพาะที่ด้านหนึ่งของร่างกาย
  • มีอาการปวดหัวฉับพลัน สับสน ปวดด้านหลังดวงตา มีปัญหากับการมองเห็น การพูด หรือการทรงตัว
  • หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • ปวดหน้าอกหรือรู้สึกหนัก มีอาการปวดที่แพร่กระจายไปยังแขนหรือไหล่ คลื่นไส้ เหงื่อออก รู้สึกป่วยทั่วๆ ไป
  • มีเลือดออกในช่องคลอดที่ผิดปกติหรือไม่คาดคิด
  • ปวดหัวไมเกรน
  • คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีคล้ายดินเหนียว ดีซ่าน (ดวงตาหรือผิวเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการบวมที่แขน ข้อมือ หรือเท้า
  • เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดตัว มีอาการของไข้หวัดใหญ่
  • มีก้อนในเต้านม
  • มีอาการของโรคซึมเศร้า (เช่น ปัญหากับการนอนหลับ อ่อนแรง อารมณ์เปลี่ยนแปลง)

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังต่อไปนี้

  • มีอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องอืด ปวดท้องในระดับเบา
  • วิงเวียน รู้สึกโลกหมุน
  • ร้อนวูบวาบ
  • ปวดหัวในระดับเบา
  • ปวดข้อต่อ
  • มีอาการปวดหรือกดเจ็บที่เต้านม
  • ไอ
  • มีสิวหรือมีขนมากขึ้น
  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลง
  • มีอาการคัน แห้ง หรือสารคัดหลั่งที่ช่องคลอด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโปรเจสเตอโรนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

โดยปกติแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • ดาบราเฟนิบ (Dabrafenib)
  • เอสลิคาร์เบเซฟีน แอซิเตต (Eslicarbazepine Acetate)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโปรเจสเตอโรนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในช่วงที่กำลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารบางชนิด เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ พร้อมกับใช้ยาบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเช่นกัน โปรดสอบถามแพทย์ หากคุณใช้ยาพร้อมกับรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโปรเจสเตอโรนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ปัญหาทางการแพทย์อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ยานี้ได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ ที่คุณเป็น โดยเฉพาะ

  • อาการเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ
  • โรคภูมิแพ้ต่อถั่วลิสงหรือน้ำมันถั่วลิสง
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคลิ่มเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism)
  • โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) รู้ว่าเป็นโรค สงสัย หรือว่าเคยเป็นโรค
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • โรคตับ
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอาการนี้
  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคบวมน้ำ (Edema)
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • โรคลมชัก (Epilepsy) หรืออาการชัก (seizures)
  • โรคหัวใจ (Heart disease)
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
  • ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคไต
  • โรคปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic lupus erythematosus)
  • ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ (Thyroid problems) ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการนี้แย่ลง
  • ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาโปรเจสเตอโรนสำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

    • 5-10 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเวลา 6-8 วันติดต่อกัน
    • 400 มก. รับประทานเป็นเวลา 10 วัน ในตอนเย็น

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูก (Uterine Bleeding):

    • 5-10 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ รับประทานทุกวัน 6 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial Hyperplasia) ป้องกัน

    • 200 มก. รับประทานเป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน ต่อรอบ 28 วัน ในตอนเย็น

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขาดโปรเจสเตอโรน (Progesterone Insufficiency)

    เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ – เจล

    • 90 มก. ของเจล 8% ทาวันละครั้งภายในช่องคลอด สำหรับผู้หญิงที่ต้องการการเสริมฮอร์โมน
    • 90 มก. ของเจล 8% ทาวันละสองครั้งภายในช่องคลอด สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่ล้มเหลวบางส่วนหรือทั้งหมดและต้องการการทดแทน
    • หากตั้งครรภ์ สามารถใช้การรักษาด้วยการทายาภายในช่องคลอดได้จนกระทั่งสายรกหลุด (placental autonomy) นานถึง 10-12 สัปดาห์

    เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ – ยาสอดช่องคลอด

    • 100 มก. สอดเข้าทางช่องคลอด 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน เริ่มตั้งแต่การเก็บไข่ (Oocyte retrieval) และดำเนินต่อไปเป็นเวลา 10 สัปดาห์
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ยังไม่มีการบ่งชี้ขนาดยาที่เหมาะสมกับคนในกลุ่มอายุนี้

    ภาวะขาดโปรเจสเตอโรนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนและระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)

    • ครีมยาโปรเจสเตอโรนเฉพาะที่ 1.7% : ทายา 1/4 ถึง 1/2 ช้อนโต๊ะ ลงบนฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือบริเวณผิวที่อ่อนนุ่มอื่นๆ วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับการคลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) :

    • งานวิจัย – สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติและการพัฒนามนุษย์ สหรัฐฯ – เพื่อป้องกันไม่ให้คลอดก่อนกำหนดซ้ำสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยง 17 อัลฟ่า ไฮดรอกซีโปรเจสเตอโรนแคโพรเอต (17-alpha-hydroxyprogesterone caproate) 250 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง เริ่มในสัปดาห์ที่ 21 ของการตั้งครรภ์หรือสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์
    • งานวิจัย – เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดโดยธรรมชาติสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ยาสอดช่องคลอด100 มก. ต่อวัน ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 24 และ 34 ของการตั้งครรภ์

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการชัก (Seizures) :

    โรคลมชักที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน (Catamenial epilepsy) ภาวะชักเฉพาะที่และมีการรู้สึกตัวไม่ดี (complex partial seizures) หรือภาวะชักเฉพาะที่แล้วชักกระจายไปทั่วทั้งตัวตามมาและหมดสติ (secondary generalized motor seizures)

    • ยาอม 200 มก. วันละ 3 ครั้ง ให้ยาโดยมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบของการกำเริบของอาการชักในช่วงหลังไข่ตก (luteal phase) ของรอบการมีประจำเดือน
    • สำหรับผู้ป่วยระยะก่อนหมดประจำเดือน ให้ยาในวันที่ 23 ถึงวันที่ 25 ของรอบการมีประจำเดือน
    • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการชักกำเริบในช่วงหลังการตกไข่ทั้งหมด จะให้ยาในวันที่ 15-25 ของรอบการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง ระดับของเซรั่มโปรเจสเตอโรนที่ต้องการคืออยู่ระหว่าง 5 และ 25 มก./มล. 4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาอม ผู้ป่วยควรใช้ยาต้านชัก (antiseizure) ที่ได้ผลดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการของระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopausal Symptoms)

    ภาวะขาดโปรเจสเตอโรนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนและระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)

    • ครีมยาโปรเจสเตอโรนเฉพาะที่ 1.7% : ทายา 1/4 ถึง 1/2 ช้อนโต๊ะ ลงบนฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือบริเวณผิวที่อ่อนนุ่มอื่นๆ วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง

    ขนาดยาโปรเจสเตอโรนสำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี)

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาแคปซูล 100 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา