- ตรวจเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เพื่อดูความสมบูรณ์ของครรภ์และสุขภาพคุณแม่ รวมถึงเพื่อหาสัญญาณความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะแท้งคุกคาม การตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งอาจช่วยให้คุณหมอสามารถหาวิธีรักษาภาวะที่พบได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
- ตรวจวินิจฉัยโรค หากมีอาการทางนรีเวช เช่น ตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน ผิวหนังเปลี่ยนแปลง หรือมีปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ คุณหมออาจให้เข้ารับการตรวจภายในร่วมกับการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค
- ตรวจคัดกรองโรค หรือประเมินสุขภาพทางนรีเวช การตรวจอุ้งเชิงกรานเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจหาสัญญาณของโรคทางนรีเวช เช่น ซีสต์รังไข่ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เนื้องอกในมดลูก มะเร็งปากมดลูก
ควรเริ่มตรวจภายในเมื่อไหร่ และควรตรวจบ่อยแค่ไหน
การตรวจภายในสามารถเริ่มตรวจได้เมื่ออายุ 21 ปีขึ้นไปตามคำแนะนำของทางอเมริกา หรือเมื่ออายุ 25 ปี ขึ้นไป ในรายที่มีเพศสัมพันธ์ และอายุ 30 ปี ขึ้นไป ในรายที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ร่วมกับชมรมคอลโปสโคปีและพยาธิสภาพปากมดลูกแห่งประเทศไทย ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกปีเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางนรีเวช และควรตรวจแปปสเมียร์เป็นประจำอย่างน้อยทุก 23 ปี จนถึงอายุ 65 ปี เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไปหากผลตรวจแปปสเมียร์เป็นลบติดต่อกันอย่างน้อย 53 ครั้งภายใน 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดตรวจแปปสเมียร์ได้
ภาวะสุขภาพที่ควรเข้ารับการตรวจภายใน
หากพบว่ามีภาวะสุขภาพ หรืออาการผิดปกติดังต่อไปนี้ในระดับรุนแรง หรือมีอาการเป็นประจำหรือเรื้อรัง ควรเข้ารับการตรวจภายในโดยเร็วที่สุด
- คัน แสบร้อน บริเวณอวัยวะเพศ และอวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น
- ตกขาวผิดปกติ
- เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- ประจำเดือนมามากหรือน้อยเกินไป
- ปวดท้องน้อย
- มีผื่น หรือติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศภายนอก
- คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย